KM (แนวปฏิบัติ) วันละคำ : 608. KM กับ Peer Learning


คนที่ทำงานอย่างเดียวกัน  ทำงานร่วมกัน  หรืออยู่ในอาชีพเดียวกัน  หรือเรียนด้วยกัน เรียกว่า peer    ผมเคยแปลว่า สหาย   ผมเคยใช้คำ วิทยสหาย กับ peer ทางวิชาการ

 

หลักสูตรการเรียนรู้สมัยใหม่ มีการ ลปรร. ระหว่างผู้เรียนด้วยกันมากขึ้น    คือเรียนโดยการอภิปรายในชั้นเรียน    โดยการยกกรณีศึกษามาอภิปรายทำความเข้าใจทฤษฎีที่อธิบายปรากฏการณ์จริง    ที่เรียกว่า CBS – Case-Based Studies   การเรียรู้แบบนี้มีลักษณะเป็น Peer Learning หรือการ ลปรร. ระหว่าง peer   เอาประสบการณ์ตรงของ peer เข้ามาในวง ลปรร. ด้วย  

 

Peer Learning ไม่จำเป็นต้องทำผ่านหลักสูตร    แต่ควรทำผ่านการปฏิบัติงานประจำ    และที่จริงในวงการวิทยาศาสตร์สุขภาพเราใช้ PL ในงานประจำอยู่แล้ว    แต่เราคุ้นเคยกับการทำ PL ด้วยการอภิปราย (discussion) เป็นหลัก    หากมีการเอาวิธีการ ลปรร. PL ด้วย สุนทรียสนทนา (dialogue) เข้าไปเสริม   PL จะยิ่งทรงพลัง สร้างการเรียนรู้ในมิติที่ลึกและเชื่อมโยง

 

วิจารณ์ พานิช

๒๗ ต.ค. ๕๑

บนเครื่องบินการบินไทย ไปมิลาน

หมายเลขบันทึก: 222564เขียนเมื่อ 13 พฤศจิกายน 2008 08:09 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 23:54 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

-สังคมครูต้องเพิ่ม peer Learning

-การลปรร.ในโรงเรียนขนาด เล็กและ ขนาดกลาง ทำได้เพียงกับเพื่อนในรรที่มีความแตกต่างในเนื้องานที่รับผิดชอบ  เป็นการรับรู้มาก กว่าลปรร ต่างกับรรขนาดใหญ่

-หากนำKM มาใช้ในรรขนาดเล็ก และกลาง  ลปรรน่าจะช่วยให้เกิดประโยชน์ต่อการเรียนรู้และต่อยอดได้ดี

-ขอบคุณค่ะ

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท