KM (แนวปฏิบัติ) วันละคำ : ๕๓๘. ใช้ AAR ทำเหมือง


 

          คำว่า “ทำเหมือง” มาจากคำ Data Mining   หมายถึงขุดค้นหาความหมายหรือคุณค่าจากข้อมูล (Data)


          “ข้อมูล” ของผมในวันที่ ๒ ก.ค. ๕๑ คือเรื่องราว บรรยากาศ ผู้คน ฯลฯ ในการประชุม  ลปรร. R2R : เสริมพลัง สร้างสรรค์ และพัฒนา ของ สวรส. และภาคี    ผมใช้เครื่องมือ AAR ขุดค้นหาคุณค่าจาก “ข้อมูล” นี้


          เป็นการฝึกทำหน้าที่ CVO นั่นเอง    เพื่อส่งต่อให้ทีมของ สวรส. จัดการ “ถลุงแร่”
“แร่” หรือ ตัวคุณค่า ที่ผมค้นพบได้แก่

  ผู้บริหารองค์กร ที่เห็นคุณค่าของ R2R   และรู้จักใช้ R2R ในการบริหารงานของตน    ทำให้เกิด EE – Employee Engagement    เกิด Empowerment ไปสู่การรวมพลังเพื่อบรรลุวิสัยทัศน์ขององค์กร    มีใครบ้างอยู่ที่ไหน    ผมเว้นช่องว่างไว้ให้ทีมของ สวรส. เติม


  ทีมหรือเครือข่ายที่ไม่เป็นทางการ   ที่ร่วมกันทำงาน R2R อยู่แล้ว    มีความสำเร็จที่น่าชื่นชมอยู่แล้ว    ผมเว้นช่องว่างให้เติมอีก


  “คุณอำนวย” หรือพี่เลี้ยง นักจุดประกาย  สานฝัน  และเห็นคุณค่าของ R2R   ได้แก่ …..


  พี่เลี้ยง ด้านระเบียบวิธีวิจัย   ที่จะช่วยฝึกนักวิจัย R2R และช่วยเป็นโค้ช 

 
  “สำนัก” ด้านระเบียบวิธีวิจัย   ที่มีใจร่วมฝึกพี่เลี้ยงและนักวิจัย R2R


  ผลงานวิจัย R2R ที่เป็นผลสำเร็จขั้นต้นในระดับพัฒนางาน   ที่เมื่อจับกลุ่ม/เครือข่าย และใส่พี่เลี้ยงเข้าไป    จะเกิดผลงานวิจัยในระดับ Evidence-Based และมีคำอธิบายที่น่าเชื่อถือ หรือค้นพบหลักการ/ทฤษฎี ใหม่  

 

วิจารณ์ พานิช
๓ ก.ค. ๕๑

                           

คำสำคัญ (Tags): #510703#hsri#r2r#สวรส.
หมายเลขบันทึก: 191981เขียนเมื่อ 3 กรกฎาคม 2008 15:06 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 00:51 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท