KM (แนวปฏิบัติ) วันละคำ : (463) KM คืออะไร 61. การให้นิยาม “Best Practice” ใหม่


     • คำว่า Best Practice มักสื่อความหมายผิด     คนคิดว่าดีที่สุดแล้ว สุดยอดแล้ว ไม่มีอะไรดีกว่าอีกแล้ว     จึงถือเป็นจุดสิ้นสุด ไม่คิดพัฒนาต่อ
     • คำว่า “Best Practice” ใน KM หมายความว่า “ดีที่สุดในขณะนั้น สถานการณ์นั้น”     เราเอา Best Practice มาประยุกต์ใช้ เพื่อยกระดับ หา Better Practice
     • ใน KM ไม่มีสุดยอด    มีแต่การยกระดับเป็น Knowledge Leverage เป็น Knowledge Spiral เป็นวงจรยกระดับไม่รู้จบ

วิจารณ์ พานิช
๙ ธ.ค. ๕๐

 

หมายเลขบันทึก: 153541เขียนเมื่อ 14 ธันวาคม 2007 13:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 8 เมษายน 2012 16:45 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
เก็บงาน ของ ผศ.วิจารณ์ มาบอกอีกครั้งค่ะ  และสำคัญก็คือBest Practice  กับการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้าที่ห็นภาพชัดเจน            
                 
พระพุทธเจ้าเป็นศาสดาที่แตกต่างจากศาสดาของศาสนาอื่น กล่าวคือ มิได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าด้วยเทวโองการ ซึ่งเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์จากสวรรค์ที่ดลบันดาลประทานให้  แต่ทรงตรัสรู้ด้วยวิธีการจัดการความรู้ (
Knowledge Management) แล้วสรุปผลการปฏิบัติ เป็น Best Practice  (วิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ) อันได้แก่ ทางสายกลางหรือมัชฌิมาปฏิปทา ในพระพุทธศาสนา ทรงใช้เวลานาน 6 ปี ในการจัดการความรู้ ก่อนที่จะสรุปเป็น Best Practice  โดยมีวิธีการต่างๆ ดังนี้             1. การแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับผู้อื่น (Share & Learn) โดยสมัครเข้าศึกษาธรรมในสำนักของอาฬารดาบส และอุทกดาบส จนสำเร็จสมาบัติ 7-8 ซึ่งเป็นสมาธิขั้นสูงสุด ทรงมีวิจารณญาณว่า  วิธีการดังกล่าว ยังมิใช่หนทางดับทุกข์ได้อย่างสิ้นเชิง (ไม่ใช่ Best Practice)          
                  
2.
การปฏิบัติแบบลองผิดลองถูกด้วยตนเองตามความเชื่อของคนในยุคนั้น คือ การบำเพ็ญทุกรกิริยา ด้วยการทรมานตนเอง ให้ได้รับความลำบากมากที่สุด เพื่อเป็นการชดใช้กรรมให้หมดและขอให้เทพยดาประทานพรให้ ทรงทรมานตนเองถึงขั้นอุกฤษฎ์ ด้วยการอดอาหารจนเกือบสิ้นพระชนม์ แต่ก็ไม่พบหนทางแห่งการดับทุกข์          
                
3.
การสรุปบทเรียน (Lesson Learned) ทบทวนสิ่งที่ได้ปฏิบัติไปแล้ว เป็น Best Practice  โดยปรียบเทียบกับพิณ 3 สาย คือ สายหย่อน สายตึง และสายกลาง ดังนี้                      
                       
3.1
สายหย่อน (กามสุขัลลิกานุโยค) คือ การแสวงหาความสุขด้วยการบริโภคกาม ลุ่มหลงในรูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส ตามแบบคนทั่วไป ทรงพบว่า ไม่ใช่หนทางแห่งการดับทุกข์ เพราะทรงใช้ชีวิตตามแนวทางนี้มาแล้ว เมื่อครั้งเป็นเจ้าชาย                                  
           3.2
สายตึง (อัตตกิลมถานุโยค) คือ การทรมานตนให้ได้รับความลำบาก ก็ทรงทำมาแล้วแต่ก็ไม่พ้นทุกข

                        3.3 สายกลาง (มัชฌิมาปฏิปทา) คือ การปฏิบัติตามมรรคมีองค์ 8 ไม่ตึงหรือหย่อนจนเกินไป

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท