KM (แนวปฏิบัติ) วันละคำ : 37. ศักยภาพ


• ศักยภาพ (potential) เป็นสิ่งที่ยืดได้ หดได้
• มนุษย์เรามีศักยภาพไม่เหมือนกัน   มีเด่นมีด้อยกันคนละด้านสองด้าน
• ศักยภาพในมุมมองหนึ่งคือความถนัด หรือ “แวว” 
• KM ใช้แนวคิดเชิงบวก ต่อ “แวว” ของคนที่ไม่เหมือนกัน 
• ในภาษา KM “แวว” หรือพรสวรรค์ ถือเป็น “ความรู้” อย่างหนึ่ง   เพราะนำมาใช้งานหรือใช้ประโยชน์ได้ 
• กระบวนการ KM ทำให้ศักยภาพของคนเพิ่มขึ้น แม้ในผู้สูงอายุ   เพราะกระบวนการ KM กระตุ้นสมอง   และฝึกให้คนตื่นตัวอยู่ตลอดเวลา   
• การจดบันทึก   การฟังอย่างตั้งใจ (deep listening) การเล่าเรื่อง (storytelling) สุนทรียสนทนา (dialogue)  เป็นตัวกระตุ้นศักยภาพ


 
วิจารณ์ พานิช
๑๖ มีค. ๔๙

คำสำคัญ (Tags): #เครื่องมือ#km
หมายเลขบันทึก: 21860เขียนเมื่อ 31 มีนาคม 2006 09:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 16:29 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)
คงจริงเหมือนที่อาจารย์สอนค่ะ   เพราะรู้สึกว่าทำอะไรได้เองเพิ่มขึ้น    ขอบพระคุณในความรู้ที่อาจารย์ถ่ายทอดให้ค่ะ
อยากทราบความหมายของ  ศักยภาพทางการตลาด  หมายถึงอะไร

ความหมายของคำว่า "ศักยภาพตลาด" หมายถึง จำนวนผลิตภัณฑ์ หรือบริการที่จะมีการใช้ภายในขอบเขตทางภูมิศาสตร์ เช่น ภายในจังหวัด ภายในประเทศ ภายในทวีป หรือภายในโลก ศักยภาพตลาด ในอุดมคติ คือ ประชาชนในเขตทางภูมิศาสตร์ทุกคนใช้ผลิตภัณฑ์ หรือบริการประเภทเดียวกันนั้นหมดทุกคน

 

ทั้งโลกมีผู้ใช้โทรศัพท์มือถือรวมกันประมาณ 270 ล้านราย หากเปรียบเทียบกับประชากรทั่วโลกแล้ว ศักยภาพตลาดโทรศัพท์มือถือยังมีอีกมาก อย่างไรก็ตาม หากแยกแยะลงไปรายประเทศแล้ว จะพบว่า บางประเทศจำนวนโทรศัพท์มือถือเกือบจะเท่าจำนวนประชากรในประเทศนั้น ตัวอย่างเช่น ญี่ปุ่น ฮ่องกง สิงคโปร์ และเกาหลี เป็นต้น ในเชิงการตลาด หมายความว่า ความต้องการใช้บริการในประเทศดังกล่าว เกือบถึงจุดอิ่มตัว คือ เกือบเต็มศักยภาพ ยุทธวิธีในการดำเนินกิจการทางการตลาดจะเน้นในเรื่อง ของการขายผลิตภัณฑ์ทดแทนผลิตภัณฑ์ที่ผู้ใช้กำลังใช้อยู่ ด้วยการออกบริการใหม่ออกมา หากผู้บริโภคต้องการใช้บริการใหม่ที่ทันสมัย จะต้องเปลี่ยนเครื่องใหม่ จะเห็นได้ว่า ผู้ให้บริการและผู้ผลิตโทรศัพท์มือถือในญี่ปุ่น โดยจะเน้นถึงเทคโนโลยีใหม่อยู่เสมอ ในขณะนี้ก็มี เจโฟน (J Phone) ที่สามารถซึ่งภาพผ่านโทรศัพท์มือถือได้ และข้างๆ กล้องส่งภาพยังมีแผ่นกระจกไว้แต่งหน้าแต่งตา ให้ดูดีก่อนส่งภาพออกไป เช่น กันในฮ่องกง แฮนด์สปริง เลือกแนะนำมือถือรุ่นใหม่ ทรีโอ (Threo) ที่ภายในเครื่องจะเป็นทั้งโทรศัพท์ อุปกรณ์ช่วยส่วนตัว หรือ พีดีเอ (PDA) และเครื่องเรียกตามตัว (Pager) ิเข้าไว้ด้วยกัน โดยหวัง ชาวฮ่องกงจะยอมเปลี่ยนมาใช้เครื่องใหม่ที่ทันสมัยมากกว่า

 

ส่วนประเทศอื่นๆ ในทวีปเอเชียด้วยกัน หากนับจำนวนรายผู้ใช้โทรศัพท์มือถือแล้ว ประเทศจีนจะมีผู้ใช้โทรศัพท์มือถือมากที่สุด คือ ประมาณ 150 ล้านรายในปี พ.. 2544 และคาดว่าจะมีผู้ใช้ในปี พ.. 2545 มากกว่า 200 ล้านราย และหากเมื่อเทียบกับจำนวนประชากรแล้ว ศักยภาพการใช้โทรศัพท์มือถือยังมีสูงมาก เช่นเดียวกันกับอินเดีย อินโดนีเซีย และเวียดนาม ที่ตลาดมีขนาดใหญ่มากแต่การใช้ยังน้อยอยู่ อย่างไรก็ตาม นักการตลาดจะมองเพียงศักยภาพตลาดเพียงอย่างเดียวไม่ได้ จะต้องมองปัจจัยอื่นๆ เช่น รายได้ของประชากรที่จะมีความสามารถ หรือมีกำลังซื้อที่นักการตลาดจะต้องแบ่งตลาดย่อมลงไปอีก ก่อนดำเนินกิจกรรมทางการตลาดให้ตรงกลุ่มเป้าหมาย ประเทศที่จะนำมาเปรียบเทียบกับไทยในโอกาสนี้คือ ฟิลิปปินส์ ที่จำนวนผู้ใช้โทรศัพท์มือถือมีมากกว่าไทย แต่หากเทียบกับจำนวนเครื่องกับประชากร ต่อ 100 คน แล้ว ขนาดของตลาดไทยกับฟิลิปปินส์จะใกล้เคียงกัน ความแตกต่างก็คือ ในฟิลิปปินส์นิยมใช้แบบจ่ายล่วงหน้า (Prepaid) มากเกินกว่า 90 เปอร์เซ็นต์ของจำนวนโทรศัพท์มือถือทั้งหมด

 

โดยหากว่าจะเทียบกับกำลังซื้อแล้ว กำลังซื้อของชาวฟิลิปปินส์จะต่ำกว่าไทยพอสมควร ทำไมชาวฟิลิปปินส์จึงนิยมการใช้โทรศัพท์มือถือคือ สภาพทางภูมิศาสตร์ที่เป็นเกาะจำนวนมาก จำนวนโทรศัพท์บ้านหรือตามสายจะมีจำกัด พฤติกรรมของชาวฟิลิปปินส์มีอีกอย่างคือ ชอบพูดหรือชอบสั่งสาร (comminicati) และการศึกษาของฟิลิปปินส์ ใช้ภาษาอังกฤษเป็นฐาน การใช้โทรศัพท์มือถือของฟิลิปปินส์จะนิยมใช้ส่งข้อความสั้นๆ และสามารถทำได้ง่ายจากแป้นโทรศัพท์ในปัจจุบันที่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นฐาน ทำให้โทรศัพท์มือถือได้รับความนิยมเป็นอย่างสูงในหมู่วัยรุ่นและวัยเริ่มทำงาน ที่ใช้โทรศัพท์มือถือเป็นเครื่องมือเครื่องหมาย บอกรัก งอนง้อกัน เป็นต้น

 

ความนิยมของโทรศัพท์มือถือในประเทศไทยยังเป็นเพียง "แบบอย่างการดำเนินชีวิต" หรือ Life Style เท่านั้น เนื่องจากขีดจำกัดของเครื่องในการใช้ภาษาไทย หรือในทางกลับกัน ที่คนไทยมีขีดจำกัดในการใช้ภาษาอังกฤษ ยุทธวิธีของผู้ขายโทรศัพท์มือถือ และผู้ผลิต คงจะต้องเน้นรูปแบบทันสมัย มากกว่า บริการ และที่สำคัญคือ การส่งเสริมการขายที่จะต้องมีอย่างต่อเนื่อง และเปลี่ยนเงื่อนไขใหม่ให้ทันสมัยอยู่เสมอ

 

 

ที่มา : กรุงเทพธุรกิจ (กรุงเทพไอที) ฉบับวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2545

ศักยภาพทางการตลาด หมายถึงส่วนแบ่งตลาด โครงสร้างรายได้ ช่องทางการจำหน่าย การจัดหาสินค้า กลุ่มลูกค้าเป้าหมาย และแนวทางการขยายฐานตลาด

จากข้อมูลที่ตลาดหลักทรัพย์ขอให้ SINGHAชี้แจงข้อมูลเพิ่มเติม

Monday, 31 October 2005 11:32

iKnow ไอโนว์ => ตลาดความรู้ออนไลน์ 24 ชั่วโมง เป็นแหล่งรวบรวมข่าวสารออนไลน์จากกว่า 30 สำนักข่าวชั้นนำทั่วไทย อัพเดทข้อมูลล่าสุดทุกวันตลอด 24 ชม. ด้วยเทคโนโลยี RSS (Really Simple Syndicate) เพียงเปิดเว็บไอโนว์เว็บเดียวเท่านั้น ไม่ต้องเสียเวลาเปิดเว็บข่าวหลายๆเว็บ สะดวก รวดเร็ว รอบรู้ ทันข่าว ทันเหตุการณ์ตลอดเวลา รีบคลิกไปที่ http://www.tarad.com/iknow/index.php?lang=th

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท