KM (ภาคปฏิบัติ) วันละคำ : 2. จดบันทึก


KM (ภาคปฏิบัติ) วันละคำ : 2. จดบันทึก

• เป็นหนึ่งใน หัวใจนักปราชญ์  สุ จิ ปุ ลิ    ลิ = ลิขิต
• จดบันทึกสิ่งที่สังเกตเห็น / นับ / วัด จากการปฏิบัติ    จากการ ลปรร.    จากการใคร่ครวญของตนเอง    จากการอ่าน    จากการค้นคว้า    จากการไปดูงาน    จากการไปทำกิจกรรม “เพื่อนช่วยเพื่อน”  จากการทำ AAR  ฯลฯ
• จดบันทึกความรู้สึก  และ จินตนาการของตนเอง
• จดบันทึกความประทับใจ ในเรื่องต่างๆ
• จดบันทึก ความดี ความงาม ที่พบเห็นในชีวิตประจำวัน   และในการทำงาน
• ฝึกทักษะการจดบันทึกในสถานการณ์ที่หลากหลาย    เป็นการเรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างหนึ่ง
• ฝึกทักษะการจดบันทึกโดยใช้เครื่องมือช่วย หลากหลายชนิด : Flip Chart, คอมพิวเตอร์, พีดีเอ, กระดาษ, เครื่องบันทึกเสียง, MindMap,  ตาราง, วาดรูป, ถ่ายภาพ  ฯลฯ
• อย่าเข้าใจผิด ว่าการจดบันทึกหมายถึงการเขียนออกมาเป็นตัวหนังสือเท่านั้น
• ใช้เทคโนโลยีช่วยอย่างเหมาะสม    อย่าปฏิเสธเทคโนโลยี   อย่าหลงหรือยึดติดเทคโนโลยี    ผมมีเครื่องมือจดบันทึกติดตัวตลอดเวลา ๖ อย่าง คือ  (๑) notebook, (๒) PDA, (๓) เครื่องบันทึกเสียง  (๔) กล้องถ่ายภาพดิจิตอล  (๕) กระดาษ ดินสอ ปากกา  และที่สำคัญที่สุดคือ (๖) ร่างกายที่สดชื่น และจิตใจที่เตรียมดูดซับความรู้อยู่ตลอดเวลา    
• ฝึกทักษะการจดบันทึกในเวลาจำกัด 
• นำบันทึกของตน ออก ลปรร. ผ่านสื่อต่างๆ เช่น บล็อก gotoknow.org 
• นำบันทึก มา ย่อย/สังเคราะห์ ต่อ ด้วยตนเอง ยกระดับความรู้ความเข้าใจ
• นำบันทึกมา AAR ร่วมกับเพื่อนร่วมกระบวนการ/เหตุการณ์    เพื่อให้เห็นภาพที่ครบถ้วนมากขึ้น   เชื่อมโยงมากขึ้น   ลุ่มลึกมากขึ้น
• โครงสร้างของการจดบันทึก 
           1. การเตรียมตัวก่อนการบันทึก : ศึกษาข้อมูล เรื่องราว ของการประชุม/กิจกรรม ที่จะเป็นผู้บันทึก    การเตรียมความพร้อมทางร่างกาย จิตใจ และสมาธิ (เช่นนอนให้เพียงพอ   ทำใจให้เบิกบาน เห็นคุณค่าของกิจกรรมที่ตนจะบันทึก) 
           2. ระหว่างบันทึก : คุณภาพ  ความครบถ้วน  เสร็จในเวลา 
           3. หลังการบันทึก : นำบันทึกออกใช้ประโยชน์   และยกระดับบันทึกให้มีคุณภาพสูงยิ่งขึ้น

 

วิจารณ์  พานิช

คำสำคัญ (Tags): #เครื่องมือ#km
หมายเลขบันทึก: 14593เขียนเมื่อ 7 กุมภาพันธ์ 2006 08:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 14:23 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

เป็นการแนะนำในการใช้หลักต่างๆที่จะทำให้การจดบันทึกของเรามีประสิทธิภาพและสามรถนำมาทบทวนเข้าใจได้ง่ายขึ้นมากเลยค่ะ  เหมาะกับการนำไปใช้ในการเรียนการสอนของสมัยนี้มากๆ

ผมชอบ ที่ ให้ จด ความรู้สึกด้วย

 

การ ค้นหา ค้นพบ อารมณ์ตนเอง  เป็นจุดเริ่มต้นในการ ค้นพบตนเอง

 

คุณลิขิตในขณะประชุม   บางทีน่าสงสาร เป็นผู้เสียสละ  เพราะ ขณะจด  จะไม่ได้คิดตาม

ใช้ MP3 MP4 ช่วย  จะ work มากๆ

 

-ขอข้อมูลอาจารย์ไปเผยแพร่คะ

การจดบันทึก(ไม่ว่าจะเป็นเรื่องอะไร ข้อมูลแบบไหน)

ถือเป็นวิธีการถ่ายทอดความรู้สึก

นึก คิด และเรื่องราวต่างๆได้ดีที่สุด

ในช่วงเวลาหนึ่งเมื่อลองย้อนกลับมาอ่าน

บันทึกที่ได้เขียนทิ้งไว้ บางครั้งก็ได้เห็นอะไรในชีวิต

หลายอย่างที่มีทั้งคุณค่าและน่าจดจำ

ขอบคุณสำหรับข้อมูลดีดีค่ะอาจารย์

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท