KM (แนวปฏิบัติ) วันละคำ : 72. ซีร็อกซ์ โมเดล


• รูปแบบของการจัดการความรู้มีได้มากมาย    ควรพิจารณาเลือกใช้ตามความถนัด และความเหมาะสม    และควรใช้หลายๆ รูปแบบประกอบกัน    เพราะแต่ละแบบก็จะมีทั้งจุดแข็งและจุดอ่อน
• การจัดการความรู้ ซีร็อกซ์ โมเดล นำมาเผยแพร่ในประเทศไทยโดย Mr. Robert Osterhoff  ในโครงการนำร่องจัดการความรู้ ที่จัดโดยสถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ   และเขียนไว้ในหนังสือ “การจัดการความรู้  จากทฤษฎีสู่การปฏิบัติ”   จัดพิมพ์โดยสถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ  2547   หนังสือเล่มนี้เป็นหนังสือเรื่องการจัดการความรู้ที่ดี   หน่วยงานที่ดำเนินการจัดการความรู้ควรมีไว้อ้างอิงตรวจสอบ
• วงจรการจัดการความรู้ ซีร็อกซ์ โมเดล ประกอบด้วย 7 ส่วน คือ  (1) เป้าหมาย  (2) การจัดการการเปลี่ยนแปลงและพฤติกรรม  (3) การสื่อสาร  (4) กระบวนการและเครื่องมือ  (5) การเรียนรู้  (6) การวัดผล และ (7) การยกย่องชมเชยและให้รางวัล   การดำเนินการแต่ละองค์ประกอบทำได้พร้อมๆ กัน   หรือจะทำองค์ประกอบไหนก่อนไหนหลังก็ได้
• สคส. ใช้โมเดลนี้ด้วย   โดยใช้แบบเนียนอยู่ในกิจกรรมตามที่ สคส. ถนัด และเห็นว่าเหมาะสมต่อกิจกรรมหรือหน่วยงานนั้นๆ    ไม่ได้แยกแยะว่าเป็นโมเดลของใคร 

วิจารณ์ พานิช
๑๘ พค. ๔๙

คำสำคัญ (Tags): #เครื่องมือ#km
หมายเลขบันทึก: 30549เขียนเมื่อ 24 พฤษภาคม 2006 09:05 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 มิถุนายน 2012 13:17 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท