KM (แนวปฏิบัติ) วันละคำ : ๗๓๕. ใช้ KM เป็นเครื่องมือ conflict management


          เที่ยงวันที่ ๑๔ ก.พ. ๕๓ วันตรุษจีนและวันวาเลนไทน์ ผมไปปาร์ตี้เพื่อนศิริราชรุ่น ๗๑   ที่จำนวนหนึ่งมาจากสหรัฐอเมริกา   ในจำนวนเพื่อนที่เหลือประมาณ ๑๐๐ คน มีคนมาประมาณหนึ่งในสาม 


          หลังกินอาหารอิ่มดีแล้ว   เราก็ผลัดกันเล่าว่าใครทำอะไรอยู่บ้าง   ศ. นพ. วันชัย วัฒนศัพท์ เล่าเรื่องงานจัดการความขัดแย้ง   ที่เน้นใช้หลัก deliberative conflict management   คือเน้นการฟังกัน   ฟังอย่างลึก ฟังจนเข้าใจความทุกข์ยากของอีกฝ่าย  


          ทำให้ผมนึกขึ้นได้ว่า ใช้หลักการเดียวกันกับ KM เพื่อไปสู่ LO นั่นเอง   คือเน้น sharing ทั้ง ๒ ฝ่ายต่างก็ผลัดกันเล่า ผลัดกันฟัง   จนเกิดการยกระดับความเข้าใจ   ไปสู่จุดร่วมที่สูงกว่าผลประโยชน์เฉพาะตนเฉพาะฝ่าย   สูงกว่าความรู้เดิมๆ  


          เมื่อได้แนวทางใหม่ ก็นำไปทดลองปฏิบัติแล้วนัดกันกลับมารวมตัว sharing กันอีก   ใน CM (Conflict Management) เพื่อลดระดับความขัดแย้ง   ใน KM เพื่อยกระดับความรู้ปฏิบัติ นำไปสู่ผลงานที่ดีขึ้นกว่าเดิม และบุคคลมีปัญญาปฏิบัติเพิ่มจากเดิม 

 

 

วิจารณ์ พานิช
๑๔ ก.พ. ๕๓
      

คำสำคัญ (Tags): #530226#km วันละคำ
หมายเลขบันทึก: 340055เขียนเมื่อ 26 กุมภาพันธ์ 2010 09:41 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 18:30 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

กราบเรียนอาจารย์วิจารณ์

   ผมทดลองใช้กับสมาชิกในครอบครัวดู  ปรากฏว่าไม่สำเร็จตามที่คาดหวังไว้ 

   บรรยากาศจากการสนทนาพูดคุยกัน  ถูกโน้มนำไปในทางแบบเกิดการระดมความเห็น  ทุ่มความเห็นเข้าใส่กัน  โต้แย้งป้องกันตัว  ชี้แนะแต่ไม่รับฟังความเห็นอื่น (ประชดเล็กน้อย) 

   ผมคิดทบทวนดู  พบว่าการที่กลุ่มสนทนา  จะสามารถพูดคุยเปิดใจกันได้ในเรื่องที่เป็นความขัดแย้ง หรือปัญหา  (ไม่ว่าในที่ทำงานของแต่ละคนหรือความขัดแย้งระหว่างกัน)  กลุ่มคนเหล่านั้นต้องมีคุณสมบัติที่เอื้ออำนวยด้วยอย่างมาก  เช่น การเปิดใจรับฟัง ฟังจนจบไม่ขัดคอ ไม่เอาความคิดความเห็นตนเองนำหน้า  พยายามทำความเข้าใจผู้อื่นให้มาก    (Dialogue เป็นเป็นคุณสมบัติพื้นฐาน)  น่าจะต้องเป็นกลุ่มคนที่ค่อนข้าง Advance ในทางการแลกเปลี่ยนเรียนรู้  จึงจะดำเนินกิจกรรมได้อย่างราบรื่น

   อีกหนึ่งข้อสังเกตคือ  การมีผู้วัยวุฒิสูงและผู้มีคุณวุฒิสูงรวมอยู่ด้วย  และไม่ฟังกัน  ยิ่งทำให้การดำเนินไปยากขึ้น  เพราะต่างก็มีแนวโน้มจะไม่ฟังกัน และจะห้ามก็ไม่ได้ -_-

 

กราบเรียนอาจารย์วิจารณ์

   ผมทดลองใช้กับสมาชิกในครอบครัวดู  ปรากฏว่าไม่สำเร็จตามที่คาดหวังไว้ 

   บรรยากาศจากการสนทนาพูดคุยกัน  ถูกโน้มนำไปในทางแบบเกิดการระดมความเห็น  ทุ่มความเห็นเข้าใส่กัน  โต้แย้งป้องกันตัว  ชี้แนะแต่ไม่รับฟังความเห็นอื่น (ประชดเล็กน้อย) 

   ผมคิดทบทวนดู  พบว่าการที่กลุ่มสนทนา  จะสามารถพูดคุยเปิดใจกันได้ในเรื่องที่เป็นความขัดแย้ง หรือปัญหา  (ไม่ว่าในที่ทำงานของแต่ละคนหรือความขัดแย้งระหว่างกัน)  กลุ่มคนเหล่านั้นต้องมีคุณสมบัติที่เอื้ออำนวยด้วยอย่างมาก  เช่น การเปิดใจรับฟัง ฟังจนจบไม่ขัดคอ ไม่เอาความคิดความเห็นตนเองนำหน้า  พยายามทำความเข้าใจผู้อื่นให้มาก    (Dialogue เป็นเป็นคุณสมบัติพื้นฐาน)  น่าจะต้องเป็นกลุ่มคนที่ค่อนข้าง Advance ในทางการแลกเปลี่ยนเรียนรู้  จึงจะดำเนินกิจกรรมได้อย่างราบรื่น

   อีกหนึ่งข้อสังเกตคือ  การมีผู้วัยวุฒิสูงและผู้มีคุณวุฒิสูงรวมอยู่ด้วย  และไม่ฟังกัน  ยิ่งทำให้การดำเนินไปยากขึ้น  เพราะต่างก็มีแนวโน้มจะไม่ฟังกัน และจะห้ามก็ไม่ได้ -_-

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท