KM (แนวปฏิบัติ) วันละคำ : 512. การสร้างและเผยแพร่องค์ความรู้ด้านสุขภาพ – มุมมองแนว KM


ความรู้ด้านสุขภาพ ๘๐ - ๙๐% เป็น tacit knowledge (ความรู้ปฏิบัติ) ที่อยู่ในตัวคน ที่เป็นคนธรรมดาสามัญ ที่ไม่ใช่หมอ พยาบาล หมอฟัน เภสัชฯ ฯลฯ ความรู้ปฏิบัติที่ดี อยู่ในคนที่สุขภาพดี หรือเลี้ยงลูกสุขภาพดี หรืออยู่ในครอบครัวที่สุขภาพดี หรืออยู่ในชุมชนที่ผู้คนมีสุขภาพดีกว่าชุมชนอื่นๆ

KM (แนวปฏิบัติ) วันละคำ  : 512. การสร้างและเผยแพร่องค์ความรู้ด้านสุขภาพ มุมมองแนว KM

 

¨      การขับเคลื่อน/พัฒนา ระบบสุขภาพไทย มีความก้าวหน้ามากที่สุดในโลกประเทศหนึ่ง    ก้าวหน้ากว่าของสหรัฐอเมริกามาก    เพราะระบบสุขภาพอเมริกันขับเคลื่อนโดยธุรกิจ    ของไทยขับเคลื่อนด้วยพลังสังคม ที่เป็นพลังสามแห่งสามเหลี่ยมเขยื้อนภูเขา http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=samrotri&month=01-2007&date=14&group=14&gblog=8

¨       หมุดหมาย (milestone) สำคัญอย่างหนึ่งคือ พรบ. สุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๕๐ http://www.hsro.or.th/demo/mis3.html    มีไม่กี่ประเทศในโลกที่มี พรบ. แบบนี้เป็นเครื่องมือขับเคลื่อนระบบสุขภาพของประเทศ ในลักษณะขับเคลื่อนพลังสังคม

¨      มีหลายเครื่องมืออยู่ใน พรบ.   ชิ้นสำคัญชิ้นหนึ่งคือ ธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ http://www.hsro.or.th/demo/tummanoon.html 

¨      มาตรา ๔๗ ของ พรบ. กำหนดไว้ดังนี้

มาตรา ๔๗ ธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ ต้องสอดคล้องกับรัฐธรรมนูญ

แห่งราชอาณาจักรไทย และอย่างน้อยต้องมีสาระสำคัญเกี่ยวกับเรื่องดังต่อไปนี้

() ปรัชญาและแนวคิดหลักของระบบสุขภาพ

() คุณลักษณะที่พึงประสงค์และเป้าหมายของระบบสุขภาพ

() การจัดให้มีหลักประกันและความคุ้มครองให้เกิดสุขภาพ

() การสร้างเสริมสุขภาพ

() การป้องกันและควบคุมโรคและปัจจัยที่คุกคามสุขภาพ

() การบริการสาธารณสุขและการควบคุมคุณภาพ

() การส่งเสริม สนับสนุน การใช้และการพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านสุขภาพ

การแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้านและการแพทย์ทางเลือกอื่น ๆ

() การคุ้มครองผู้บริโภค

() การสร้างและเผยแพร่องค์ความรู้ด้านสุขภาพ

(๑๐) การเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารด้านสุขภาพ

(๑๑) การผลิตและการพัฒนาบุคลากรด้านสาธารณสุข

(๑๒) การเงินการคลังด้านสุขภาพ

 

¨      ผมเอา KM มาตีความข้อ ๙ ข้างบนนี้ ว่าความรู้ด้านสุขภาพ ๘๐ - ๙๐% เป็น tacit knowledge (ความรู้ปฏิบัติ) ที่อยู่ในตัวคน    ที่เป็นคนธรรมดาสามัญ ที่ไม่ใช่หมอ พยาบาล หมอฟัน เภสัชฯ ฯลฯ 

¨      ความรู้ปฏิบัติที่ดี อยู่ในคนที่สุขภาพดี หรือเลี้ยงลูกสุขภาพดี หรืออยู่ในครอบครัวที่สุขภาพดี หรืออยู่ในชุมชนที่ผู้คนมีสุขภาพดีกว่าชุมชนอื่นๆ

¨      นี่คือความรู้ที่มีอยู่ แต่มักถูกละเลย   เพราะเราไม่ให้ความสำคัญต่อ ความรู้ปฏิบัติ

¨      เมื่อเข้าใจคุณค่าของความรู้ปฏิบัติ ก็สามารถ ดำเนินการ การสร้างและเผยแพร่องค์ความรู้ด้านสุขภาพในแนวใหม่ที่มีนวัตกรรม โดยใช้ SSS Success Story Sharing

วิจารณ์ พานิช

๒๐ เม.ย. ๕๑

                         

      

        

หมายเลขบันทึก: 177747เขียนเมื่อ 20 เมษายน 2008 10:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 23:39 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท