KM (แนวปฏิบัติ) วันละคำ : ๕๒๑. KM คืออะไร ๑๐๖. ทวิภพในองค์กร


 

 KM คือเครื่องมือทำให้เกิด “ทวิภพ” หรือ “ทวิวัฒนธรรม” ขึ้นภายในองค์กร


 เพื่อให้ “ภพ” หรือ “วัฒนธรรม” ที่แตกต่างกันคนละขั้ว ส่งพลังเสริมซึ่งกันและกัน เกิด synergy


 “ภพ” หนึ่งคือองค์กรแบบปิระมิด หรือวัฒนธรรมอำนาจ   วัฒนธรรมแนวดิ่ง ควบคุมสั่งการ


 อีก “ภพ” หนึ่งคือองค์กรแนวราบ วัฒนธรรมเอื้ออำนาจ  ให้อิสระในการคิดและริเริ่มสร้างสรรค์


 KM เป็นเครื่องมือสร้าง “พื้นที่ร่วม” (Common Space) ของคนทุกระดับในองค์กร   เข้ามา ลปรร. ท้าทายและชื่นชมผลสำเร็จกัน   สงสัยและตีความผลสำเร็จร่วมกัน    เกิดความรู้ใหม่ยกระดับขึ้นไป เป็น Knowledge Spiral ที่เกิด Knowledge Leverage


 “พื้นที่ร่วม” คือพื้นที่แห่งความเท่าเทียม ทุกคนถอดหัวโขนออก   ใช้ความสัมพันธ์แนวราบ


 องค์กรใดจัด “พื้นที่ร่วม” ได้อย่างมีชีวิตชีวา มีความเป็นธรรมชาติ ไม่ถูก “ภพปิระมิด” ครอบงำ    จะสามารถใช้เครื่องมือ KM ได้อย่างทรงพลัง    เกิดความริเริ่มสร้างสรรค์ที่เสริมพลังกันทั่วทั้งองค์กร ในทุกระดับของพนักงานและผู้บริหาร

 

วิจารณ์ พานิช
๕ พ.ค. ๕๑

 

 

หมายเลขบันทึก: 181196เขียนเมื่อ 8 พฤษภาคม 2008 09:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 มิถุนายน 2012 22:08 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ทุกย่อมระงับได้ที่เหตุแห่งทุกข์

ทุกข์ของมหาวิทยาลัยไทยที่มีจำนวนเป็นร้อย คือ ทุกแห่งยังไม่มีคุณภาพ

หลักฐานคือ จุฬาฯมหาวิทยาลัยที่ดีที่สุดของไทยยังติดถึงอันดับที่ 233 ของโลกจากการจัดอันดับของนิตยสารไทม์

เมื่อเหตุแห่งทุกข์เป็นเพราะไม่มีคุณภาพ...วิธีดับทุกข์ก็คือทำมหาวิทยาลัยให้มีคุณภาพ..ก็แค่นั้นเอง

หลักประกันคุณภาพมหาวิทยาลัยตามมาตรฐานสากลคือ"ระบบ"(System)

การออกแบบระบบ(System Design)ให้มหาวิทยาลัยคือประตูสู่การมีคุณภาพดับทุกข์มหาวิทยาลัยได้

มหาวิทยาลัยใดอยากมีคุณภาพก็ต้องพยายามศึกษาให้รู้วิธีการออกแบบระบบ

ขอบอกเอาบุญว่า..จุฬาฯสามารถติดอันดับไม่เกินตำแหน่งที่ 50 ของโลกอย่างแน่นอนถ้ารู้วิธีออกแบบระบบ System Design ดังกล่าว

จะออกแบบระบบได้ต้องเข้าใจ Knowledge Management System หรือ KM.System เสียก่อน..โดยเปิดดูที่ Wikipedia

ประเด็นสำคัญของการออกแบบระบบอยู่ที่การสร้างเรื่องต่างๆทุกเรื่องของการบริหารมหาวิทยาลัยให้เป็นระบบ(ตามมาตรฐานสากล)โดยทุกระบบต้อง

1. มีเป้าหมาย(Objective หรือ Purpose)

2. มีวิธีปฏิบัติ(Procedures หรือ Processes)แสดงขั้นตอนความสำเร็จของแต่ละระบบ

3. ระบุหัวข้อสำคัญอื่นๆของระบบ เช่น Policy, Scope, เป็นต้น

ประโยชน์ของความสามารถในการออกแบบระบบ Knowledge Management System

1. ทำให้มหาวิทยาลัยไทยพากันติดอันดับสูงของโลก เนื่องจากมี"ระบบ"เป็นหลักประกันคุณภาพเพราะ"ระบบ"เป็นตัวป้องกันข้อบกพร่องที่ทำให้ไม่มีคุณภาพ

2. ทำให้การบริหารทุกคณะในมหาวิทยาลัยมุ่งไปในทิศทางเดียวกัน บุคคลากรทุกคนเข้าใจตรงกัน

3. ป้องกันความผิดซ้ำซากที่เกิดจากความพยายามลองผิดลองถูก(Reinventing the wheel)

4. ลดการเสียเวลาเพราะไม่มีระบบ

5. ระบบสร้างความชัดเจนจนไม่จำเป็นต้องเสียเวลาฝึกอบรมบุคคลากรบางเรื่อง

6. แม้จะมีคนเก่งลาออกไป ระบบช่วยให้งานเดินต่อได้โดยไม่มีอุปสรรค

ที่สำคัญคือ การบริหารที่มีระบบเป็นมาตรฐานสากลที่ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน(รวมทั้งมหาวิทยาลัย)ต้องปฏิบัติตาม เพราะประเทศไทยเป็นสมาขิกขององค์กรดังกล่าวและรัฐบาลไทยเคยให้สัญญาว่าจะปฏิบัติตามบทบัญญัติของมาตรฐานสากล

สาเหตุที่รัฐบาลไทยยังใช้การบริหารที่ไม่มีระบบไม่ใช่เพราะจงใจหลีกเลี่ยง

แต่เป็นเพราะนักบริหารชั้นสูงของราชการยังออกแบบระบบ(System Design)ไม่เป็นนั่นเอง

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท