KM (แนวปฏิบัติ) วันละคำ : (497) KM คืออะไร 93. การวิจัย



     • ศ. นพ. วิษณุ ธรรมลิขิตกุล ระบุในบทความเรื่อง “การจัดการความรู้เพื่อพัฒนาบริการสุขภาพ” ในต้นฉบับหนังสือ งานวิจัยพื้นฐาน : ฐานรากของการพัฒนาประเทศตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง  ด้านการวิจัยพื้นฐานเพื่อพัฒนาสุขภาพ  ที่กำลังจัดพิมพ์โดย สกว. ว่า
     • ความรู้ด้านสุขภาพ มี ๓ ประเภท  (๑) ความรู้ฝังลึก  (๒) ความรู้แจ้งชัด  (๓) ความรู้ที่ยังค้นไม่พบ
     • การจัดการความรู้ประเภทแจ้งชัด ทำโดยการถ่ายทอดความรู้ หรือนำไปใช้กำหนดนโยบายสุขภาพและบริการสุขภาพ
     • การจัดการความรู้ประเภทฝังลึก คือการถ่ายทอดความรู้หากความรู้นั้นสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้แล้ว  และเปลี่ยนให้เป็นความรู้แจ้งชัดก่อนถ่ายทอด
     • การจัดการความรู้ประเภทที่ยังค้นไม่พบทำโดยการวิจัย
     • การจัดการความรู้ต้องอาศัยผู้จัดการความรู้ (Knowledge Manager / Knowledge Convenor / Knowledge Broker) ที่มีทักษะในการแปลงความรู้ที่ได้จากการวิจัยให้เป็นนโยบายสุขภาพและวิธีบริการสุขภาพ    และมีความสามารถในการประสานให้เกิดการวิจัยประเภท Practical Research / Health Service Research / Health Policy Research
     • กระบวนการจัดการความรู้ที่กล่าวในบทความนี้ล้วนเป็นการวิจัยทั้งสิ้น

         นี่คือมุมมองของ ศ. นพ. วิษณุ ธรรมลิขิตกุล ครับ   ผมสรุปมาเผยแพร่    เป็นการมอง KM จากมุมมองหนึ่ง

วิจารณ์ พานิช
๑๐ ก.พ. ๕๑

หมายเลขบันทึก: 166341เขียนเมื่อ 20 กุมภาพันธ์ 2008 13:24 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 22:47 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท