KM (ภาคปฏิบัติ) วันละคำ : 10. ตื่นตัว


KM (ภาคปฏิบัติ) วันละคำ : 10. ตื่นตัว

• เทคนิค KM ที่ถูกต้อง นำไปสู่สภาพตื่นตัว (alert – มีสติ) อยู่ตลอดเวลาของผู้ร่วมกิจกรรม    กิจกรรม KM จึงเป็นการเจริญสติในชีวิตการทำงาน 
• สภาพตื่นตัว หรือการเจริญสติ เกิดขึ้นในขณะเล่าเรื่อง (storytelling)    ขณะฟังอย่างลึก อย่างตั้งใจ (deep listening)    ขณะถามอย่างชื่นชม (appreciative inquiry)    ขณะทำ AAR    ขณะทำ PA   ขณะ ลปรร.    ขณะทำหน้าที่ “คุณอำนวย”    ขณะทำหน้าที่ “คุณลิขิต”   ขณะเขียน บล็อก   ฯลฯ 
• การทำ AAR แบบมีข้อตกลงให้ทุกคนที่ร่วมกิจกรรมต้องทำ AAR    และให้ผู้อาวุโสน้อยที่สุดพูดก่อน     จะทำให้ทุกคนต้องตื่นตัวติดตามเหตุการณ์โดยอัตโนมัติ    เป็นการฝึกความตื่นตัวจนเป็นนิสัย จนเคยชิน    ไม่ทำให้เหน็ดเหนื่อยหรือยากลำบาก
• ความตื่นตัว จะกระตุ้นสมอง ทำให้สมองกระฉับกระเฉงอยู่ตลอดเวลา    ชลอความแก่ (ยืนยันโดยผลงานวิจัย)   
• การฝึกให้สมองตื่นตัวจนเป็นนิสัย    จะเพิ่มพลังสมอง    เพิ่มพลังการสังเกต (power of observation)
• สมองที่ตื่นตัว จะเปิดรับ “ปิ๊งแว้บ” ที่เกิดขึ้นขณะทำกิจกรรม “สุนทรียสนทนา” (dialogue) ในรูปแบบต่างๆ     ได้ดีกว่าสมองที่เฉื่อยชา     
• ตื่นตัวต่อสัมผัสรอบตัว    ตื่นตัวต่อ “สัมผัสที่ ๖”   ตื่นตัวต่อกระแสโลกาภิวัตน์     ตื่นตัวต่อความหลอกลวงของโลกทุนนิยม    ตื่นตัวต่อการเมืองแบบสร้างภาพ    ตื่นตัวต่อ ของจริง/ของปลอม    ตื่นตัวต่ออารมณ์ความรู้สึกของตนเอง     ไม่หลงไปตามกระแสลาภ ยศ สรรเสริญ สุข จนขาดสติ    ไม่ลอยเมื่อได้รับคำยกย่อง
• จงตื่นตัวในหลากหลายมิติ  หลากหลายระดับ   
• สุดยอดของการตื่นตัว คือการตื่นตัวในระดับปัญญา – ความเชื่อมโยง   ความเป็นหนึ่งเดียวของสรรพสิ่ง    ความ “ตื่นตัวแบบไร้ตัวตน” 

วิจารณ์ พานิช
๑๑ กพ. ๔๙
บนเครื่องบินกลับจากหาดใหญ่ 
ปรับปรุง ๑๙ กพ. ๔๙
    

คำสำคัญ (Tags): #เครื่องมือ#km
หมายเลขบันทึก: 16094เขียนเมื่อ 20 กุมภาพันธ์ 2006 08:32 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 17:36 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท