KM (ภาคปฏิบัติ) วันละคำ : 49. คุณค่าและมูลค่า


• คุณค่าและมูลค่า (value) คือเป้าหมายหลัก    ไม่ใช่ประสิทธิภาพ (efficiency)    ที่จริงเราต้องการทั้งสองอย่าง แต่ตัวหลักคือคุณค่า
• การบริหารแบบเน้นประสิทธิภาพ (ลงทุนน้อย ได้ผลมาก) เป็นการบริหารแบบล้าหลัง ตกยุค    เป็นหัวใจของการบริหารแบบ Reengineering ซึ่งตกยุคไปแล้ว     เพราะนำไปสู่การปลดคนออก ทำให้พนักงานหมดขวัญกำลังใจ    ด้อยในมิติของความเป็นมนุษย์
• การบริหารงานแบบเน้นคุณค่าและมูลค่า (value-add) เน้นที่คน    เน้นที่กระบวนการ/ปฏิสัมพันธ์ระหว่างคน    ที่จะเพิ่มคุณค่าและมูลค่าซึ่งกันและกัน    เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพเชิงบวก    ไม่ใช่การเพิ่มประสิทธิภาพเชิงลบโดยการลดจำนวนพนักงาน   
• การ ลปรร. ความรู้จากการปฏิบัติ เสริมด้วยการ ลปรร. ความรู้จากทฤษฎี เป็นวงจรต่อเนื่องไม่รู้จบ    นำไปสู่การเพิ่มคุณค่าและมูลค่าไม่รู้จบ    และสามารถยกระดับสู่ภพภูมิใหม่ (New Order) ของความรู้และการปฏิบัติงานได้
• องค์กรต้องสร้าง “ขาขึ้น” โดยการเพิ่มคุณค่าและมูลค่า (แก่ธุรกิจของตน  แก่องค์กร  แก่เจ้าของ/ผู้ถือหุ้น  แก่พนักงาน  และแก่สังคม) อยู่ตลอดเวลา    ทั้งที่เป็นการเพิ่มทีละเล็กทีละน้อย    และการเพิ่มแบบก้าวกระโดดเป็นระยะๆ    นี่คือการคิดและดำเนินการเชิงบวก    ตรงกันข้ามกับการคิด/ทำเชิงลบ ในบรรยากาศ “ขาลง” โดยการลดค่าใช้จ่าย ลดคน
• “ยกระดับคุณค่าขึ้นทั้งแผง” คือสภาพในอุดมคติ    ลูกค้าได้สินค้า/บริการที่พอใจและยกระดับความพอใจขึ้นไปอีกระดับหนึ่ง    องค์กรก็ยกระดับความสามารถในการแข่งขันขึ้น    พนักงานยกระดับปัญญาและทักษะ    บริษัทลูก/ผู้ส่งวัตถุดิบ ก็ได้ยกระดับคุณค่า     สังคมได้อยู่ดีมีสุข มีความมั่นคง ยกระดับมาตรฐานชีวิต    KM นำไปสู่สภาพนี้ได้  
• จงคิดให้ชัด   ปรึกษาหารือกันให้ชัด   ว่าคุณค่าของงาน/สินค้า ของท่าน/กลุ่ม/องค์กร คืออะไร    มองให้ลึก จนเห็นโอกาสในการพัฒนาและแข่งขันโดยการสร้างคุณค่าที่ใครๆ ก็ต้องเอ่ยถึง    และคู่แข่งสู้ยาก
• การให้/ยอมรับ คุณค่า/มูลค่า แตกต่างกันในลูกค้าต่างกลุ่ม    ดังนั้นการขับเคลื่อนด้วยการสร้างคุณค่า/มูลค่า ต้องมาจากพลังดึงดูด (pull) โดยลูกค้าหรือผู้ใช้บริการ    ความรู้ความเข้าใจระบบคุณค่าของลูกค้าจึงมีความสำคัญยิ่ง    และต้องไม่ลืมว่าสิ่งนี้เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ไม่ได้หยุดนิ่ง

วิจารณ์ พานิช
๑๗ มีค. ๔๙
ปรับปรุง ๗ เมย. ๔๙

คำสำคัญ (Tags): #เครื่องมือ#km
หมายเลขบันทึก: 24587เขียนเมื่อ 20 เมษายน 2006 10:03 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 15:03 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

บันทึกนี้ ทำให้เข้าใจความหมายของคำว่า คุณค่า (value) และ ประสิทธิภาพ ในเชิงการบริหารองค์กรชัดเจนและเป็นรูปธรรมมากกว่าที่อ่านในหนังสือบริหารเล่มหนาๆ บันทึก KM (ภาคปฏิบัติ) วันละคำทุกบันทึก เป็นสิ่งที่มีคุณค่าและมีประโยชน์ต่อทุกคน ทุกระดับ โดยเฉพาะผู้บริหาร  และเป็นประโยชน์กับทุกองค์กร ทั้งที่ทำ KM  ไม่ทำ KM และ ที่คิดตัวเองกำลังทำ KM อยู่

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท