KM (แนวปฏิบัติ) วันละคำ : ๖๔๙. ตั้งมูลนิธิการจัดการความรู้และเครือข่ายโรงเรียนชาวนา จังหวัดนครสวรรค์


 

          ผมเพิ่งร่วมทอดผ้าป่าสามัคคี สมทบทุนจัดตั้งกองทุน “มูลนิธิการจัดการความรู้และเครือข่ายโรงเรียนชาวนา จังหวัดนครสวรรค์” (มจช.)   โดยผมทำบุญผ่าน ผอ. ไพศาล เจียนศิริจินดา (เม) ผู้นำคนหนึ่งของประชาคมนครสวรรค์ (paisan_may(at)yahoo.com, ๐๘๑ ๘๘๖ ๑๘๐๙)   และเป็น ผอ. ศูนย์ฝึกอบรมและพัฒนาสุขภาพภาคประชาชน ภาคเหนือ

          ผมดีใจที่โรงเรียนชาวนา นครสวรรค์ มีถึง ๘๐ แห่ง   และดำเนินการเรียนรู้ต่อเนื่อง ไม่มีสิ้นสุด   มีการใช้เครื่องมือจัดการความรู้อย่าง “เนียน” ในเนื้องานทำนา   และกิจกรรมอำนวยความสะดวกในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (KM facilitation) ได้รับการสนับสนุนจาก อบจ. นครสวรรค์    สะท้อนว่า อบจ. นครสวรรค์เห็นว่า การส่งเสริมเรียนรู้ในชีวิตการประกอบอาชีพเกษตรกรรม เป็นการบำรุงสุขของคนในพื้นที่อย่างหนึ่ง    ซึ่งน่าชื่นชมมาก

          ย้ำว่า การเอื้ออำนวยให้เกิดการเรียนรู้ในการดำรงชีวิต หรือการประกอบอาชีพ ประจำวัน ถือเป็นการบำบัดทุกข์บำรุงสุขของประชาชนรูปแบบหนึ่ง    และนี่คือ “การเรียนรู้ตลอดชีวิต”

          ยิ่งมีการจัดตั้งมูลนิธิ ผมยิ่งดีใจ เพราะจะมีการระดมทุนเข้าสู่กิจกรรม   และจะมีระบบการจัดการที่เป็นระบบยิ่งขึ้น

          เครือข่ายโรงเรียนชาวนา จังหวัดนครสวรรค์ จะหนุนโดย มจช.   เช่นเดียวกับโรงเรียนชาวนาสุพรรณบุรีหนุนโดย มขข. (มูลนิธิข้าวขวัญ)

 

วิจารณ์ พานิช
๑๗ ม.ค. ๕๒

 

ผอ. ไพศาล เจียนศิริจินดา

หมายเลขบันทึก: 236440เขียนเมื่อ 21 มกราคม 2009 09:40 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 พฤษภาคม 2012 07:34 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท