KM (แนวปฏิบัติ) วันละคำ : 63. เท่าเทียม – การเรียนรู้อย่างเท่าเทียมกัน


• เป็นเครื่องมือช่วยเหลือแบบช่วยให้พึ่งตนเอง    ช่วยแบบไม่ช่วย
• ช่วยให้คนเห็นศักยภาพของตนเอง  และมั่นใจในศักยภาพของตนเอง 
• คนเราจะมั่นใจในศักยภาพของตนเองต่อเมื่ออยู่ภายใต้สภาพที่เท่าเทียมกัน    มีความรู้สึกเป็นอิสระ
• ความรู้สึกว่าเท่าเทียมกันในมิติของการกระทำ เป็นพื้นฐานของ KM
• เท่าเทียม แต่แตกต่าง    การเคารพและให้เกียรติในความแตกต่างเป็นเครื่องบอกความเท่าเทียมกัน
• ในบรรยากาศของความเท่าเทียมกัน คนเราจะเรียนรู้ได้ดีกว่า    สามารถดึงพลังของความริเริ่มสร้างสรรค์ออกมาได้ดีกว่า
• การเรียนรู้อย่างเท่าเทียมกันไม่เน้นการสอน    ไม่เน้นการถ่ายทอดความรู้    แต่เน้นการเรียนรู้ร่วมกันผ่านการปฏิบัติ    ไม่ถือว่ามีความสัมพันธ์แบบผู้รู้กับผู้ไม่รู้    เน้นความสัมพันธ์แบบ แต่ละคนมีบางอย่างมาแลก และต้องการเรียนรู้บางอย่าง    นี่คือจิตวิญญาณของ KM

วิจารณ์ พานิช
๓ พค. ๔๙

คำสำคัญ (Tags): #เครื่องมือ#km
หมายเลขบันทึก: 27804เขียนเมื่อ 10 พฤษภาคม 2006 09:00 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 14:53 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท