แนะนำ ThaiHelathGroup



          ท่านที่สนใจเข้าร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องการจัดการระบบสุขภาพ โปรดอ่าน และสมัครตามคำแนะนำข้างล่าง

 

          ประเด็นที่เรากำลังคุยกันอยู่ในกลุ่ม ผู้สร้างสรรค์ระบบสุขภาพไทยและผู้ปฏิบัติการฉุกเฉิน (ThaiEMP) นี้ คาบเกี่ยวกับความสนใจของกลุ่ม ThaiHealthIT จึงขอ cross-post ข้ามกลุ่มด้วยครับ (ขออภัยท่านที่ได้รับซ้ำ) ท่านที่เป็นสมาชิก ThaiHealthIT แต่ไม่ใช่สมาชิก ThaiEMP (หรือ vice versa) และสนใจจะพูดคุยประเด็นนี้ กรุณา add ทั้ง [email protected] และ [email protected] ในจดหมายตอบด้วยครับ

          ดูเหมือนผมจะแตกประเด็นออกมาจากของ อ.ไพบูลย์ อีกหน่อย เพราะดูเหมือนประเด็นหลักของ อ.ไพบูลย์ คือเรื่อง balanced focus ที่ไม่ได้มุ่งเน้นผู้บาดเจ็บ (trauma patients) อย่างเดียว แต่เน้นผู้ป่วยฉุกเฉินที่ไม่บาดเจ็บด้วย แต่อาจารย์กล่าวถึงการใช้ระบบสารสนเทศในบริบทของการแพทย์ฉุกเฉิน จึงขอ discuss เพิ่มเติมครับ

          ขอบคุณ อ.ไพบูลย์ ที่ raise ประเด็นสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งในบริบทของเมืองไทย คือเรื่องระบบสารสนเทศครับ (ที่ว่า "สำคัญและจำเป็นอย่างยิ่ง" เป็นความเห็นส่วนตัว ผมเองอาจจะมีอคติก็ได้ครับ)

          อย่างไรก็ตาม ระบบสารสนเทศห้องฉุกเฉิน เป็นเรื่องที่ต้องคิดวางแผนและออกแบบอย่างรอบคอบครับ ทั้งนี้เพราะถ้าเรา implement ระบบ ด้วยความไม่เข้าใจ คือมองว่า เทคโนโลยี เป็น black box ที่ somehow ข้อมูลที่ป้อนเข้าไป จะแปลผลเป็น outcome ที่เราต้องการเสมอไป (ขอยืมคำเปรียบเทคโนโลยีว่าเป็น black box มาจาก อ.บุญชัย กิจสนาโยธิน สนย. ที่ผมเคารพ ครับ) จะเป็น outcome ในเชิงประโยชน์ด้านคุณภาพต่อคนไข้ ค่าใช้จ่ายที่ประหยัดให้กับองค์กร ข้อมูลต่อผู้บริหาร หรือความพึงพอใจของผู้ให้บริการ ก็แล้วแต่ เราก็อาจจะหลงผิด แล้วสร้างปัญหาขึ้นได้ เกิดเป็นผลลัพธ์ที่เราไม่ได้ตั้งใจให้เกิด (unintended consequences) แทน

          มีตัวอย่างอยู่ไม่น้อยครับในเรื่อง unintended consequences ของการใช้เทคโนโลยี ที่หวังว่าจะช่วยให้เกิดประโยชน์ แต่กลับทำให้ผลลัพธ์บางเรื่องแย่ลง ตัวอย่างใน literature ที่ classic อันหนึ่งในวงการเวชสารสนเทศ (และก็มีทั้งผู้ที่เห็นด้วยและเห็นต่างกับบทสรุป) คือ อัตราการตายที่เพิ่มสูงขึ้นในผู้ป่วยเด็กของโรงพยาบาลแห่งหนึ่งหลังจากการติดตั้งระบบสั่งยาผ่านคอมพิวเตอร์ [1] ซึ่งแม้จะไม่ได้เกี่ยวข้องกับห้องฉุกเฉินโดยตรง แต่ก็เป็นตัวอย่างที่ดีให้เราระมัดระวังการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ครับ โดยอย่ามองว่าเทคโนโลยีจะแก้ปัญหาได้ทุกเรื่อง อย่ามองว่ามันเป็น "silver bullet" หรือ "panacea" ครับ

          ในกรณีของระบบสารสนเทศห้องฉุกเฉิน สิ่งที่ต้องระมัดระวังอย่างมาก คือ การที่บุคลากรจะต้อง interact กับระบบคอมพิวเตอร์ แล้วทำให้ 1) การดูแลคนไข้ เสียเวลามากขึ้น จึงเกิด morbidity & mortality มากขึ้น 2) ความไม่คุ้นเคยของเจ้าหน้าที่กับระบบ ทำให้เกิดโอกาสสั่งการรักษาหรืออ่านข้อมูลผิดพลาด ได้

          และนี่เป็นเหตุผลที่ผมเองพยายาม caution รามาธิบดีที่ผมทำงานอยู่ ไม่ให้เกิด blind implementation ของระบบสารสนเทศผู้ป่วยนอก และผู้ป่วยฉุกเฉินครับ และเสนอว่าเราควรจะวางแผน ออกแบบ ทดสอบ อย่างรอบคอบมากๆ ไม่ใช่อาศัยเวลามาเป็น deadline และนี่เป็นคำตอบครับว่าทำไมระบบสารสนเทศผู้ป่วยนอกของคณะแพทยศาสตร์อย่างรามาธิบดี จึงยังต้องพัฒนาอีกพอสมควร ประเด็นไม่ใช่เพราะเราไม่มีคนมีความสามารถ ประเด็นไม่ใช่เพราะแพทย์ พยาบาล คัดค้าน แต่ประเด็นหลักคือ ทำอย่างไร จึงจะป้องกัน unintended consequences ที่จะเป็น nightmare scenario ของโรงพยาบาล และจะสายเกินแก้ หากติดตั้งระบบไปแล้วครับ (ลองหลับตานึกภาพดูครับ จะเกิดอะไรขึ้น หากการติดตั้งระบบสารสนเทศ OPD จะทำให้แพทย์ต้องเสียเวลาป้อนข้อมูลมากขึ้น เฉลี่ย คนไข้คนละ 1 นาที ถ้าเราไม่วางแผน workflow และบริหารจัดการการเปลี่ยนแปลงดีๆ ละก็ เมื่อถึงเวลา 4 โมงเย็น อาจจะมีคนไข้ค้างตรวจเป็นร้อยๆ คนก็ได้ (หรืออาจต้องเลื่อนนัดคนไข้บางส่วนออกไปเพื่อให้ไม่มีคนไข้ตกค้าง แล้วก็ทำให้คนไข้เหล่านี้มี delayed diagnosis/treatment ตามมา) เหตุผลเช่นเดียวกันนี้ สามารถนำมากล่าวได้กับกรณีของห้องฉุกเฉินครับ และน่าจะ sensitive ต่อ impact ของเทคโนโลยี มากกว่าระบบผู้ป่วยนอกด้วยซ้ำ

          กล่าวมาทั้งหมดนี้ ผมเอง (ในฐานะคนในวงการเวชสารสนเทศ) ไม่ได้ against การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการให้บริการ ไม่ว่าจะเป็นห้องฉุกเฉิน ผู้ป่วยนอก ผู้ป่วยใน หรือที่อื่นใดก็ตาม แต่ผมสนับสนุนเฉพาะการใช้เทคโนโลยีที่มีการพิจารณาวางแผนอย่างรอบคอบ ผมเจอมาเยอะครับ ทั้งที่ รพช. ที่ผมเคยทำงาน ซึ่งมีการตัดสินใจว่าจะนำเทคโนโลยีมาใช้ แต่ไม่ได้วางแผนการติดตั้งอย่างรอบคอบ ผลก็คือ คนไข้ตกค้างจำนวนมาก และ frustration ของแพทย์ (รวมทั้งผม) และเจ้าหน้าที่ สุดท้าย ระบบไปรอดครับ แต่ผลกระทบต่อคนไข้และผู้ให้บริการ จะน้อยลงมาก หากมีการบริหารจัดการที่ดีกว่านั้น

          ขอทิ้งท้ายด้วยประโยคที่ผมเคยเรียนรู้มาจากอดีตรองอธิการบดีด้านสารสนเทศของมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งครับ "Don't make use of excellent technology. Make excellent use of technology." จงอย่าใช้เทคโนโลยีที่ดีที่สุด แต่จงใช้เทคโนโลยีอย่างดีที่สุด ประเด็นสำคัญที่จะส่งผลให้เรานำเทคโนโลยีมาใช้อย่างเหมาะสม ไม่ได้อยู่ที่ตัวเทคโนโลยีเป็นหลักครับ 80% อยู่ที่การบริหารจัดการ

          นวนรรน

          หมายเหตุ สำหรับท่านที่สนใจเข้าร่วมกลุ่ม ThaiHealthIT กรุณาเข้าไปที่ http://groups.google.com/group/ThaiHealthIT แล้วเลือก "Apply for group membership" จากเมนูด้านขวามือ แล้ว log-in หรือสร้าง Google Account ครับ (ไม่จำเป็นต้องมี Gmail account ครับ ใช้ e-mail address อะไรก็ได้ตามต้องการ)
          เช่นเดียวกัน ท่านที่สนใจจะสมัครเข้าร่วมกลุ่ม ThaiEMP กรุณาเข้าไปที่
http://groups.google.com/group/ThaiEMP แล้วดำเนินการเช่นเดียวกันครับ

          Reference:

          [1] Han YY, Carcillo JA, Venkataraman ST, Clark RS, Watson RS, Nguyen TC, Bayir H, Orr RA. Unexpected increased mortality after implementation of a commercially sold computerized physician order entry system. Pediatrics. 2005 Dec;116(6):1506-12.

 

paibul suriyawongpaisal wrote:


          ในมุมมองของผู้บริหารรพ. และพวกเราจำนวนหนึ่ง เห็นว่า มีความจำเป็นต้อง   ก)ทบทวน ลำดับความสำคัญที่เราให้กับงานการแพทย์ฉุกเฉิน ซึ่งดูเหมือนว่า จะเน้นไปที่การพัฒนาระบบดูแลผู้บาดเจ็บเป็นสำคัญ  และ ข) หาทางผสมผสาน(บูรณาการ)ทรัพยากรที่มีจำกัดให้ตอบสนองการให้บริการทั้งกลุ่มคนไข้บาดเจ็บและกลุ่มอื่น เช่น รถพยาบาล  การฝึกอบรมบุคลากร เป็นต้น
  

          หลักฐานล่าสุดจาก ห้องฉุกเฉิน ๑๔ รพศ./รพท.จากทุกภาคของประเทศ ดังปรากฎในตารางข้างล่าง สนับสนุนประเด็นแรกที่กล่าวมา ดังจะสังเกตได้ว่า โอกาสตายของกลุ่มคนไข้เด็ก อายุรกรรมและศัลยกรรมที่ไม่ใช่การบาดเจ็บ   โดยลำดับ ซึ่งมากกว่ากลุ่มบาดเจ็บ 

          ถ้ามีระบบสารสนเทศเฉพาะสำหรับคนไข้ห้องฉุกเฉิน ก็จะช่วยให้สะดวกที่ รพ.แต่ละแห่งหรือนักวิชาการ นำไปวิเคราะห์ออกผลอย่างตารางนี้เป็นตัวอย่าง  แล้วป้อนเข้าสู่คณะกรรมการบริหารรพ.โดยเป็นส่วนหนึ่งของโครงการที่คงต้องการรายละเอียดอื่นๆ เืพื่อจะได้มีการปรับปรุงบริการให้เท่าทันสภาพความจริงที่ผันแปรอยู่เสมอ

          การพัฒนา trauma care, stemi fast track, stroke fast trackที่รพ.ขอนแก่น กลุ่มรพ.ในcardiac network, รพ.ธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ เป็นตัวอย่างยืนยันคุณค่าและความเป็นไปได้ของการมีและใช้สารสนเทศอย่างเหมาะสม โปรดสังเกตนะครับว่า ส่วนใหญ่ของรพ.เหล่านี้คือ รพ.ในสังกัด กระทรวงสาธารณสุข และส่วนใหญ่ก็ยังไม่มีหรือมีEP ไม่กี่คนเท่านั้น


          ไพบูลย์
          paibul suriyawongpaisal
          phone : 023547201    022011518
          fax : 022012408


          --~--~---------~--~----~------------~-------~--~----~


          * ท่านได้รับข้อความนี้จากกลุ่มสานเสวนา "ผู้สร้างสรรค์ระบบสุขภาพไทยและผู้ปฏิบัติการฉุกเฉิน"


          กรณีท่านไม่ประสงค์รับข้อความจากกลุ่มอีกต่อไป กรุณา click link =>

http://groups.google.co.th/group/thaiemp/subscribe 


          กรณีต้องการอ่านการสานเสวนาย้อนหลัง โปรดไปที่กลุ่มสานเสวนานี้โดยคลิกที่ 


          http://groups.google.co.th/group/thaiemp?hl=th หรือ http://groups.google.co.th/group/thaiemp/topics 


          กรณีต้องการเสนอหัวเรื่องใหม่ กรุณาส่งอีเมลไปที่
[email protected] 


          กรณีที่ท่านเห็นสมควรเรียนเชิญบุคคลเข้าร่วมกลุ่มสานเสวนานี้ กรุณาเรียนเชิญให้เข้าไปที่
http://groups.google.co.th/group/thaiemp แล้วเลือก "เข้าร่วมกลุ่มนี้" ในเมนูด้านขวามือครับ


          -~----------~----~----~----~------~----~------~--~---

 

วิจารณ์ พานิช
๗ พ.ย. ๕๒

                         

หมายเลขบันทึก: 312431เขียนเมื่อ 10 พฤศจิกายน 2009 16:04 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 พฤษภาคม 2012 13:30 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท