KM (แนวปฏิบัติ) วันละคำ : ๕๓๗. KM ถอดความรู้ว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ


 

 สช. มีเจ้าหน้าที่ และภาคี ร่วมทำกระบวนการเพื่อขับเคลื่อนระบบสุขภาพของประเทศไทยมายาวนานหลายปี    คนเหล่านี้มีจำนวนมากมาย   ที่เป็นแกนนำน่าจะกว่า ๑๐๐ คน


 คนเหล่านี้มี Tacit Knowledge เกี่ยวกับระบบสุขภาพ ในแง่มุมต่างๆ มากมาย


 สคส. รับทำงาน จัดกระบวนการ ลปรร. แบบ KM Workshop เพื่อให้ตัวแทนของท่านเหล่านี้ปล่อยความรู้ออกมาผ่านเรื่องเล่า    มีคุณอ้อม อุรพิณ เป็นหัวหน้าวิทยากร


 มีคุณหญิง นภินทร จัด “ทีมตะครุบความรู้” จาก KM Workshop   และจากการไปสัมภาษณ์ หรือทำ Focus Group รวบรวมความรู้ที่ได้เป็นหมวดหมู่ นำเสนออย่างมีชีวิต   ในรูปเอกสารและ multimedia


 เป็นตัวอย่างของการทำงาน KM เพื่อ Externalize & Articulate ความรู้เป็นหลัก


 จะประสบความสำเร็จมากน้อยแค่ไหน อยู่ที่กระบวนการนี้สามารถ “กระตุ้น” ให้ participants ปลดปล่อย “ความรู้” ส่วนที่อยู่ลึกๆ ออกมาได้มากแค่ไหน    และเมื่อปล่อยออกมาแล้ว เรารับรู้ได้แค่ไหน ตะครุบเอาไว้ได้แค่ไหน


 ความแตกต่างหลากหลาย และความมีสมาธิในช่วง workshop ของ participants มีความสำคัญมาก    ไม่ควรเลือก workshop participants ที่ไม่สามารถจัดเวลาของตนเองให้มีจิตว่างในช่วง workshop


 คนที่เข้าร่วม KM Workshop ๓ วัน ๒ คืน ควรมาด้วยความรู้สึกว่าตนได้รับโอกาส/ประโยชน์    ไม่ใช่เข้าร่วมเพราะถูกบังคับ    ไม่ใช่มาร่วมแบบหวังเอางานอื่นมาทำ   

 
 ความท้าทาย ต่อ สช. (และ สคส.) คือ    จะเชื่อมต่อผลงาน KM ชุดนี้   ไปยังการทำงานต่อเนื่องในอนาคต ของ สช. อย่างไร

 

 

วิจารณ์ พานิช
๑ ก.ค. ๕๑

 

                 
                    

หมายเลขบันทึก: 191601เขียนเมื่อ 1 กรกฎาคม 2008 14:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 00:49 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ขอเชิญชวนแกนหลักผู้จัดทำธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพที่สนใจเข้าร่วมเรียนรู้ร่วมกันด้วยครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท