KM (แนวปฏิบัติ) วันละคำ : (๕๐๖) KM คืออะไร ๑๐๒. เครื่องมือใช้ความรู้ต่อความรู้


     o KM เป็นเรื่องของการสร้างความรู้ขึ้นใช้เอง    ในทันใดของการใช้ความรู้นั้น 
     o ในกระบวนการ “สร้าง” ความรู้ในทันใดนั้น    จะต้องเอาความรู้ที่พร้อมใช้มาจากที่อื่น หรือจากภายในตน    เอามา “ปรับ” ในทันใด ให้เหมาะแก่สถานการณ์นั้น     เกิดเป็น “ความรู้เพื่อใช้งานเฉพาะสถานการณ์”
     o ใน KM ผู้เกี่ยวข้องจึงต้องมีความสามารถในการตีความบริบท หรือทำความเข้าใจสถานการณ์ปัจจุบันในขณะนั้น    เกิดเป็น “ความรู้” เกี่ยวกับบริบท    ซึ่งเป็น “ความรู้ฉับพลัน”
     o คนที่ฝึก KM อยู่เสมอในชีวิตประจำวัน จึงมี “ความรู้ฉับพลัน” ที่ชัด คม แม่น
     o “ความรู้ฉับพลัน” เกี่ยวกับบริบทนั้นๆ นี้เอง ที่เราเอาไปต่อ หรือผสม กับ “ความรู้พร้อมใช้” ที่เราทุกคนต่างก็ผลิต “ใส่ตู้เย็น” สมองไว้    เป็นความรู้ “ตัวแบบ” เฉพาะของแต่ละคน    คนเก่งๆ จะมี “ตัวแบบ” จำนวนมาก    และดึงลิ้นชักเอาตัวแบบออกมา ได้เร็วฉับพลัน
     o “ความรู้ตัวแบบ” ผสมกับ “ความรู้ริบท” ได้เป็น “ความรู้ปฏิบัติตามสถานการณ์” และลงมือทำทันใด
     o ขั้นตอนข้างบนเกิดขึ้นภายในเวลาเสี้ยววินาที  โดยเราไม่รู้ตัว    เกิดขึ้นโดยอัตโนมัติ
     o จะว่าไม่รู้ตัวทั้งหมดก็คงไม่ถูก    เพราะคนที่มีสติตื่นรู้สูง (จากการฝึกฝน) จะสามารถเก็บข้อมูลสถานการณ์ได้ละเอียดกว่า แม่นยำกว่า ชัดเจนกว่า     และเอามาประมวลเป็นความรู้บริบทที่มีคุณภาพดีกว่า  ดีกว่าอย่างเทียบกันไม่ติด
     o คนที่สั่งสม “องค์ความรู้” เกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่งไว้มาก    และเคยทดลองใช้ในสถานการณ์ต่างๆ มาก    จะมี “ความรู้พร้อมใช้” เกี่ยวกับเรื่องนั้น เป็นตัวแบบ (pattern) จำนวนมากมาย  ไว้ให้เลือกใช้ตามสถานการณ์    ให้เลือกแบบไม่ต้องคิด หรือเป็นอัตโนมัติ นั่นเอง

 

วิจารณ์ พานิช
๕ มี.ค. ๕๑

หมายเลขบันทึก: 169518เขียนเมื่อ 7 มีนาคม 2008 11:16 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 23:00 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ถ้าเรามีศักยภาพที่จะปั้นความรู้ได้แบบนี้มากๆ ก็คงดีค่ะ

  • ทุกวันนี้ ยิ่งเรียนยิ่งรู้ลึกแต่แคบ (มองภาพผ่านกล้องจุลทัศน์)
  • สวัสดีครับอาจารย์

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท