KM (แนวปฏิบัติ) วันละคำ : 594. KM การจัดการ ICT เพื่อเยาวชน


วันที่ ๗ ต.. ๕๑ ผมไปร่วมกิจกรรม KM การจัดการ ICT เพื่อประโยชน์ต่อการพูนพลังเยาวชน (Youth Empowerment) ที่ห้องประชุมมหิศร SCB Park Plaza    โดยเป็นเวทีเครือข่ายภาคีพูนพลังเยาวชน ครั้งที่ ๕    ในหัวข้อ เด็กหัวใส...ฉลาดใช้ ไอซีที จัดโดยทีมของสถาบันเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล

กิจกรรม KM เป็นเรื่องของการ capture ความรู้จากการปฏิบัติ และการ ลปรร.   แล้วเอาความรู้ที่ capture ได้ ไปปฏิบัติ    วนเวียนเรื่อยไปไม่รู้จบ

วันนี้เป็น KM ของการฉลาดใช้ ICT เพื่อการพัฒนาเยาวชน    โดยเรามี คุณกิจ ถึง ๕ กลุ่ม มาตั้งวง ลปรร. กัน    ได้แก่วง  () คนทำเกม  () เว็บไซต์เพื่อการเรียนรู้  () พื้นที่เข้าถึงไอซีทีเชิงสร้างสรรค์  () เด็กฉลาดใช้ ไอซีที  () ผู้ใหญ่ใส่ใจ ไอซีที

หมอพรรณพิมล หล่อตระกูล ผอ. สถาบันราชานุกูล เล่าความประทับใจจากการไปดูงานการจัดการ ไอซีที ที่ประเทศเกาหลี    ว่าเขาถือว่า ไอซีที เป็นวัฒนธรรม เป็นวิถีชีวิต   จึงต้องมีการจัดการเพื่อให้คนในสังคมได้รับประโยชน์ ไม่เกิดโทษ

ผมไปเข้าวงกลุ่มย่อยที่ ๔ คือวงเด็กและเยาวชน   ได้เห็นพลังสร้างสรรค์ของเยาวชน ในการใช้ ไอซีที เป็นเครื่องมือในการปลดปล่อยพลังสร้างสรรค์ของตนออกมา    และในการสร้างชุมชน (CoP – Community of Practice) ของคนที่สนใจการใช้ ไอซีที เพื่อเป้าหมายเดียวกัน  

ผมได้รู้จักชุมชนคนทำหนังสั้น กลุ่ม thirdclasscitizen ที่ใช้ บล็อก เป็นช่องทางประชาสัมพันธ์    ใช้สถานที่สำนักงานนิตยสาร ไบโอสโคป เป็นที่จัดฉายหนังและ ลปรร. ระหว่างคนทำหนังด้วยกัน และ ลปรร. กับผู้ชม    ผมเห็นร่องรอยการใช้ KM ในชมรมหรือชุมชนนี้   

ผมได้รู้จักคุณคันฉัตร รังษีกาญจน์ส่อง บล็อกเก้อร์ นักวิจารณ์หนังชื่อดัง   ผู้ผันตัวเองจากนักเศรษฐศาสตร์ มาเป็นนักเขียนในนิตยสาร ไบโอสโคป, ฟิ้ว  และใน บล็อก

ที่ผมประทับใจมากคือ ทีมนักเรียน ม. ปลายจากชลบุรี (ฟังชื่อโรงเรียนไม่ทัน) คือน้องเบ๊นซ์ กับเพื่อนอีก ๒ คน   ที่ได้รับการปลุกปั่นจาก ท่านมหาพงศ์นรินทร์ ฐิตวังโส (วัดสุทัศน์)    ให้เข้าแข่งขันการประกวดโครงการคุณธรรมเฉลิมพระเกียรติ และได้รับรางวัล   จากการทำหนังสั้น รณรงค์ให้คนรักสัตว์ โดยใช้สุนัขเป็นพิธีกร

อีกทีมหนึ่ง จาก รร. กรุงเทพคริสเตียน ทำหนังสั้นเพื่อรณรงค์ความเป็นอยู่ที่ดีภายในโรงเรียน   ได้แก่รณรงค์เรื่องขยะ  เรื่องการขีดเขียนในห้องน้ำ    ผมได้เห็นว่า ไอซีที เป็นเครื่องมือในการแสดงออกด้านความสร้างสรรค์ จินตนาการ ของเยาวชน   เพื่อสื่อสารออกมา    เยาวชนมีพลังขับดันภายในที่ต้องการสื่อสารกับสังคม กับผู้ใหญ่    การทำหนังสั้น จึงเป็นเครื่องมือของการแสดงออก และการสื่อสารที่ดี

การประชุมเครือข่ายภาคีพูนพลังเยาวชน ออกแบบการประชุม ลปรร. โดยใช้ KM    เครื่องมือหลักคือเวที SSS (Success Story Sharing)   เนื่องจากหัวข้อของการประชุมคือ เยาวชนกับไอซีที   ทีมผู้จัดการประชุม (ทีมอาจารย์โก๋) จึงไปหาเยาวชนที่มี SS ในการใช้ ไอซีทีอย่างสร้างสรรค์ มา ลปรร. กัน   ทีมนี้มีเครือข่ายเยาวชน และผู้ส่งเสริมเยาวชน กว้างขวาง    จึงไปหาทีมเยาวชน และผู้ส่งเสริม มาตั้งวง SSS กัน ๕ กลุ่มดังข้างต้น  

เวที SSS เป็นเวทีไม่รู้จบ   คือจากเวที SSS สมาชิกก็จะปิ๊งวิธีการบางอย่างเอาไปปรับใช้    และกลับมา ลปรร. กันอีก   ที่ดีที่สุดคือ ลปรร. กันเองโดยไม่ต้องมีใครจัดเวทีให้   เราหวังที่จะให้เครือข่าย ICT กับเยาวชน เป็นเครือข่าย SSS ที่มีชีวิต   มีกิจกรรมกันเอง หมุนเวียนเป็นวัฏฏจักรต่อเนื่อง

 

วิจารณ์ พานิช

๙ ต.. ๕๑

1. จากซ้าย คุณเปา, อ.ขจิต หน้าตาดี

มะปรางเปรี้ยว, อ.โก๋, วิจารณ์ , พญ.พรรณพิมล

 

 

 

2. วิธีลงทะเบียนแบบใหม่ ใช้ ICT

 

 

3. บรรยากาศในห้องประชุมใหญ่

4. บรรยากาศในห้องประชุมกลุ่มย่อย กลุ่มเยาวชน

 

5. ทีมนักทำหนังสั้น รณรงค์ให้คนรักสัตว์โดยใช้ สุนัขเป็นพิธีกร จากชลบุรี

 

6. ผู้ชายสวมเสื้อขาว คอปก สีเทาสองคน คือทีม จาก รร.กรุงเทพคริสเตียน

ทำหนังสั้นรณรงค์ชีวิตความเป็นอยู่ใน รร.

 

 

 7. พบหลานสาว นส.นุชนาถ  พานิช สายตระกูล ศ.นพ. วิจิตร พานิช

หมายเลขบันทึก: 217671เขียนเมื่อ 20 ตุลาคม 2008 07:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 19:44 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท