KM (แนวปฏิบัติ) วันละคำ : (384) วัฒนธรรมไทยเป็นอุปสรรคต่อ KM หรือไม่ – (8) พฤติกรรมทั่วไป


            มงคลชัย วิริยะพินิจ  บอกว่า พฤติกรรมทั่วไปของคนไทยได้แก่
     • เห็นใจผู้อื่น
     • ชอบเป็นผู้ตามมากกว่าเป็นผู้ริเริ่ม
     • ไม่ชอบทำตัวเด่น
     • ไม่แสดงความรู้สึก
     • ไม่ชอบนำ
     • ชอบสังสรรค์  เฮฮาปาร์ตี้
     • ชอบปฏิสัมพันธ์กับคนที่ตนไว้เนื้อเชื่อใจ
     • ยอมรับความคิดเห็นของคนอื่นง่าย
     • ยอมรับสิ่งใหม่ๆ ง่าย
     • มีอารมณ์ขัน
     • มีเมตตา
     • ผู้หญิงแสดงความคิดเห็นมากกว่าในอดีต  

         การรู้จักลักษณะคนที่เข้ามาร่วมกระบวนการเรียนรู้ร่วมกัน หรือ KM เป็นหัวใจของความสำเร็จ     รู้แล้วเราก็ยอมรับแต่ละคนว่าเขาเป็นเช่นนั้น     คือไม่ตีค่าว่าคนมีลักษณะนั้นไม่ดี ต้องลักษณะนี้จึงจะดี     เพราะจริงๆ แล้ว แต่ละคนจะมีลักษณะทั้งดีและไม่ดี ผสมปนเปกันไป     ไม่มีใครสมบูรณ์แบบ     การรู้จักลักษณะและยอมรับซึ่งกันและกันจึงสำคัญ     และที่สำคัญยิ่งกว่า คือรู้จักตนเองมากขึ้น     เข้าใจจุดแข็งจุดอ่อนของตนเองมากขึ้น   

         KM เน้นการเอาจุดแข็งของคนมาสร้างคุณค่าโดยการลงมือทำ     ทำแล้วเรียนรู้ และปรับตัว     จุดอ่อนของแต่ละคนก็จะค่อยๆ ลดลง จุดแข็งก็ค่อยๆ เพิ่มขึ้น    หรือบางทีก็เพิ่มพรวดพราดจนตนเองและเพื่อนร่วมงานตกใจ    มากกว่าตกใจคือภูมิใจและชื่นชม   

วิจารณ์ พานิช
5 ส.ค. 50

หมายเลขบันทึก: 118509เขียนเมื่อ 10 สิงหาคม 2007 09:20 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 19:51 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท