KM (แนวปฏิบัติ) วันละคำ : ๖๗๙. ติดความรู้สำเร็จรูป



          ผมได้รับ อี-เมล์ ดังนี้
          ชื่อ: มนตรี
          อีเมล: montri78(at)gmail.com
          หัวเรื่อง: KM ของวิสาหกิจชุมชนควรมีลักษณะอย่างไรครับ
          ข้อความ:

          ผมได้มีโอกาสเข้าร่วมสัมมนาที่ อิมเพ็ค เมืองทองธานี และได้รับหนังสือตามรอยความสำเร็จ KM ประเทศไทย. ทีหัวข้อชื่อ "KM ในบริบทสังคมไทย"  (สถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคม : สคส., 2550 : 62-99)ซึ่งมี KM 20 model ดังนี้

1. Xerox Model
2. แบบจำลองการจัดการความรู้ คว้า-ควัก
3. แบบจำลองปลาทู
4. แบบจำลองปลาตะเพียน
5. แบบจำลองบ้านสร้างสุข โรงพยาบาลบ้านตาก
6. LKASA (Bantak)  Model
7. แบบจำลองวงจรการจัดการความรู้ไม่รู้จบ
8. แบบจำลองประเทศ : การจัดการชุมชนสู่สังคมฐานความรู้
9. แบบจำลองปลาทูว่ายทวนกระแสน้ำ
10. แบบจำลอง KM 3 ห่วง กรมส่งเสริมการเกษตร
11. ABC Model
12. แบบจำลองระบบการจัดการความรู้มหาวิทยาลัยนเรศวร (NUKM)
13. แบบจำลองการจัดการความรู้ประเทศไทย
14. แบบจำลองสามเหลี่ยม KM
15. แบบจำลองครูของครู
16. แบบจำลอง Monkey 5 775
17. แบบจำลองการจัดการความรู้ของโรงไฟฟ้าแม่เมาะ
18. แบบจำลองน้ำพริปลาทูอีสาน (ป่นปลาทู)
19. แบบจำลอง SCG Innovative Organization
20. KM NOK Model

          ดังนั้น จึงเรียนถามผู้เชี่ยวชาญว่า ในความเห็นของอาจารย์  KM ของวิสาหกิจชุมชนควรมีลักษณะอย่างไรครับ

 

          ขออภัยคุณมนตรี ที่ยกมาเป็นตัวอย่างของอาการโรคในสังคมไทย    ที่เรียกว่าโรคติดความรู้สำเร็จรูป   ที่ขบวนการ KM ต้องการเข้าไปเยียวยา    ที่จริงการที่ สคส. ยกมา ๒๐ โมเดล ก็เพื่อจะบอกว่า    ใครๆ หรือหน่วยงานใด ก็คิด KM Model ของตนได้    และควรคิดเอง ไม่ใช่ใช้โมเดลใดโมเดลหนึ่งแบบตายตัว    เพราะบริบทขององค์กรของเราไม่เหมือนกัน    และที่ยิ่งกว่านั้นแม้โมเดลที่เราใช้ได้ผลดีก็ไม่ควรยึดมั่น   ควรต้องปรับไปเรื่อยๆ ตามสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป 
          ที่จริง KM คือเครื่องมือสำหรับการเรียนรู้ร่วมกันผ่านการปฏิบัติ ของสมาชิก 
          KM ของวิสาหกิจชุมชน น่าจะใช้เป็นเครื่องมือสำหรับเรียนรู้ร่วมกันของสมาชิกของวิสาหกิจนั้น
          เครื่องมือที่ดี คือเครื่องมือที่ใช้ง่าย ได้ผล และ “เหมาะมือ” ของผู้ใช้
          ไม่ว่า KM Model ใด ต่างก็มีองค์ประกอบสำคัญคือ มีการกำหนดเป้าหมายร่วมกัน   มีการปฏิบัติเพื่อบรรลุเป้าหมายนั้นดียิ่งขึ้น   แล้วเอาผลมา ลปรร. กัน   และวนกลับไปปฏิบัติอีก   หมุนเวียนไปไม่รู้จบ   หวังหมุนเกลียวความรู้ขึ้นไป และหมุนยกระดับความสำเร็จของงานขึ้นไป   เป็นกระบวนการไม่จบสิ้น   และใช้การจดบันทึกเป็นเครื่องมือช่วยให้กระบวนการเป็นระบบ   และมีการค้นคว้าข้อมูลได้ง่าย    มีการ ลปรร. กับคนภายนอกได้ด้วย

วิจารณ์ พานิช
๒๒ พ.ค. ๕๒

 

หมายเลขบันทึก: 266050เขียนเมื่อ 5 มิถุนายน 2009 11:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 31 พฤษภาคม 2012 14:39 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท