KM (แนวปฏิบัติ) วันละคำ : 591. KM ระบบบริการสุขภาพปฐมภูมิ


มีหลักอยู่อย่างหนึ่ง อะไรที่มั่วๆ ควรเอา KM เข้าไปจับ   เรื่อง Primary Health Care (PHC) ซึ่งเป็นหัวใจอย่างหนึ่งของการพัฒนาระบบบริการสุขภาพให้ทั่วถึง    มันสำคัญมากเสียจนในระดับการทำงานมีการริเริ่มสร้างโมเดลต่างๆ อย่างน่าชื่นใจ และน่าสับสน    เมื่อสับสน KM ก็จะเป็นเครื่องมือสำคัญในการสร้างความชัดเจน (หรืออาจช่วยให้ยิ่งสับสนยิ่งขึ้น) 

วันที่ ๒ ต.ค. ๕๑ ผมจึงโดน สวรส. อุปโลกน์ ให้ไปทำหน้าที่ประธานการประชุมเตรียมการณ์การจัด Primary Care Symposium & Expo   

หัวปลา ไม่ใช่การทำความเข้าใจ PHC    แต่เป็นการหาวิธีดำเนินการเพื่อ สุขภาวะของผู้คนในพื้นที่/ท้องถิ่น   โดยการดำเนินการอย่างเป็นองค์รวม โดยชุมชนมีบทบาทสำคัญ    

ที่จริง ความมั่ว คือภาพของ Complex Adaptive Systems    ที่เป็น Mental Model ในการเดินเรื่อง KM   ซึ่งต้องเดินเรื่องผ่านเรื่องจริง ผ่าน storytelling    เพื่อให้เรื่องที่ยาก (และมั่ว) มีรูปธรรมของความสำเร็จ สำหรับเป็นพลังขับเคลื่อน    และ นพ. โกมาตร ผู้ออกแบบการประชุม Symposium & Expo ก็ใช้หลากหลายเครื่องมือ KM ในการเตรียมการ และในการจัดกิจกรรมในการประชุม  

การประชุมวันนี้มีเป้าหมายสู่ Community Health Symposium & Expo  หรือ มหกรรมสุขภาพชุมชน  ซึ่งจะจัดวันที่ ๑๘ ๒๐ ก.พ. ๕๒  ที่ศูนย์ประชุมอิมแพ็ค เมืองทองธานี  สำหรับเป็น เครื่องมือผลักดันนโยบาย   สำหรับนำไปดำเนินการต่อเนื่อง    ซึ่งผมมองว่าเครื่องมืออย่างหนึ่งคือ KM

ตกลง KM เป็นเครื่องมือของ ระบบสุขภาพชุมชน ได้แน่นอน   โดยเน้น SSS (Success Story Sharing) จากหลากหลายมุมมองและมุมทำ    ช่วยกันหาความหมายหรือทฤษฎี จากเรื่องราวของความสำเร็จนั้น โดยกิจกรรม AAR    และช่วยกันทำ BAR สำหรับการดำเนินการสุขภาพชุมชนในอนาคต

 

ต่อไปนี้เป็นบันทึกใน กระดาษทดระหว่างกรประชุมของผม

 

พระสอน ผีบ้าตีกลองยาว

Holistic

พึ่งตนเอง

ชช. ในพื้นที่เป็นหลัก   บ้านจำรุง ระยอง หมู่บ้านพลังสุขภาพ ชช. (ผญ. ชาติชาย เหลืองเจริญ)  

ก้าวออกนอกเขตจำกัดกระทรวงฯ   สุขภาพชุมชน

การเรียนการสอน   เวที BP  

ความร่วมมือกับท้องถิ่น   อสม. เข้าไปอยู่กับ ทถ. มีการทำงานเป็นทีม ไม่ใช่ปัจเจก    อบจ. ให้ทุนสนับสนุน     

มิติประวัติศาสตร์

มิติการเงิน

มิติการกระจายอำนาจ  ถ่ายโอน 

มิติความเป็นตัวตนของคนในพื้นที่   การยอมรับ ให้กำลังใจ   การมีเวที ลปรร. สู่ภาพกว้าง  

สอ./PCU กับบริการปฐมภูมิ   และภารกิจสนองส่วนบน   กับการมีโอกาสเข้าร่วมประชุม

สมัชชาสุขภาพ 

อสม. รุ่นเก่า จิตอาสา    รุ่นใหม่จิตอาสาจางลง    มีส่วนร่วมการเมืองมากขึ้น  

ความแตกต่างหลากหลายของพื้นที่ เช่นที่ อ แม่สะเรียง  จ แม่ฮ่องสอน   โสภาพรรณ

ภาพระบบบริการปฐมภูมิที่ควรจะเป็น  ทีผู้ให้บริการมีความสุข

สถาบันสธอาเซียน เอาไปสอน เผยแพร่ในอาเซียน

ทักษะการบริหาร PC

ประชุม   ผ่านตัวอย่างจริง   ปลุกเร้าอุดมการณ์ (สร้างเสริมวิชาการ    สร้างสรรค์นวัตกรรม)   และผลักดันนโยบาย   

ใช้การประกวดเป็นพลังการมีส่วนร่วม

ระบบสุขภาพท้องถิ่น อยู่ในหลายเวที

 

วิจารณ์ พานิช

๖ ต.ค. ๕๑

หมายเลขบันทึก: 216640เขียนเมื่อ 15 ตุลาคม 2008 07:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 02:45 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท