KM (แนวปฏิบัติ) วันละคำ : ๕๓๔. ใช้ KM ขับเคลื่อนระบบสุขภาวะ


 

          ระบบสุขภาพไทยเป็นระบบที่ก้าวหน้ามาก   มีกลไกขับเคลื่อนระบบอย่างเป็นทางการ คือ สช.   มีอำนาจ หน้าที่ และกลไก ที่ระบุไว้ในกฎหมาย   และที่สำคัญมีวิธีการทำงานที่ผมเรียกว่าแนว empowerment และ inclusive   โดยระบุให้มีกระบวนการจัดทำ ธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ เพื่อใช้เป็นกรอบและแนวทางในการกำหนดนโยบาย ยุทธศาสตร์และการดำเนินงานด้านสุขภาพของประเทศ


          ผมมองด้วยแว่น KM ว่าธรรมนูญฯ เป็นเครื่องมือสร้าง Learning Process ขึ้นในสังคมไทย    เป็น Learning Process ว่าด้วยเรื่องระบบสุขภาพ ที่จะทำให้สังคมไทย อยู่ดี มีสุข   ไม่ใช่สังคมรุ่มร้อนตะเกียกตะกายแสวงหาวัตถุเพื่อบริโภคไม่รู้จักพอเพียง 

 
          กระบวนการเรียนรู้เรื่องระบบสุขภาพของสังคมไทย เป็นการเรียนรู้ที่ทวนกระแส    เพราะเวลานี้สังคมไทยกำลังถูกกระแสวัตถุนิยมทุนนิยมโลกาภิวัตน์พัดพาไปอย่างเชี่ยวกราก   กระบวนการจัดทำธรรมนูญฯ จึงเป็นการ “พายเรือทวนน้ำ” ที่กระแสน้ำเชี่ยวมาก   ฝีพายคงจะเหนื่อยแรงมาก   อาจพายไม่ไหว โดนกระแสน้ำพัดลอยตามกระแสไปด้วย 
          จึงต้องมีเครื่องมือผ่อนแรง หรือเสริมแรง    คือ KM เป็นเครื่องมือ 


          ความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับ ๑๒ ประเด็นในธรรมนูญฯ มีความลึก และความเชื่อมโยงมาก   คือเป็น tacit knowledge ๗๐ – ๘๐%   เป็น explicit knowledge เพียง ๒๐ – ๓๐% เท่านั้น    และแต่ละคนจะมีความเข้าใจแต่ละส่วน แต่ละด้าน ไม่เท่ากัน    การใช้เครื่องมือ KM ช่วยการเรียนรู้ จึงมีความสำคัญมาก


          เวลานี้มีคณะทำงานประมาณ ๑๐๐ คน กำลังช่วยกันยกร่างธรรมนูญฯ  และนำเอาร่างธรรมนูญฯ   ไปสื่อสารรับฟังความเห็นจากผู้คนมากมาย    ความรู้ ที่ได้จากกระบวนการเหล่านี้จะมีค่ายิ่งต่อการขับเคลื่อนระบบสุขภาวะของสังคมไทย


          แต่ความรู้ที่คนประมาณ ๑๐๐ คนที่ร่วมกันทำกระบวนการนี้   เป็น “สะเก็ดความรู้” ที่ฝังลึกอยู่ในแต่ละคน ที่เรียกว่าประสบการณ์   เมื่อใช้กระบวนการ KM นำเอาผู้มีประสบการณ์เหล่านี้มา ลปรร. กัน   ก็จะได้ “องค์ความรู้” เรื่องระบบสุขภาวะที่ลึกและเชื่อมโยง    องค์ความรู้นี้ ก็คือ extended version ของ ธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาตินั่นเอง


          สช. และ สวรส. ได้ขอให้ สคส. จัดเวที KM ๓ ครั้ง เพื่อให้คณะทำงาน ๓๐ คนมาทำกระบวนการ ลปรร. และสังเคราะห์ความรู้ดังกล่าว   คนที่มาร่วมเวทีจะได้การเรียนรู้ยกกำลังสอง    คือเรียนรู้เรื่องระบบสุขภาพ (ธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ)    และเรียนรู้กระบวนการ KM


          ผมเชื่อว่า คณะทำงาน ๓๐ คนที่เลือกจาก ๑๐๐ คนนี้   จะได้รับการติดอาวุธทางปัญญาปฏิบัติ ที่จะไปทำงานขับเคลื่อนระบบสุขภาวะของสังคมไทยได้อย่างสนุกสนาน   เพราะมี tool ในการทำ positive change   ที่เป็น change by learning คือเครื่องมือ KM ที่คุณอ้อมแห่ง สคส. เป็นหัวหน้าทีม   ผมเป็นเชียร์ ลีดเด้อร์ 


          KM คือเครื่องมือทำ change management โดยใช้ learning process แบบ share & learn

 

วิจารณ์ พานิช
๒๕ มิ.ย. ๕๑

            
               

หมายเลขบันทึก: 190323เขียนเมื่อ 25 มิถุนายน 2008 12:40 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 00:43 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

มีทั้งเชียร์ลีดเดอร์ มีทั้งหัวหน้าทีม คนเล่นงสนุกล่ะครับงานนี้

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท