KM วันละคำ : 7. ตีความ


KM วันละคำ : 7. ตีความ

• เป็นวาทกรรมเพื่อความเป็นอิสระทางความคิด   ให้ความมั่นใจต่อการเป็นตัวของตัวเอง
• ผมค้นพบความเข้าใจนี้เมื่อเกือบ ๒ ปี มาแล้ว     เมื่อยุให้อ้อ (วรรณา) อ่านหนังสือเล่มหนึ่งแบบตีความ นำมาเล่าให้ที่ประชุมประจำสัปดาห์ของ สคส. ฟัง ว่าตนตีความหนังสือเล่มนั้นว่าอย่างไร    และมีส่วนใดบ้างที่นำมาใช้ในการทำงานของ สคส. ได้
• แต่ละคนย่อมตีความไม่เหมือนกัน    เพราะแต่ละคนมีความรู้ฝังลึก จากประสบการณ์ไม่เหมือนกัน    การได้ฟังการตีความหลายชุด    ย่อมทำให้มองเรื่องใดเรื่องหนึ่งได้หลายมุมยิ่งขึ้น    เป็นการประเทืองปัญญา
• การตีความทำให้ทีมงานสบายใจกับการ ลปรร. แบบไม่มีถูก ไม่มีผิด
• คำพูด และข้อเขียน ของทุกคน เป็นการตีความทั้งสิ้น    ไม่ใช่ความจริงแท้ (absolute truth)
• ความรู้ที่นำมาประยุกต์ใช้งาน ย่อมผ่านการตีความโดยผู้ปฏิบัติทั้งสิ้น 
• AAR คือการตีความกิจกรรมหรือประสบการณ์ร่วมของคนกลุ่มหนึ่ง    เป็นการนำเสนอการตีความของตน    และรับฟังการตีความของเพื่อนร่วมกิจกรรม    ช่วยให้เกิดความเข้าใจที่ชัดเจนขึ้น   ครอบคลุมมากขึ้น    และนำไปสู่ข้อตกลงว่าจะดำเนินการอะไร อย่างไร ต่อไป
• การจดบันทึก    เป็นการฝึกฝนการตีความประสบการณ์กับตนเอง
• ทุกครั้งที่ร่วมกิจกรรมใดๆ เสร็จสิ้น    ให้ถามตัวเองว่าได้ความรู้ หรือบทเรียนอะไร ทุกครั้ง     นี่คือการฝึกตนเองให้เป็นนักตีความ สรุปประเด็นสำคัญ
• นอกจากฝึกตีความด้วยตนเอง จงฝึกฟังการตีความของเพื่อนร่วมงาน    ฟังอย่างลึก ให้เห็นความรู้ฝังลึกของเพื่อน    ให้เห็นจุดแข็งของเพื่อน
• รู้สึกอย่างไร เห็นอะไร    ผมมักจะถามเพื่อนร่วมงานเสมอ ว่าที่ไปร่วมงานด้วยกันในคราวนั้น เขาเห็นอะไร  รู้สึกอย่างไร
• การตีความที่สำคัญที่สุด คือการตีความเพื่อการทำงาน/การปฏิบัติ ในขั้นตอนต่อไป

วิจารณ์ พานิช
๑๒ กพ. ๔๙
  

คำสำคัญ (Tags): #เครื่องมือ#km
หมายเลขบันทึก: 15390เขียนเมื่อ 15 กุมภาพันธ์ 2006 07:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 14:25 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
เริ่มด้วยคำว่า "วาทกรรม" ก็เป็นการอ่านที่หนักหน่วงแล้ว :-)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท