KM (แนวปฏิบัติ) วันละคำ : ๕๖๙. การจัดการความรู้โดยองค์กร อรูปนัย


          สมัยหนุ่มๆ ผมเคยอ่านหนังสือว่า องค์กรมีทั้งองค์กรที่เป็นทางการ   ที่เรียกว่าองค์กรรูปนัย   กับองค์กรที่ไม่เป็นทางการ  ที่เรียกว่าองค์กรอรูปนัย   ผู้รู้บอกว่า ภายในองค์กรมีทั้งส่วนที่เป็นรูปนัย และส่วนที่เป็นอรูปนัย

          มาได้เห็นเครือข่าย KM เบาหวาน จึงได้รู้จักองค์กร อรูปนัย ในอีกรูปแบบหนึ่ง    เป็น “องค์กร” ที่ไม่เป็นองค์กร    คือเป็น Network Organization   ไม่มีตัวตนขององค์กรอย่างแท้จริง    แต่มีการ organize กัน เพื่อร่วมกันทำงานอย่างใดอย่างหนึ่ง    ซึ่งในกรณีนี้คือวิธีดูแลผู้ป่วยเบาหวาน 

 
          องค์กรอรูปนัยแบบเครือข่าย KM เบาหวานเกิดได้ยากมาก   แต่เมื่อเกิดแล้วมีพลังอย่างยิ่ง    เพราะทุกคนมาด้วยใจ   สื่อสารกันแบบใจถึงใจ    ไม่มีเรื่องอำนาจหรือผลประโยชน์ส่วนตัวเข้ามาเกี่ยวข้อง   แต่มีผลประโยชน์ด้านการ ลปรร. เพื่อการบรรลุเป้าหมายการดูแลผู้ป่วยเบาหวานได้ดียิ่งขึ้น เป็นเครื่องรวมใจ


          เนื่องจากแต่ละ node อยู่ในต่างสภาพสังคม ต่างบริบทกัน   การมารวมตัวกัน ทำงานจัดมหกรรม KM เบาหวานจึงเป็นกระบวนการจัดการความรู้ไปในตัว    เป็นสุดยอดของกระบวนการจัดการความรู้

 

วิจารณ์ พานิช
๙ ก.ย. ๕๑

       
       

หมายเลขบันทึก: 208757เขียนเมื่อ 15 กันยายน 2008 09:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 20:04 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

เครือข่ายเบาหวานเกิดขึ้นได้เพราะอาจารย์วิจารณ์ชี้แนะ อาจารย์วิจารณ์และทีมงาน สคส.ได้ให้การสนับสนุนมาตั้งแต่ต้นและตลอดมา รูปแบบที่เป็นอยู่นี้เป็นไปเองโดยธรรมชาติ

เดิมเรารู้สึกแปลกๆ ที่ไม่มีโครงสร้างไม่มีอะไรเหมือนองค์กรอื่น เมื่อปีที่แล้วอาจารย์ปาด (รร.เพลินพัฒนา) บอกว่าเครือข่ายแบบเราเป็น "องค์กรไร้ตัวตน" เราจึงมีคำอธิบายให้กับผู้อื่นได้บ้าง และด้วยบันทึกของอาจารย์วิจารณ์ข้างต้น ดิฉันเชื่อว่าเสริมให้แกนนำและสมาชิกเครือข่ายของเราภาคภูมิใจยิ่งขึ้นค่ะ

ผมเคยคิดนะครับว่า บางสิ่งที่เราทำอยู่แล้ว ถ้าเป็นเรื่องดี มีผลลัพท์ และยั่งยืนต่อเนื่อง ไม่ว่าจะทำอะไร ซักวันจะมีคนบัญญัติศัพท์มาเรียกเองแหละ

แม้แต่การทำ KM ผมว่ามันมีอยู่แล้วนะครับ มากบ้างน้อยบ้าง แต่พอมีคนมามอง แล้วเรียกว่านี่แหละ KM บางที่....ถึงกับร้อง อ้อ ......KM

เครือข่าย KM เบาหวาน เริ่มต้นจากการแลกเปลี่ยนถ่ายทอดความรู้ปฏิบัติ แล้วก็ติดตามต่อเนื่องมาด้วยการถ่ายทอดความรู้สึกที่สื่อถึงกัน โชคดีนะครับอาจารย์ ที่ความรู้สึกนั้นเป็นความรู้สึกแห่งความปรารถนาดีที่ต่างคนต่างต้องการดูแลผู้ป่วยเบาหวานของเราให้มีชีวิตอยู่ได้อย่างปรกติสุข ได้อ่านบันทึกของอาจารย์บันทึกนี้ รู้สึกภูมิใจกับคำว่า องค์กรอรูปนัยครับ ขอบคุณอาจารย์มากครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท