KM (แนวปฏิบัติ) วันละคำ : ๖๙๙. ใช้ความรู้เปลือยเปล่าเป็น “ผ้า” ได้



          บันทึกนี้ต่อเนื่องจากบันทึก KM วันละคำ ๒ ตอนที่แล้ว    จะเข้าใจบันทึกนี้ ต้องอ่าน ๒ บันทึกที่แล้วเสียก่อน

  ความรู้ทฤษฎี (explicit knowledge) เปรียบเสมือน “ความรู้ไร้ภูษา” ไม่นุ่งผ้า   คือไร้บริบท   เป็น generic knowledge


   ในการปรุง “ความรู้พร้อมใช้” ต้องใส่ความรู้เชิงบริบทในหลากหลายด้าน หลากหลายมิติเข้าไป   ไม่ว่าความรู้ตั้งต้นจะเป็นความรู้แจ้งชัด (ทฤษฎี) หรือความรู้ฝังลึก


   ที่สำคัญ ความรู้เปลือยเปล่าหรือแจ้งชัด (ทฤษฎี) ก็ใช้เป็น “ผ้า” สำหรับปรุงแต่งให้ได้ความรู้พร้อมใช้ ได้  


   คนที่มีความรู้ทฤษฎีลึกซึ้งกว้างขวาง จะสามารถปรุง “ความรู้พร้อมใช้” ได้กลมกล่อมเหมาะสม   มีกุศโลบาย ได้สูง    โดยต้องมีความรู้เชิงบริบทมาประกอบอย่างสมดุลด้วย 


   ถ้า “ภูษา” เอียงไปข้างเป็นความรู้ทฤษฎีมากเกินไป  “ความรู้พร้อมใช้”  ที่ได้ อาจไม่ค่อยเหมาะสมต่อ กาละ เทศะ และ มิติ ของกิจกรรมนั้น


   ถ้า “ภูษา” เอียงไปข้างเป็นความรู้เชิงบริบทมากไป  “ความรู้พร้อมใช้”  ที่ได้อาจไม่ลุ่มลึกกว้างขวางเพียงพอ

วิจารณ์ พานิช
๑๖ ส.ค. ๕๒

       

หมายเลขบันทึก: 294152เขียนเมื่อ 4 กันยายน 2009 10:09 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 09:13 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

เข้ามาอ่านค่ะ ขอบคุณค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท