ชีวิตที่พอเพียง : 629. ตามเสด็จทัศนศึกษาสมเด็จพระเทพรัตน์ฯ ๒๕๕๑ – ๒


๒๖ ต.. ๕๑

 

พระตำหนักภูพานราชนิเวศน์ 

แม้ว่าเมื่อคืนเรานอนดึกมาก   หมออมรากับผมก็รีบตื่นแต่เช้าแล้วออกไปเดินชมสวนภายในบริเวณพระตำหนัก   ซึ่งเปิดให้คนทั่วไปเข้าชมได้   แต่เราอยู่ไกล เพิ่งมีโอกาส ได้ชมอย่างเต็มอิ่ม   โดยมีคุณอนันตสิทธิ์ ซามาตย์ หัวหน้าผู้ดูแลพระตำหนักพาชม   คุณอนันตสิทธิ์ บอกว่า สมเด็จพระเทพรัตน์ฯ รับสั่งให้มารอพาแขกที่ตื่นเช้าไปชม   โชคดีมากที่เราได้ใช้บริการนี้   และแขกรอบหลังมี ศ. นพ. จิตร สิทธีอมร, . นพ. รัชตะ รัชตะนาวิน เป็นต้น

เรารีบกลับมากินอาหารเช้า   ซึ่งจัดทั้งอาหารหลักแบบตะวันตก   กับอาหารแบบไทยๆ   อาหารอร่อยมาก แต่เราก็ไม่กินมาก เพราะรู้ว่าตอนไปชมจุดต่างๆ จะได้รับเลี้ยงของพื้นเมืองอร่อยๆ เสมอ

 

ศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพาน อันเนื่องมาจากพระราชดำริ  . เมืองสกลนคร

เรานั่งรถบัสทหารที่เขาจัดถวาย เวียนชมบริเวณสวนป่ารอบพระตำหนัก   ก่อนจะเดินทางไปศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพานฯ    ซึ่งอยู่ห่างออกไปเพียง ๗ ก..   ท่านองคมนตรี ดร. อำพล เสนาณรงค์ มาต้อนรับและกล่าวรายงานกิจการ ที่อาคารเทอดพระเกียรติ ๘๐ พรรษา   ว่าศูนย์ศึกษาฯ เป็นสถานที่วิจัยสร้างความรู้สำหรับการทำมาหากินของชาวบ้าน   แล้วเปิดให้ชาวบ้านเข้ามาเรียนรู้   เป็น one stop service  

หลังจากนั้น สมเด็จพระเทพรัตน์ฯ ทรงบรรยายแนะนำสถานที่ที่จะทรงนำคณะกรรมการรางวัลนานาชาติฯ ไปเยี่ยมชมในปีต่อไป คือไปภาคใต้   ระหว่างนี้ผมได้ถ่ายรูปที่ผมภูมิใจที่สุด   เพราะผมยืนอยู่ตรงจุดที่เหมาะซูมภาพได้พอดี

เมื่อเดินเข้าไปบริเวณที่ใช้กล่าวรายงาน ก็พบต้นยางนา อายุ ๓๐๐ ปี ที่โดนฟ้าผ่าล้ม   เขาจึงชลอส่วนโคน (วัดรอบวงได้ ๗ เมตร)  และลำต้นส่วนหนึ่งยาว ๑๙ เมตรมาจัดแสดง    เป็นจุดเด่นของบริเวณ

หลังจากนั้น เขาจัดรถแบบรถนำเที่ยว (ในสูจิบัตรเขาเรียกรถพ่วง) ขับชมรอบบริเวณซึ่งกว้างขวางมาก   โดยมีรถสามล้อถีบนำ ๓ คัน   เป็นบริเวณทดลองปลูกข้าว  พืชสวนชนิดต่างๆ จากหลายภาคของประเทศ   เช่นยางพารา  มังคุด  ส้มโอท่าข่อย (พิจิตร) พืชสมุนไพร   บริเวณทดลองเลี้ยงปลาในกระชัง   เลี้ยงปลานอกกระชัง   บริเวณเลี้ยงไก่ดำ  หมูดำเหมยซาน  และโคเนื้อสีดำพันธุ์ ทาจิมะภูพาน   เลี้ยงกวางรูซ่า เอาเขาอ่อนทำยาบำรุงพลังเพศ   บริเวณศึกษาวิธีบำรุงดิน เช้นบำรุงดินด้วยการปลูกถั่วหลากหลายชนิด 

ไปสิ้นสุดที่สำนักงาน   ซึ่งที่บริเวณมีการแสดงการทำ ข้าวฮาง   เป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นในการเอาข้าวเปลือกที่ยังไม่แก่จัด   เก็บมาแช่น้ำ ๑ คืน และนึ่งจนเปลือกแตก แล้วจึงเอาไปสี    ได้ข้าว ที่รสดีและบำรุง   ตรวจพบ GABA – Gamma-acetyl butyric acid   ที่บริเวณจัดแสดงนี้ มีอาหารว่าง และมีน้ำสมุนไพรหลากชนิดให้ดื่ม   รวมทั้งไอสกรีม

 

ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง ตามแนวพระราชดำริ อ่างเก็บน้ำห้วยปุ๊  . เมืองสกลนคร

จากศูนย์ศึกษาการพัฒนาฯ จะมีชาวบ้านที่ได้เรียนรู้จนสามารถเอามาประยุกต์ใช้ทำมาหากินได้อย่างสบาย    ตามแนวทางทฤษฎีใหม่   และมีชีวิตตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง   ก็จะมีการจัดทำเป็นศูนย์เรียนรู้สำหรับคนทั่วไป    ศูนย์นี้อยู่ห่างจากศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพานฯ ๒๔ ก..   เรานั่งรถบัสทหารคันเดิมไป ๒๔ ก..  

ศูนย์เรียนรู้ฯ นี้ เป็นบ้านของนายขวัญใจ แก้วหาวงศ์ ชาวบ้านที่เรียนจบแค่ ป.   แต่ได้ทดลองทำกินบนที่ดิน ๒๐ ไร่ตามแนวทางเกษตรทฤษฎีใหม่ และเศรษฐกิจพอเพียงจนมีชีวิตที่สุขสบาย    จึงได้รับการส่งเสริมให้เป็นศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง   มีคุณขวัญใจเองเป็นวิทยากร   คนที่มาเรียนรู้มีทั่วไป    มาทุกสัปดาห์ บางครั้งหลายสิบคน   จัดมาโดย ธกส. ในโครงการปลดหนี้    มาครั้งละ ๒ ๓ ชั่วโมง    ผมนึกในใจว่า ถ้า ธกส. รู้จักใช้ KM โดยเฉพาะเครื่องมือ peer assist (เพื่อนช่วยเพื่อน) ก็จะทำให้การดูงานได้ผลมากขึ้นหลายเท่า

มีเจ้าหน้าที่สรุปการดำเนินการของศูนย์ และตอบคำถาม เป็นภาษาอังกฤษที่สำเนียงดีน่าชมเชย   เราชมโรงเพาะเห็ด โรงเลี้ยงจิ้งหรีด   และชิมจิ้งหรีดนึ่ง กับข้าวเหนียว และของว่างอื่นๆ จนแน่นท้อง

แล้วจึงขึ้นรถไป ๒๒ ก.. ไปยังจุดต่อไป คือ 

 

ฟาร์มตัวอย่างหนองหมากเฒ่า ตามพระราชดำริ  . เมืองสกลนคร

เป็นฟาร์มปลูกพืช เลี้ยงสัตว์ด้วยชีววิธี   มีนิทรรศการผลผลิต และสาธิตวิธีการจับปลาในหนอง ซึ่งเป็นหนองน้ำขนาดใหญ่มาก   ไปชมโรงบรรจุผลิตภัณฑ์    แล้วนั่งรถพ่วงไปร้านอาหารที่ปรุงจากผลผลิตภายในฟาร์ม   อาหารอร่อยมาก   เราได้ประจักษ์แจ้งโดยการกิน ว่าผลิตภัณฑ์จากฟาร์มตัวอย่างนี้ คุณภาพสูงจริงๆ  

 

จากนั้นขึ้นรถบัสไป ๑๐ ก.. ไปสนามบินกองทัพบก ค่ายกฤษณ์ สีวะรา ขึ้นเครื่องบิน บางกอก แอร์เวย์ส กลับกรุงเทพ    ถึงสนามบินกองทัพอากาศดอนเมืองเวลา ๑๔.๓๐ น. ช้ากว่ากำหนด ๑ ชั่วโมงครึ่ง   โดยบนเครื่องบินก็เลี้ยงอาหารอย่างดีอีก   โดยเฉพาะข้าวหอมนิล

 

การตามเสด็จฯ นี้ เป็นข่าวใหญ่ทางทีวี   ได้ประโยชน์หลายทาง    แขกต่างประเทศต่างชื่นชมพระจริยาวัตร และกิจกรรมพัฒนาชนบทของประเทศไทย   พวกเราที่ตามเสด็จก็ได้เรียนรู้สิ่งที่เราไม่มีโอกาสเห็นด้วยตนเอง   เป็นบุญสำหรับชีวิต

 

วิจารณ์ พานิช

๔ พ.. ๕๑

1. พระตำหนักภูพานฯ ต้นไม้งามกับแดดอ่อนยามเช้า

2. เฟิร์นข้าหลวงหลังลายสะท้อนแสง

3. เครื่องเซรามิกส์ ประดับสองข้างทางเดินขึ้นอาคารจัดเลี้ยง

4. ไม้นานาพรรณ

5.หลังคาห้องกระจกที่จัดเลี้ยงเมื่อคืนก่อน

6. ภาพที่ผมภูมิใจที่สุด

7. รถนำชมศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพานฯ

8. หัวหน้าศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง นายขวัญใจ แก้วหาวงศ์

9. โรงเลี้ยงจิ้งหรีด

หมายเลขบันทึก: 223443เขียนเมื่อ 17 พฤศจิกายน 2008 07:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 19:52 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท