ชีวิตที่พอเพียง : ๙๔๙a. ยุทธศาสตร์ขับเคลื่อน R2R สุขภาวะไทย


          วันที่ ๑๖ ก.พ. ๕๓ มีการประชุมคณะกรรมการกำกับทิศทางแผนงานพัฒนาเครือข่ายวิจัยในรูปแบบงานวิจัยจากงานประจำ ที่ สวรส.   ทำให้ผมได้มีโอกาสคิดว่า ในสภาพที่ R2R “ติดตลาด” ดีแล้ว อย่างที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน   ควรมียุทธศาสตร์ขับเคลื่อน R2R สุขภาวะไทย อย่างไร

หลักการ

          ผมเป็นคนขยัน แต่ในการทำงานผมพยายามฝึกฝนตนเองและเพื่อนร่วมงานให้ “ขี้เกียจ” คือหาทางหรือวิธีการที่ช่วยให้เราลงมือทำน้อยๆ ได้ผลมากๆ   โดยที่ผลมากๆ นั้นคือผลต่อส่วนรวม สังคมหรือบ้านเมือง   ดังนั้น หลักการแรกที่ผมเสนอคือ “ขยันแบบขี้เกียจ”   คือขยันส่งเสริมให้คนอื่นทำ

          หลักการที่ ๒ ก็ต่อเนื่องมาจากหลักการแรก   เพราะเราต้องการผลที่ประโยชน์ของสังคม ไม่ใช่เพื่อความเด่นดังของตัวเราเองหรือของ สวรส./ศิริราช ที่เป็นหน่วยงาน secretariat   และเนื่องจาก R2R เป็นเรื่องของแต่ละหน่วยงานที่จะใช้ R2R เป็นเครื่องมือพัฒนางาน พัฒนาคน พัฒนาองค์กร ของตนเอง (ให้ได้  “ส.ป.ก.”)   ดังนั้นตัวงาน กิจกรรม และการลงทุนทรัพยากร ต้องมาจากหน่วยงานเหล่านั้นมากที่สุด   หาก สวรส. ทำตัวเป็นเจ้าบุญทุ่ม ใช้นโยบายประชานิยม จะกลายเป็นการทำลาย R2R สุขภาวะไทยในทางอ้อม

ยุทธศาสตร์

          อ. หมอเชิดชัย ได้เสนอยุทธศาสตร์การดำเนินการ ๕ ประการ ซึ่งเป็นยุทธศาสตร์ที่ดีมาก   ผมขอเสนอยุทธศาสตร์ในอีกมิติหนึ่งเสริมเข้าไป เรียกว่ายุทธศาสตร์ NAT ในการทำงานขับเคลื่อน R2R สุขภาวะไทย

N = Networking & KM เน้นการสร้างเครือข่าย และ ลปรร. ความสำเร็จระหว่างกัน


A = AI – Appreciative Inquiry เสาะหาเรื่องราวความสำเร็จที่มีอยู่แล้ว   โดยอาจเป็นความสำเร็จภายใต้ชื่อ R2R หรือภายใต้กิจกรรมชื่ออื่นก็ได้   เอามายกย่องและ ลปรร. แรงบันดาลใจ วิธีการ และกระบวนการ


T = Technical Training  ฝึกอบรมเทคนิคต่างๆ เสริมตามความต้องการ

 

          ที่จริงแล้ว R2R เป็นอวตารของ CQI ดังนั้นควรหา R2R ที่ทำต่อเนื่องยาวนาน มาให้รางวัล   R2R ที่ทำครั้งเดียวเลิก ไม่ใช่ R2R ที่แท้จริง  

 

          ส่วนหนึ่งของ Networking คือการสื่อสาร  ที่เน้นใช้ การประชุมประจำปี   และการให้รางวัล เป็นเครื่องมือ

          ที่ประชุมพูดถึงการให้รางวัล ๓ แบบ
               ๑. ตามประเภทบริการ
               ๒. Issue-based
               ๓. ระบบสนับสนุน R2R ที่ดีเด่น

   ปีนี้เป็นปีที่ ๓ ที่ สวรส. เข้ามาขับเคลื่อนเครือข่าย/ขบวนการ R2R สุขภาวะไทย   การดำเนินการเข้มข้นและขยายเครือข่ายกว้างขวางขึ้นอย่างน่าชื่นใจ

 

วิจารณ์ พานิช
๑๖ ก.พ. ๕๓
 
              

บรรยากาศในห้องประชุม

 

อีกมุมหนึ่ง

หมายเลขบันทึก: 339026เขียนเมื่อ 22 กุมภาพันธ์ 2010 09:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 22:28 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท