เคล็ดลับ “คุณอำนวย” (5)


กลเม็ดเด็ดพรายของคุณอำนวยในเวที
         กรณีตัวอย่าง การปัจฉิมนิเทศนักศึกษาคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย จ.นครศรีธรรมราช
• เริ่มต้นด้วยการวิเคราะห์กลุ่มเป้าหมายผู้เข้าร่วมประชุม
• การใช้การบรรยายแต่น้อย ใช้สื่อที่สามารถกระตุก กระตุ้นความสนใจนักศึกษา เช่น ฉายวิดีทัศน์การทำเศรษฐกิจพอเพียงของคุณมาร์ติน วิลเลอร์ จังหวัดขอนแก่น
● ตามด้วยวีซีดีภาคกลางของสรส.ว่าเราเข้าไปจัดกระบวนการเรียนรู้ให้แก่บัณฑิตในพื้นที่ภาคกลางอย่างไร
• ปิดท้ายด้วยวีซีดีเกาหลี “ครูใหญ่นักพัฒนา”
• การสื่อสารกับคนชาวบ้าน และการสื่อสารกับคนต่างๆ ใช้ภาพ ใช้หนังจะดีกว่าการพูด
• หลังจากจบการปัจฉิมนิเทศแล้ว การทำ AAR ช่วยทำให้ทีมอาจารย์เข้าใจการจัดการความรู้มากขึ้น ได้ข้อมูลมากมายที่ก่อประกอบเป็นแนวทางการเคลื่อนงานไปข้างหน้า สิ่งที่อาจารย์แต่ละคนคิด แต่ละคนจะทำจะเป็นภาพต่อเล็กในภาพใหญ่อย่างไร
• การใช้เวลา AAR ควรจะมีจำนวนอย่างน้อย 1 ใน 3 ของเวลาในเวทีทั้งหมด หากไม่มี AAR จะทำให้อาจารย์ไม่เข้าใจว่ากำลังทำอะไร การบ้านหรืองานที่เราจะทำต่อข้างหน้าเป็นส่วนหนึ่งของเป้าหมายใหญ่อย่างไร
• การ AAR ช่วยทำให้เกิดการเชื่อมร้อยเรื่องต่างๆของอาจารย์เข้ามาเป็นเนื้อเดียวกัน ทั้งการวิจัย แนวทางการเรียนการสอนแบบใหม่ เป้าหมายการผลิตบัณฑิต ตอบปัญหาว่าทำไมมีคนสนใจเรียนเกษตรน้อยและเราจะแก้อย่างไร
• เริ่มเห็นโมเดลการทำงานว่าจะขยายไปทำต่อกับวิทยาลัยเกษตรกรรมอย่างไร

อ้างอิง  ทรงพล เจตนาวณิชย์  เสนอในการประชุมภาคีจัดการความรู้ท้องถิ่น   ๑๗ มค. ๔๙

เคล็ดลับ “คุณอำนวย” (1)   เคล็ดลับ “คุณอำนวย” (2)  

เคล็ดลับ “คุณอำนวย” (3)   เคล็ดลับ “คุณอำนวย” (4)

วิจารณ์ พานิช
๓ เมย. ๔๙

คำสำคัญ (Tags): #คุณอำนวย#km#ชุมชน
หมายเลขบันทึก: 23206เขียนเมื่อ 10 เมษายน 2006 09:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 29 มีนาคม 2012 17:11 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท