KM (แนวปฏิบัติ) วันละคำ : ๕๓๖. จัดการความรู้โดยการลืม


 

          การเตรียมตัวออกแบบเวที KM เพื่อการจัดทำธรรมนูญระบบสุขภาพแห่งชาติ ของ สช. ทำให้ผมเกิดความคิดว่า    ในชีวิตของคนเรา เรามักตกอยู่ใต้ “ความรู้” มากมาย   ที่มีทั้งความรู้ที่เป็นหลักเป็นแก่น และมีทั้ง “ความรู้ขยะ”    และที่สำคัญในบางกรณีเจ้าความรู้ที่เรามีอยู่นั่นแหละที่เป็นตัวการกำหนดกรอบ    ใส่กรงขังจิตใจของเรา จนไม่สามารถคิดสร้างสรรค์ได้ 

  
          ความรู้ กลายเป็นอุปสรรคต่อการสร้างสรรค์  ถ้าเราไม่ระวัง


          สช. ทำงานมาหลายปี ในชื่อ สปรส.    และแนวความคิด หรือความรู้เกี่ยวกับธรรมนูญระบบสุขภาพแห่งชาติ ก็คิดกันมามาก   มีคนเกี่ยวข้องก็มากมาย จากทั่วประเทศ    สภาพอย่างนี้แหละที่เราอาจตกหลุมความรู้    หรือติดกรงขังความรู้


          ถ้าเราต้องการหลีกเลี่ยงกับดักนี้   ก็ต้องใช้ยุทธศาสตร์ “จัดการความรู้โดยการลืม”    คืออย่าไปเอาใจใส่มากนักว่าเคยพูดกันไว้ว่าอย่างไร    เช่นอย่าไปยึดติดกับรายการ ๑๒ วงเล็บ (องค์ประกอบ) ของธรรมนูญฯ   แต่หันมาชวนกันมองจากภาพใหญ่ ว่าเราอยากให้ระบบสุขภาพของประเทศไทยเป็นอย่างไร    และสภาพเช่นนั้น มีตัวอย่าง SS – Success Story เล็กๆ ที่ไหน เกิดขึ้นได้อย่างไร    เราอาจมองเห็น ธรรมนูญ ในมุมมองอื่นๆ ได้เพิ่มขึ้น


          และจะไม่ใช่มุมมองแบบ wishful thinking    เพราะมีตัวอย่าง SS เล็กๆ ให้ด้วย    จึงเป็นมุมมองแบบ action – oriented ตามแนว KM

 

 

วิจารณ์ พานิช
๓๐ มิ.ย. ๕๑

 

                    

หมายเลขบันทึก: 191354เขียนเมื่อ 30 มิถุนายน 2008 13:55 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 00:48 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

เรียนอาจารย์ที่เคารพ

เห็นด้วยกับอาจารย์หมอเป็นอย่างยิ่งคะ บางแห่งมักตีความตามตัวหนังสือและเถียงกันคำสองคำ ใช้เวลานานมาก ทำให้ลืมสาระหลักหรือเรื่องใหญ่ ๆ ไปเลยคะ เราตัองมองเชิงสร้างสรรค์และเคารพผู้อื่นด้วย  โดยเฉพาะการฟังให้มาก ๆด้วยคะ

เคยได้ยินท่านผู้รู้ท่านหนึ่ง กล่าวว่า "ความรู้คือพันธนาการ"

และส่วนใหญ่เราก็ยอมให้ความรู้ที่เรามีอยู่นั้น มาพันธนาการความคิดเรา

เคยมีซักครั้งหรือไม่..? ที่เรา คิดนอกขอบเขตของประสบการณ์และความรู้

ที่มีเขาเราได้

ท่านอาจารย์เห็นว่ามีวิธีการไหนหรือไม่ครับ ที่จะดึงเราออกจาก พันธนาการ

ของความรู้นั้นๆ

“จัดการความรู้โดยการลืม” นั่นหมายความถึง การปล่อยอาการยึดถือความรู้นั้น

ชั่วคราวใช่หรือไม่ครับ

ไอ้ที่อยากลืมแต่กลับจำ ไอ้ที่อยากจำกลับลืม มันคนละเรื่องเดียวกันไช่ไหมครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท