KM (แนวปฏิบัติ) วันละคำ : ๖๙๔. วิธีฝึกอบรม Knowledge Manager แนวของ ศ. นพ. วุฒิชัย ธนาพงศธร



          ศ. นพ. วุฒิชัย ธนาพงศธร แห่งคณะแพทยศาสตร์ มศว.   ทำงานวิจัยเล็กๆ ร่วมกับทีมอีก ๒ คน   เรื่อง “การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการสร้างผู้จัดการความรู้ให้มีคุณภาพ : กรณีศึกษาโครงการฝึกอบรมผู้จัดการความรู้ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ”   และเอารายงานมาเป็นการบ้านให้ผมช่วยให้ความเห็น

          โครงการนี้เป็น action research   ที่ใช้กิจกรรม BSTAP (Before learning review + Stimulated role play + Team learning + After learning review + Post – training implementation)   และจัด CoP KM9กระโดด   เพื่อฝึก Knowledge Manager ๙ คนของคณะแพทยศาสตร์ มศว.   แล้วเก็บข้อมูลเพื่อตอบคำถาม ๓ ข้อ ที่เกี่ยวข้องกับผู้เข้ารับการฝึกทั้ง ๙ คน  คือ


               ๑.  KM competency เปลี่ยนแปลงอย่างไร


               ๒.  การเปลี่ยนแปลงของระดับความสุขและคุณภาพชีวิต


               ๓.  ปัจจัยที่มีผลต่อการสร้าง Knowledge Manager อย่างมีคุณภาพ


          ผลการวิจัยบอกว่า KM competency เพิ่มขึ้นอย่างน่าพอใจ    และเมื่อให้ทำหน้าที่ในสถานการณ์จริง ก็ทำหน้าที่ได้ดี   ระดับความสุขและคุณภาพชีวิตดีขึ้นบ้าง    ส่วนปัจจัยที่มีผลต่อการสร้าง Knowledge Manager ที่มีคุณภาพสูงคือความตั้งใจจะเข้ารับการอบรม 


          ผมตีความว่า โครงการนี้ต้องการสร้างคนที่มีทักษะไว้ทำกิจกรรม ลปรร. แบบนานๆ เกิดขึ้นครั้งหนึ่ง    ไม่ใช่เพื่อทำหน้าที่ facilitator ของกิจกรรม KM ที่บูรณาการอยู่ในงานประจำ    ดังนั้น จึงไม่มีส่วนของการฝึกฝนในสถานการณ์จริงประจำวัน 

วิจารณ์ พานิช
๒๔ ก.ค. ๕๒


หมายเลขบันทึก: 288772เขียนเมื่อ 18 สิงหาคม 2009 14:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 08:49 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

ผมขอขอบคุณอาจารย์มากครับที่ให้ข้อคิดเห็น ต่อการศึกษาวิจัยครั้งนี้

เป็นการเริ่มต้นสร้างผู้จัดการความรู้ 9 ท่านที่ต้องการให้เอากระบวนการ KM

เข้าไปใช้ในหน่วยงาน โดยให้สอดแทรกเข้าไปอยู่ในงานประจำของตนเอง

ขณะนี้ ผมกำลังติดตามผลระยะยาวอยู่ครับ มีประมาณ 3 ท่านที่นำไปใช้

สร้างกลุ่มจัดการความรู้ของหน่วยงานอย่างชัดเจน

ผมจึงต้องสร้างแกนนำในระดับหน่วยงานย่อยเพิ่มขึ้นอีก

ขณะนี้วางแผนอีก 2 รุ่น รุ่นละ 10 คน ในช่วงต้นปีหน้า และจะเรียนเชิญอาจารย์มาช่วย

ในการสร้าง KM manager ด้วยครับ

สวัสดีครับ

ผมรู้สึกว่ากำลังสับสน และเข้าใจผิดเมื่ออ่านจบครั้งแรก

รู้สึกว่า Knowledge Manager เป็นการใช้คำให้ฟังดูเหมือนกับว่า Management ต้องมี Manager ดังนั้น การจัดการความรู้ จึงมี ผู้จัดการความรู้

ถ้าหมายความว่า ต้องการสร้าง Knowledge Manager ที่จะคอยทำหน้าที่ดูแลบริหาร ปัจจัยในการจัดการความรู้ (เหมือนกับว่า Facilitator, Note Taker, บันทึกความรู้ ฯ นับเป็นปัจจัยแต่ละอย่างในการบริหารการจัดการความรู้) Knowledge Manager ก็น่าจะหมายถึง คุณเอื้อ อาจารย์จึงได้ตีความว่า โครงการนี้ต้องการสร้างคนที่มีทักษะไว้ทำกิจกรรม ลปรร. แบบนานๆ เกิดขึ้นครั้งหนึ่ง ไม่ใช่เพื่อทำหน้าที่ facilitator ของกิจกรรม KM ที่บูรณาการอยู่ในงานประจำ

แต่มาที่อาจารย์วุฒิชัยตอบว่ามีการนำไปใช้สร้างกลุ่มจัดการความรู้ จึงดูเหมือนผมจะเข้าใจผิดที่ตีความในตอนแรกว่าเป็นการฝึกคุณเอื้อ แทนที่ความเป็นจริงโครงการอาจจะต้องการวิจัยการฝึก Knowledge Facilitator

ขอบพระคุณครับ จะนำไปปรับเพื่อพัฒนา คุณอำนวย แห่ง มอ อาทิตย์ นี้ ครับ

นายนิสสัน พันธ์เพชร ,นายไพรัช ศรีเจริญ

KM แนวปฎิบัติ

ความคิดเห็นที่ดี สามารถนำไปปฏิบัติได้ ในหน่วยงาน ต่างๆ เพื่อการจัดการในองค์กร

ให้มีความรู้ และประสิทธิภาพ

โดยสามารถถ่ายทอดความรู้ ซึ่งเป็นแนวปฏิบัติ แบบKM ไปสู้บุคลากรในองค์กร

สวัสดีค่ะ

ทำงานในโรงพยาบาลเป็นผู้ประสานงานคุณภาพ อยากนำKM มาพัฒนาองค์กร ค่ะ กำลังนำเรื่องเล่าของความสำเร็จ (SST)มาแลกเปลี่ยนค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท