KM (แนวปฏิบัติ) วันละคำ : 95. บารมี


• ตามพจนานุกรม บารมีแปลว่า คุณความดีที่ได้บำเพ็ญมา    แต่ในชีวิตจริงมีคนใช้ในความหมายว่าเป็นผู้ยิ่งใหญ่ มีความสามารถสูง เก่ง ดี   และตีความว่าต้องดี-เก่งทุกเรื่อง
• ในการทำ KM ต้องตีความคำว่าบารมีเสียใหม่    ให้มีความหมายเชิงพลวัต   ให้เห็นว่าบารมีเป็นสิ่งที่ต้องสร้างและสั่งสมอยู่เรื่อยไป ไม่รู้จบ
• มองในมุมหนึ่ง บารมีผูกพันอยู่กับการเรียนรู้   คนที่เคยมีบารมี   แต่ต่อมาไม่เรียนรู้ ไม่บำเพ็ญคุณความดี และปัญญาต่อเนื่อง บารมีก็เสื่อมได้
• คน/หน่วยงาน ที่บารมีสูง มีความเสี่ยงต่อความประมาท ที่ฝรั่งเรียกว่า complacency   คือคิดว่าตนดี/เก่ง อยู่แล้ว จึงไม่ขวนขวายมานะบากบั่นเรียนรู้และทำความดีต่อเนื่อง   ในที่สุดก็จะตกต่ำ บารมีเสื่อม
• คน/หน่วยงานที่มีอำนาจ เช่นทำหน้าที่ตัดสินความ  ตรวจสอบ/ประเมิน หน่วยงานอื่น  หรือทำหน้าที่สอน/ฝึกอบรม  มีความเสี่ยงต่อความประมาทดังกล่าว    ซึ่งอาจเรียกได้ว่าเป็น “ความประมาทเชิงระบบ”
• จะเห็นว่า สิ่งที่เรียกว่า “บารมี” ก็มีทั้งที่เป็นของจริง บารมีจริง   กับของปลอม บารมีปลอม 
• ของปลอมไม่ทนทานต่อการพิสูจน์ตรวจสอบ   ในไม่ช้า “ทองชุบ” ก็ลอก   เผยความปลอมออกมา  
• บารมีที่แท้ ต้องตั้งอยู่บนสภาพความเป็นจริง และเป็นธรรมชาติ 
• KM เป็นการสร้างบารมีผ่านธรรมชาติของความป็นมนุษย์   เน้นการใช้ธรรมชาติด้านดี   เน้นพลังปัญญารวมหมู่   สร้างบารมีรวมหมู่
• ปัญญาบารมี หรือบารมีด้านความรู้ ต้องมองอย่างแยกแยะ   องค์กร / บุคคล อาจมีชื่อเสียงด้านใดด้านหนึ่ง    แต่อาจอ่อนด้อยในบางด้านก็ได้   การทำ KM มีแนวความคิดเชิงแยกแยะเช่นนี้ 

วิจารณ์ พานิช
๒ เมย. ๔๙
วันเลือกตั้งผู้แทนราษฎรที่ในที่สุดถูกยกเลิก

 

คำสำคัญ (Tags): #เครื่องมือkm
หมายเลขบันทึก: 35217เขียนเมื่อ 23 มิถุนายน 2006 11:50 น. ()แก้ไขเมื่อ 26 เมษายน 2012 18:29 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท