อนุทินส่วนตัว ๑๕ ก.พ. ๕๑


เยาวชน
         พบ ดร. อมรวิชช์ นาครทรรพ ที่ดอนเมือง     คุยกันเรื่องทำงานกับ ผวจ. และ อบต.    มีประมาณ ๑๐ อบต. ที่เอาใจใส่ทำงานพัฒนาเยาวชน
         กับ ผวจ. ท่านมีเรื่องยุ่งเกินไป     จึงต้องเสนอเป็นเมนูให้เลือก    ถ้าจะต้องการผลเช่นนี้ ในกลุ่มเด็กจำนวนเท่านี้ ก็เลือกเมนูนี้    สังคมไทยนิยม “อาหารสำเร็จรูป”  “อาหารจานด่วน” 
         ให้สติเรื่อง ปรุงผลงานให้เป็น “ผลงานวิจัย” เพื่อให้เข้าเกณฑ์ตำแหน่งวิชาการ
         ดร. อมรวิชช์ บ่นเบื่อนักวิชาการ arm chair

อาหารเช้าเชิงวัฒนธรรม
         ที่ร้านครัวเช้า  จ. อุบลฯ
          ผศ. ดร. อาคม อดีตรองอธิการบดี มรภ. อุบล มาร่วมคุยและรับประทานอาหารเช้าด้วย     และฝากให้ช่วยกันสื่อสารต่อสังคมเรื่อง ศาสนา
         อาหารเป็น health food และเป็นอาหารเชิงวัฒนธรรม  ได้แก่ ซุปสำรอง  แซนด์วิชขนมปังฝรั่งเศส (แป้งจี่) ใส่หมูยอ    โจ๊กถั่วเขียวเห็ดหอม   กาแฟโบราณ   และชาจีน    อร่อยทุกอย่าง

ร้านเกมคาเฟ่- อินเทอร์เน็ตคาเฟ่
         ประชุมแลกเปลี่ยนแนวคิดในการจัดตั้งกรรมการชุมชนเพื่อพัฒนาร้านเกมคาเฟ่- อินเทอร์เน็ตคาเฟ่ ปลอดภัยและสร้างสรรค์ และ องค์ประกอบของกรรมการชุมชนฯ   ณ สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัด  จ. อุบลราชธานี
 
         ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช, รศ.ดร.พันธุ์ทิพย์ กาญจนะจิตรา สายสุนทร, คุณวิโรฒ มีแก้ว รองผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานีมาร่วมก่อนเที่ยงเล็กน้อย, อ.อิทธิพล ปรีติประสงค์, วัฒนธรรมจังหวัดอุบลราชธานี อุทัย พรหมโคตร,  ธีรชง ทองน้อย หัวหน้าเฝ้าระวังทางวัฒนธรรม, ศึกษา, ชมรมผู้ประกอบการร้านเกมคาเฟ่, ผู้แทนเครือข่ายผู้ปกครอง, ปกครองจังหวัด, เทศบาล  รวม ๔๐ คน
         ปัญหาเด็กเล่นเกมจนตาย  ฆ่าตัวตาย

พันธุ์ทิพย์
         เป้าหมายของเวที : ร่วมกันสร้างสื่อปลอดภัยสร้างสรรค์    เกิดสัญญาประชาคม    ภาค ปชช. ร่วมกันกำหนด    ให้ร้านอินเทอร์เน็ตคาเฟ่มีที่อยู่ เป็นที่สร้างสรรค์    
พม. มีกองทุนสื่อสร้างสรรค์สำหรับเด็ก
       สื่อปลอดภัยสร้างสรรค์
       กรรมการชุมชน    ส่งเสริมสื่อดี   ขจัดสื่อไม่ดี

อิทธิพล
         ประชุมคราวที่แล้ว ๒๖ ธ.ค. ๕๑  http://gotoknow.org/blog/archangoh/156940   มีโจทย์ ๘ ข้อ
         ร่าง พรบ. ภาพยนตร์และวิดีทัศน์ พ.ศ. …   ม. ๕๓   ม. ๕๙
         ชุมชนเสนอความเห็นสำหรับร่างกฎกระทรวง
         ร้านปลอดภัยและสร้างสรรค์ได้รับส่งเสริมการลงทุน  มีวิธีการตรวจเยี่ยมอย่างไร
         โปรแกรมลดต้นทุน  ของไมโครซอฟท์
         ผู้ประกอบการมีความรู้ที่ช่วยเหลือตนเองได้
         มูลนิธิคนึง  กรณีศึกษากระบวนการทางกฎหมาย

พันธุ์ทิพย์  ดำเนินการเสวนา
         เรื่องกรรมการชุมชน 

รองปลัดเทศบาลนครอุบล
       ในเขตเทศบาลอุบลฯ มี๑๐๖ ชช
       แจ้งว่ามีกรรมการชุมชนของเทศบาลอยู่แล้ว  ที่นายกเทศมนตรีแต่งตั้ง จากอาสาสมัคร

พตท. สถาพร รอง ผกก.
       ควรมีตัวแทนผู้ประกอบการ ที่กระจายตามชุมชนย่อย  
       ตัวแทนหน่วยราชการ : สถานศึกษา   ตำรวจ   สนง วัฒนธรรม  
       “จังหวัดอุบลไม่มีส่วย   ส่วยอยู่ที่ศรีสะเกษ”

วิรัช แสงจ้าง  ประธานชมรม ผปค. (อายุ ๗๕ ปี)
          มี บอร์ด จว.   บอร์ด ย่อยระดับอำเภอ  เป็นอนุกรรมการ    **มุมมองแบบ Pyramid เน้นอำนาจ  vs แบบเครือข่าย เน้นการสื่อสาร    **สังคมอำนาจ 
**บอร์ดทำหน้าที่อะไร    ทำอย่างไร
    ภาคราชการ
    ภาคผู้ประกอบการ  เจ้าของร้าน    ชมรมผู้ประกอบการร้านอินเทอร์เน็ตและเกมคอมพิวเตอร์จังหวัดอุบลฯ 
    ภาค ปชช : ผปค.   สภาวัฒนธรรมอำเภอ   คข เฝ้าระวังทางวัฒนธรรม   สื่อมวลชน
    ภาคเยาวชน

พตท. สถาพร  ท้วง กรรมการชุมชน ให้ ปชช. ดูแลกันเอง
เรื่องอำนาจหน้าที่  กรอบการทำงานของคณะกรรมการชุมชน
เดิม กวธ. ประสาน   เน้นให้คำแนะนำ
       อำนาจจับกุมยังเป็นของ ตร. อย่างเดิม
พรบ ใหม่   
     • กำหนดเกณฑ์ของร้านที่เป็นพื้นที่สื่อปลอดภัยสร้างสรรค์   
     • วิธีการรับสมัครร้าน  
     • กำหนดเวลาเปิด ปิด    เดิมอายุต่ำกว่า ๑๘  เวลา ๑๔.๐๐ – ๒๒.๐๐ น.   ผู้ประกอบการอยากให้เด็กโตเข้ามาเล่นได้หลังสี่ทุ่ม
     • กำหนดการตรวจร้าน  เพื่อ (๑) ออกใบ  (๒) เยี่ยม  (๓) จับกุม  
     • กำหนดเกณฑ์การเข้าร้านของเด็ก   
     • การสร้างกิจกรรมเพื่อสร้างชุมชนเข้มแข็ง และสร้างความเข้มแข็งแก่เด็ก
เกณฑ์สร้างสรรค์
        เวลา  อายุ  สื่อ

Incentive มีสิทธิ์ซื้อโปรแกรมทันสมัยราคาถูก
        Microsoft เสนอสิทธิประโยชน์ 2 ข้อ (1) Window XP OS สำหรับเล่นเกมขายขาด $30 update ฟรี  แต่ไม่ถึง Vista  (2) MS Office $5 ต่อทุก 2 ปี
         วิดีโอเกม  จัดตลาดนัดของบริษัทขายเกมถูกกฎหมายให้
         ธ. ออมสิน (หมอเลี๊ยบ) จัดเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ
         SIPA มีเกมราคาถูก 

อบรมความรู้
         กม  จริยธรรม   เทคโนโลยี
ทดลองนำเรื่องเข้ากระบวนการยุติธรรม
         อ. พันธุ์ทิพย์ ว่ากรณีถูกตำรวจกลั่นแกล้ง น่าจะลองฟ้องศาล

การเล่าทุกข์สุข
-
เตรียมงานเรทติ้งเกม
-
กทช.

         **อ. แหวว ทำหน้าที่แหว ต่อว่าภาค ปชช. ไม่พูด    ตอนค่ำเขามาบอกว่า ต่อหน้าตำรวจพูดไม่ออก

อิทธิพล
            จะกลับไปพูดกับ  จักรภพ   รมต. วัฒนธรรม   และวีระศักดิ์ รมต. การท่องเที่ยวและกีฬา     ได้ผลหรือไม่ขึ้นกับเสียงชุมชนเข้มแข็งหรือไม่     ชุมชนได้แสดงความจริงใจและเอาจริงหรือไม่

อ. ปัญญา  สพท. ๔
         สื่อสร้างสรรค์เป็นอย่างไร   สร้างสรรค์อย่างไร
         ตัวอย่าง ร้านที่ดี ๑๐/๒๐๐

อิทธิพล
         เกมสร้างสรรค์  ให้การเรียนรู้ 

สมหมาย ศรีจันทร์  ผู้ประกอบการ  ตัวแทน ToT
         ไม่มีร้านเน็ตเด็กขาดโอกาส   ชมรมได้จัดกิจกรรม วันที่ ๒๑ ประเพณีบุญพระเวส  ตามคำแนะนำท่านเจ้าคุณ
         ตอนบ่ายจะเอาตัวอย่างกิจกรรมคืนกำไรให้สังคมมาให้ดู
         เกมวิ่ง รร. ประวัติศาสตร์
         ผปค. ถ้าเล่นเกมกับเด็กบ้าง จะเข้าใจเด็ก
         เด็ก ต่อจากเล่น เป็นผู้เขียนโปรแกรม
         **ชมรมผู้ประกอบการน่าจะช่วยกันยกร่างร้านสร้างสรรค์   เช่นเตือนเด็กว่าเล่นนานเกินไปแล้ว  เตือนเด็กว่าเกมนี้ไม่เหมาะต่อเด็กอายุขนาดนี้

วัฒนธรรม
          อุบลปัญหาไม่มาก  ธุรกิจไม่แรง   ผู้ประกอบการพูดกันรู้เรื่อง

บ่าย
         อิทธิพลสรุปประเด็นจากการประชุมเมื่อเช้า
กรรมการ ๒ ระดับ   จังหวัด  อำเภอ 

ความเห็น
     • ดึงพ่อแม่เข้าร้านเน็ต ทำกิจกรรมสร้างสรรค์    เรียนรู้กับลูกๆ
     • กิจกรรมสร้างสรรค์มีมากมาย
     • พ่อแม่  ร้านเกม  สถานศึกษา กล่าวโทษกันไปมา     ไม่มีคนดูแลเด็ก
     • จรรยา ราชวงศ์ คข หมออนามัย มาตามที่สมหมายชวน    ไม่ want to be  แต่ want to do   หลวงพ่อชา : เหนือกฎกติกา  คือมารยาท    มารยาทเป็นตัวอุดช่องว่างของกติกา     เป็นกลไกทางสังคม    ควรให้ความสำคัญที่ข้อ ๗   ลปรร. ไม่เป็นทางการ    เอาใจเชื่อมใจ     ได้การผุดบังเกิดจากการเข้าไปทำ
     • การลงทุนร้านเน็ต ๒๐ เครื่อง แปดแสน   ๓๐ เครื่อง ล้านขึ้น    โดนบีบ  การแข่งขันสูง   รายจ่ายสูง   ค่าไฟ ค่าเช่า  ค่าลิขสิทธิ์    จึงทำทุกทางเพื่ออยู่รอด ทำโปรโมชั่น ที่ไม่ถูกต้อง  มีการให้เปลี่ยนเสื้อ    ขาดความรู้ในการทำธุรกิจ    เจ๊งไปก็มาก    อยากได้ความเห็นของ ผปค.    ชมรมจะได้ให้ความร่วมมือ
     • วิรัช ประธานชมรม ผปค.  เห็นใจว่าอยู่ไม่รอด    ตนอายุ ๗๕ ไปฝึกเข้าเน็ต    กฎหมายหารเคร่งเกินไปก็ไม่ดี   
     • อิทธิพล  ถามรองผู้ว่า   ที่ผู้ประกอบการขอ ๒๔ ชม. เหมาะสมหรือไม่สำหรับอุบล
     • รองผู้ว่าวิโรฒ มีแก้ว  ต้องดูองค์ประกอบอื่นประกอบด้วย     สี่ทุ่มน่าจะเป็นหลัก    เด็กนอนดึกไม่ดี    เรามาทำงานร่วมกัน ร่วมกันคิด คุยกันไปคุยกันมาแบบประชาสังคม หาทางออกที่ดีที่สุดในขณะนั้น     เป็นเวทีความคิด ที่คุยกัน ฟังกัน    ตนไม่อยากชี้นำ   
     • ประธานชมรม ผปค.   ควร monitor คนที่ไปใช้เวลาเกินสี่ทุ่ม     มีชมรมดูแล     **กลไกกำกับดูแล    ระบบ Governance ของร้านเน็ต    ที่เน้นการดูแลตัวเอง และมีชมรม ผปค. เข้าไปช่วย    
     • สมหมาย    มีร้าน ๒๔ ชม. ในบางสถานที่ สำหรับคนกลุ่มจำเพาะ เช่น นักท่องเที่ยว เขาจะติดต่อยุโรปซึ่งเป็นเวลากลางวัน
     • เจ้าของร้าน    ไม่ใช่ ๒๔ ชม. ทุกร้าน   และไม่ใช่ทุกวัน    เคยโดน ตร. จับ เลยเวลาเพียง ๒๐ นาที และเด็กใช้ทำการบ้าน    ต้องการป้องกันส่วย
     • ปลัดอำเภอ    อินเทอร์เน็ต เป็นของดี ถ้าใช้ถูก    ควรทำ zoning ร้านที่จะเปิด ๒๔ ชม.  
     • ประธานชมรม ผปค.  ให้ผู้บริโภคเข้าไปร่วมควบคุมดูแลด้วย
     • ไม่มีความรู้เรื่องลิขสิทธิ์    ไม่มีตัวแทนขายโปรแกรมที่มีลิขสิทธิ์ 
     • เล่าเรื่องถูกจับ ๔ ครั้ง ครั้งหลังยอมจ่ายส่วย     ถ้าเด็กใช้ไม่เหมาะสมจะเตือน    ลูกค้าผู้ใหญ่เกือบทั้งหมดเข้าเว็บโป๊
     • พตท. สถาพร ตนเป็นผู้จับ    มีรายละเอียด    ควรใช้อายุเป็นเกณฑ์    เรื่องส่วย มีร้านที่ให้ แต่เป็นส่วนน้อยมาก     ควรใช้ชมรมเข้ามาช่วยควบคุมกันเอง ให้ปฏิบัติตามกฎหมาย     เมื่อวานไปตรวจหอพัก ๘ แห่ง  ถูกต้อง ๒  ไม่ถูก ๖    ชวนชมรมไปร่วมจับกับตำรวจ    
     • พันธุ์ทิพย์   มูลนิธิคนึง ทำวิจัยเรื่องส่วย    อยากให้คุยเรื่องลิขสิทธิ์     มีเวลาเพียง ๙๐ วันในการเตรียมยกร่างกฎกระทรวง
     • ผู้ประกอบการ  แกรมมี่และตำรวจนอกท้องที่มาจับ กรณี download เพลงและยังไม่ได้ restart ให้เพลงหายไป (ลิขสิทธิ์ MP3)    สู้ได้ แต่โดนยกเครื่องไปทั้งร้านเป็นปี
     • พตท. สถาพร ทำอย่างไรให้ร้านรู้ว่าตัวไหนมีลิขสิทธิ์ ตัวไหนไม่มี
     • ผู้ประกอบการ  เอเชียซอฟท์ ขายโปรแกรมแบบพ่วงเกม    ไม่ต้องการ
     • พันธุ์ทิพย์ คราวหน้าชวน เอเชียซอฟท์ มาร่วมคุย     และขอให้ สคบ. บอก   เอเชียซอฟท์ ว่าห้ามขายพ่วง     อ. โก๋ ไปคุยกับออมสิน    ชวนกลุ่มอุบลไปพิษณุโลกด้วยกัน   http://www.csbclub.org   ขัดแย้งรุนแรง      ชวน มอบ. เข้าร่วม ก็ไม่มา   คุยเรื่องการป้องกันร้านอินเทอร์เน็ตถูกรังแก  การขอดูหลักฐานจากคนที่มาจับเรื่องลิขสิทธิ์    และตำรวจต้องไม่ยกเครื่องไปหมดร้าน จนร้านไม่มีเครื่องประกอบอาชีพ    โจทย์วิจัย ประเด็นการทำความผิดเกี่ยวกับเด็ก
     • การบังคับใช้ กม. ใหม่    ใช้อำนาจปกครอง ทำให้ผู้ละเมิดทำธุรกิจไมได้    ถ้าดื้อแพ่งก็โดนโทษอาญา     ตร. มองว่าโทษทางอาญาต้องมาก่อนโทษทางปกครอง      อ. แหววมองว่าเขาต้องการเปลี่ยนวิธีคิดของตำรวจ
     • โครงการเมธีวิถีวัฒนธรรม  ยกย่องคนทำดี  ยกย่องร้านเน็ตที่เอาเกมสร้างสรรค์มาให้บริการโดยให้เกียรติบัตร     จะมีร้านที่ได้รับสติ๊กเกอร์สีขาว     “ช่วยกันทำบ้านเราให้สวยงาม”   

วิจารณ์
     • เป็นการทำบุญร่วมกัน     ส่วนที่เคยจับหรือโดนจับก็ขอให้อโหสิกันไป
     • กรรมการ ๒ ระบบ    ระบบทางการ กับระบบชุมชนจริงๆ
     • ชุมชนต้องสร้างพื้นที่อื่นให้เยาวชน    เพื่อแข่งขันแย่งเด็กกับร้านเน็ต    แข่งขันกันเป็นพื้นที่สร้างสรรค์เยาวชน    เยาวชนต้องมีพื้นที่สร้างสรรค์หลากหลายแบบ    เพราะคนเรามีหลากรสนิยม
     • ระบบกำกับด้วยความดี (Governance)  ไม่ใช่ควบคุมด้วยอำนาจ (Control)    เป็นระบบที่จำแนกแจกแจง   ให้สิทธิพิเศษเพราะดำเนินการดี ดูแลตัวเองได้    ร้านที่จะได้สิทธิพิเศษในการเปิดนอกเวลา  ในการมีป้ายเชิดชู “สื่อปลอดภัยสร้างสรรค์”     ต้องให้ชมรมผู้ปกครอง ชมรมผู้บริโภค และชมรมเยาวชนสร้างสรรค์ร่วมกันมีมติ    โดย วธจ. ร่วมเห็นชอบ    เป็นโครงการทดลอง  มีทีมวิจัยช่วย วธจ. ในการประเมินผล และหาระบบที่เหมาะสม 
     • ชมรมผู้ให้บริการ ร่วมกับชมรมผู้บริโภค จัดประกวดเยาวชนใช้อินเทอร์เน็ตอย่างชาญฉลาด    และจัดอบรมโดยให้เยาวชนแชมป์เน็ตดีเด่นเป็นวิทยากร  มีค่าตอบแทนนิดหน่อย


ลงพื้นที่เยี่ยมผู้ประกอบการร้านเกมคาเฟ่-อินเตอร์เนตคาเฟ่
     • ร้าน T Net  สถานที่สบายมาก  ราคา ๒๐, ๔๐ บาท/ชม.     มีเกมสร้างสรรค์    กิจกรรมสร้างสรรค์
     • ร้านชินตา  ๘๐ เครื่อง  ราคา ชม. แรก ๑๕ บาท   ชม. ที่สอง ๑๐ บาท     สถานที่อัดแอ พักที่ โรงแรมอุบลบุรี รีสอร์ท   ถ. ศรีมงคล  อ. วารินชำราบ   www.ubonburihotel.com
อาหารเย็น
         ร้านอินโดจีน อาหารเวียดนามอร่อยมาก แต่ราคาค่อนข้างสูง

ส่วยตำรวจ
            ผู้ประกอบการร้านอินเทอร์เน็ต ๖ คนมากินอาหารเย็นด้วย    และเล่าเรื่องจ่ายค่าส่วยให้ตำรวจอย่างคับแค้นใจ     แถมยังมีผู้พิพากษาศาลเด็กแนะให้ยอมเสียค่าส่วย    ผู้ประกอบการเหล่านี้มองว่าธุรกิจของตนเป็นธุรกิจสีเทา     และบอกว่าธุรกิจสีเทาอื่นๆ ต่างก็ต้องจ่ายค่าส่วยให้ตำรวจทั้งสิ้น     นี่เป็นคำของเขา ผมไม่รับรองว่าจริงหรือเท็จ

หมายเลขบันทึก: 165873เขียนเมื่อ 18 กุมภาพันธ์ 2008 10:06 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 10:26 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

ดูวีดิโอเกี่ยวกับการมาคุยเรื่องสื่อปลอดภัยที่อุบลฯ ครั้งแรกไหมคะ

http://www.oknation.net/blog/archanwell/video/14387

อันนี้ ครั้งที่สอง

http://www.oknation.net/blog/archanwell/video/17087

ส่วนครั้งที่สาม เมื่อทำวิดิโอเสร็จ จะเอามาอวดค่ะ

ด.ญ.วนิดา โรจนพุทธิ

แป้งอยากไปเที่ยวมาก

ด.ญ.ณิชาภัทร์ จิระวัฒน์

เหมียวอยากไปเที่ยวกรุงเทพ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท