KM (แนวปฏิบัติ) วันละคำ : (396) สุขใจไปกับการประยุกต์ใช้ KM โดย กพร.


         เพื่อประโยชน์ของบ้านเมืองเป็นที่ตั้ง      สคส. ได้พยายามเข้าไปร่วมมือกับ กพร. ในลักษณะที่ “จ่ายเงินเข้าร่วม” เช่นในงานมหกรรม KM ราชการ ครั้งที่ 2 เมื่อปีที่แล้ว      สคส. จ่ายเงินประมาณครึ่งหนึ่งของค่าใช้จ่ายทั้งหมด      และปีนี้เราก็ไปเสนอแนะเทคนิค SSS – Success Story Sharing จนเกิดเป็น “เวทีเสวนาปัญญาวาที” และร่วมมือ in kind      โดยให้คุณอ้อเข้าไปประสานงาน      และ ดร. ประพนธ์ เป็น “คุณอำนวย” ในเวที

         หลังจบเวทีฯ ครั้งที่ 3  ดร. ประพนธ์ก็เขียน บล็อก นี้ http://gotoknow.org/blog/beyondkm/122545 และมีคนเข้ามาแสดงความเห็นคับคั่ง     รวมทั้งผู้บริหารของ กพร. ก็เข้ามาบอกว่า กพร. พอใจผลที่เกิดจากเวทีฯ นี้มาก   

         ทำให้ผมได้เรียนรู้มากมายจากการคบค้าร่วมมือแบบ “ยืนอยู่คนละขั้ว” กับ กพร.     และเห็นว่าความสัมพันธ์แบบมี dilemma แบบนี้แหละที่เป็น healthy relationship เพื่อประโยชน์ของบ้านเมือง    

         ผมฝึกมองน้ำในแก้ว      โดยหันมาสนใจ “น้ำที่เพิ่ม” มากกว่า “น้ำที่พร่อง”      เพื่อหาทางสร้างสรรค์ต่อ     เราจึง AAR กันภายใน สคส. เมื่อวาน     และผมสรุปว่า เนื่องจากต่อไป สคส. จะไม่มีเงิน grant จาก สสส. แล้ว      เราจึงต้องหารายได้เพื่ออยู่รอด (ไม่ใช้เพื่ออยู่รวย)      ความสัมพันธ์กับ กพร. จึงต้องเปลี่ยนไป เป็นแบบที่ สคส. “รับ cash”     และ “บริการ” ที่ สคส. น่าจะให้แก่ กพร. ได้ ได้แก่
1. การออกแบบเวที และเป็นวิทยากรกระบวนการ ลปรร.
2. การฝึกอบรม KM – LO
3. HRD coaching ภายใน กพร.

          แต่จะตกลงกันอย่างไร ขึ้นกับการเจรจากัน และผู้ตัดสินใจ คือ ผอ. สคส. คนใหม่ คือ ดร. ประพนธ์    โดยผมมองว่า น่าจะถือประโยชน์ของบ้านเมืองเป็นที่ตั้ง

วิจารณ์ พานิช
1 ก.ย. 50

 

คำสำคัญ (Tags): #km วันละคำ#กพร.
หมายเลขบันทึก: 125463เขียนเมื่อ 6 กันยายน 2007 08:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 20:15 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท