KM (แนวปฏิบัติ) วันละคำ : ๕๑๙. ใช้ KM สร้างสังคมสุขภาวะ


 

          วันที่ ๒๔ เม.ย. ๕๑ สช. จัดเวทีระดมสมองสร้างสังคมสุขภาวะ    หลังจากได้จัดเวทีเติมหัวใจให้สังคมไปแล้ว ๓ เวที   คณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติได้ตั้ง นพ. มงคล ณ สงขลา เป็นประธานคณะกรรมการบริหารยุทธศาสตร์การสร้างสังคมสุขภาวะที่มีหัวใจของความเป็นมนุษย์  แล้วจัดระดมสมองในวันนี้

          ศ. นพ. ประเวศ วะสี แนะนำว่าอย่าเริ่มที่นิยาม (ของสังคมสุขภาวะ)  ให้เริ่มจากปฏิบัติ และผลจากการปฏิบัติ   และแนะให้ใช้ยุทธศาสตร์ ๒ ข้อ

                    ๑. CN R = research หรือทำ mapping หาตัวอย่างที่ดี, C = communication, N = networking
                    ๒. INN  I = Individual ทำสิ่งที่ตนเองเห็นคุณค่า มีอิสระ มีคุณค่าของความเป็นคน, N = Node รวมกลุ่มกันทำ, N = Network รวมตัวกันเป็นเครือข่าย  โครงสร้างทางราบ
          หวังผลการเปลี่ยนแปลงในระดับ total transformation  หรือการเปลี่ยนแปลง ขั้นพื้นฐาน  ใน ๓ ระดับ คือ ระดับบุคคล personal, ระดับองค์กร organization, และระดับสังคม – social transformation

 

          ผมมองจากแว่น KM ว่าเป็นการขับเคลื่อนสังคมไทย   โดยใช้ intellectual capital ที่มีอยู่แล้ว   ในลักษณะของการขับเคลื่อนความดี ขยายเครือข่ายคนทำดี โดยใช้ SSS – Success Story Sharing    เพื่อสร้างสังคมสุขภาวะในหลากหลายรูปแบบ  ทำจากหลากหลายมุม    จากกิจกรรมที่หลากหลายที่อาจไม่ได้มีชื่อสังคมสุขภาวะ   เช่นอาจอยู่ในชื่อ Happy Workplace   ในชื่อจิตวิวัฒน์   แผนพัฒนาจิต  สังคมไม่ทอดทิ้งกัน  สังคมอยู่ดีมีสุข  สังคมอยู่เย็นเป็นสุข  สังคมเศรษฐกิจพอเพียง เป็นต้น  
          โดยดำเนินการจากหลากหลายประเด็น  หลากหลายพื้นที่  เน้นที่ประชาชนเป็นผู้ริเริ่มดำเนินการ  ในระดับชุมชนท้องถิ่น   ระดับองค์กร  และทำเป็นเครือข่ายข้ามชุมชน ข้ามองค์กร 
          การดำเนินการเชิงประเด็น ข้ามพื้นที่ ข้ามชุมชน ข้ามองค์กร ก็คือการดำเนินการแบบ COP – Community of Practice นั่นเอง
          ควรใช้พลัง ICT เป็นช่องทางสื่อสารยุคใหม่ที่เป็น media 2.0   ให้ผู้รับสารเป็นผู้สร้างสาระและสื่อสาระออกไป   โดยเฉพาะการสร้างสาระและสื่อโดยเยาวชน ซึ่งโดยธรรมชาติมีความสันทัดด้านสื่อเป็นพิเศษ    โดยเฉพาะการใช้เทคโนโลยี Myspace, hi5, ใช้ยุทธศาสคร์ชื่นชม  สื่อสารความดี
  
          ผมได้รู้จักเว็บไซต์ www.phongphit.com และ www.konjaidee.com    ที่สื่อสารเรื่องราวดีๆ

 

วิจารณ์ พานิช
๓๐ เม.ย. ๕๑

 

                                
       

หมายเลขบันทึก: 179919เขียนเมื่อ 1 พฤษภาคม 2008 10:15 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 23:50 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

จุดอ่อนของ KM

Knowledge Management นั้นไร้ค่าแน่นอนหากขาด"ระบบ"รองรับ

ที่เรียกว่า KMS Knowledge Management System (ดู Wikipedia)

นอกจาก Knowledge แล้ว...การบริหารทุกประเภททุกแผนกวิชาของทุกมหาวิทยาลัยทุกคณะ

ต้องมี"ระบบ"รองรับเช่นกันจึงจะทำให้การบริหารของคณะนั้นมีคุณภาพ...ที่เรียกว่า

Quality Management.

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท