R2R การดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย : ๒. พัฒนาทักษะการสื่อสาร


 

          จากการเข้าใจความรู้สึกของผู้ป่วยระยะสุดท้าย และของญาติมิตร    สู่การสื่อสารความรู้สึก สื่อสารอารมณ์ ที่เป็นการสื่อสารแบบ อวจนะ (non-verbal) เป็นส่วนใหญ่    เป็นทักษะสำคัญของผู้ให้บริการปฏิบัติรักษาผู้ป่วยด้วยหัวใจของความเป็นมนุษย์ (Humanized Health Care - HHC)   หรือระบบสุขภาพที่มีหัวใจของความเป็นมนุษย์


          ผมเห็นร่องรอยของ HHC ในกลุ่มนักวิจัยที้ง ๔๒ คน   และในชาวบ้านที่มาเป็น อาสาสมัครในโครงการวิจัยนี้  


          ไม่ว่ากิจกรรมใด   เราสามารถตีความออกมาเป็นเรื่องของการสื่อสาร (communication) ได้เสมอ   กิจกรรมการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย มีส่วนของการสื่อสารความรู้สึก สื่อสารอารมณ์ เป็นส่วนสำคัญ    เราจะทำความเข้าใจการสื่อสารชนิดนี้ จากการปฏิบัติจริงในเครือข่ายวิจัยเชิงคุณภาพ เรื่อง การดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย ที่พยาบาลของ รพ. แม่สอด ทำหน้าที่เป็น node ได้อย่างไร  


          ความคิดของผมย้อนกับไปหา KM ทันที    KM เป็นวิธียกระดับความรู้ผ่านการ ปฏิบัติ   เป็นวิธียกระดับความรู้โดยเปิดช่องให้ “ความรู้ไหลข้ามแดน”    ซึ่งในที่นี้คือแดนปฏิบัติกับแดนทฤษฎี    ดังนั้น ทีม “คุณอำนวย” R2R จะต้องจัดเวทีให้นักทฤษฎีด้านการสื่อสาร เข้ามาร่วมตีความปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น ในกระบวนการการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย ของทีมวิจัย   จดบันทึกความรู้ความเข้าใจเหล่านั้นไว้ เป็น “ข้อมูลเชิงคุณภาพ”    แล้วทีมวิจัยเอาความรู้ความเข้าใจเหล่านั้นไปตีความและใช้ปฏิบัติต่อ   ทำเช่นนี้หลายๆ รอบ   แล้วเอาข้อมูลเชิงคุณภาพเหล่านั้นมาวิเคราะห์ สังเคราะห์สรุป เปรียบเทียบและยกระดับทฤษฎีและวิธีปฏิบัติว่าด้วยการสื่อสารความรู้สึกและอารมณ์


          ผมคิดว่าจะเป็นผลงานวิจัย R2R ที่อาจเลื่อนระดับทฤษฎีว่าด้วยการสื่อสารความรู้สึกและอารมณ์ ทีเดียว    และอาจทำเป็นวิทยานิพนธ์ปริญญาโท หรือเอกก็ได้

วิจารณ์ พานิช
๑๒ ส.ค. ๕๑
วันแม่
             
                 
                               
     

การประชุมกลุ่ม กัลยาณมิตรของโรงพยาบาลมาร่วมให้ความเห็น เป็นการสร้างความรู้สึกเป็นเจ้าของโรงพยาบาล

 

คนซ้ายคือ นพ. โรจนศักดิ์ ทองคำเจริญ แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว ผู้ริเริ่มจุดประกายให้มีกิจกรรมการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย

 

หมายเลขบันทึก: 201074เขียนเมื่อ 15 สิงหาคม 2008 10:04 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 มิถุนายน 2012 00:38 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท