KM (แนวปฏิบัติ) วันละคำ : 89. ขัดแย้ง


• เมื่อกว่า ๒๐ ปีมาแล้ว สมัยผมเป็นคณบดีคณะแพทยศาสตร์ เราเชิญวิทยากรมาสอนหลักการด้านการบริหารแก่คนของคณะ มีอยู่รายการหนึ่งเป็นเรื่อง conflict บรรยายโดย ศ. ดร. อรุณ รักธรรม แห่ง นิด้า    ผมประทับใจมาก   เพราะเป็นรั้งแรกที่ได้เรียนรู้ว่า ความขัดแย้งไม่ใช่ปัญหา แต่เป็นของธรรมดา    หากรู้จักจัดการ เอาข้อที่มองไม่ตรงกันมาทำให้เกิดประโยชน์ ก็จะยิ่งทำให้องค์กรเจริญก้าวหน้า
• การมองข้อขัดแย้งในมุมมองเชิงบวก เป็นหลักการหนึ่ง ของ KM   ต้องมองสิ่งที่เป็นคู่ตรงกันข้าม (dilemma) ให้เป็น “คู่สร้างพลัง”
• “ความรู้” ในการทำ KM ต้องเป็นความรู้ที่ก้าวข้าม (transcend) มุมมอง / ฐานคิด / กระบวนทัศน์ แบบใดแบบหนึ่ง  ไปสู่แนวคิดหลายฐาน    ต้องไม่คิดแบบ either – or  แต่คิดแบบ both – and
• เมื่อเอาบริบทที่หลากหลายเข้ามาใส่  เราจะพบว่า ความรู้ / วิธีคิด / กระบวนทัศน์ แบบใดแบบหนึ่ง ไม่เพียงพอ ในการใช้ปฏิบัติในต่างสถานการณ์   ประสบการณ์ที่หลากหลาย หรือการรับฟังเรื่องเล่า จะสอนเราว่า ในทางปฏิบัติ แนวคิดแบบขั้วตรงกันข้าม / ขั้วขัดแย้ง ไม่มี    มีแต่ “ขั้วเสริมแรง” ที่ช่วยให้ฟันฝ่าอุปสรรคได้ ในหลากหลายสถานการณ์
• ที่ขัดแย้ง ก็เพราะยึดติดทฤษฎี หรือวิธีคิด หรือเครื่องมือ หรือตัวตน เป็นหลัก    ถ้ายึดเอาเป้าหมายที่สูงส่งร่วมกันเป็นหลัก ความขัดแย้งก็จะไม่เกิด หรือเกิดก็ไม่รุนแรง

วิจารณ์ พานิช
๑๔ มิย. ๔๙

คำสำคัญ (Tags): #เครื่องมือkm
หมายเลขบันทึก: 34335เขียนเมื่อ 16 มิถุนายน 2006 14:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 4 มิถุนายน 2012 04:43 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
  • ถ้ามีการแก้ไขการขัดแย้งแบบสันติวิธีโลกเราคงน่าอยู่มากกว่านี้นะครับ

เรื่องนี้ยากจังค่ะ  คู่ตรงข้ามกลายเป็นคู่สร้างพลังได้อย่างไรกันคะ!   หมายความว่าเราต้องมองด้านบวกของทั้งคู่  เพื่อไปสู่เป้าหมายเดียวกันใช่มั๊ยคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท