KM (แนวปฏิบัติ) วันละคำ : ๖๐๗. ผู้นำที่มีปัญญาปฏิบัติ



          ในการบรรยายพิเศษ เรื่อง Towards a Dynamic Knowledge-Based Management : Collective Practical Wisdom as a Source of sustainable Innovation เปิดมหกรรมการจัดการความรู้แห่งชาติ ครั้งที่ ๕ เมื่อวันที่ ๒๒ พ.ย. ๕๓  ศ. อิคูจิโร โนนากะ เน้นความสำคัญของผู้นำที่มีปัญญาปฏิบัติ (practical wisdom) ที่มีคำเรียกเป็นภาษากรีกว่า Phronesis

          ศ. โนนากะ กล่าวว่า ผู้นำเช่นนี้ เป็นผู้ที่

• รู้ว่า จะต้องทำอะไร เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อส่วนรวม  มีจิตใจมุ่งประโยชน์อันไพศาล  มุ่งความดี ความถุกต้อง และยุติธรรมต่อสังคมภาพรวม  โดยคำนึงถึงรายละเอียดของความเป็นจริงที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา

• ใช้วิจารณญาณโดยคำนึงว่า ทุกสิ่งทุกอย่างขึ้นกับบริบท (contextual)   ตัดสินใจโดยคำนึงว่าทุกสิ่งทุกอย่างเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลง  ลงมือปฏิบัติโดยคำนึงถึงกาละ

          ผู้นำเช่นนี้ มีความสามารถในการตัดสินตามบริบท และสมดุลต่อกาละ

          ปัญญาปฏิบัติ ๖ ประการ

๑. ความสามารถตัดสินความดี
๒. ความสามารถสร้างพื้นที่แลกเปลี่ยนเรียนรู้ (ba)
๓. ความสามารถเข้าถึงแก่นของแต่ละสถานการณ์
๔. ความสามารถอธิบายแก่นนั้น
๕. ความสามารถใช้อำนาจทางการเมือง
๖. ความสามารถใช้ปัญญาปฏิบัติของผู้อื่น

          ผมตีความเอาเองว่า ไม่ว่าตัวเราจะอยู่ในตำแหน่งหน้าที่ใด ก็สามารถเป็น “ผู้นำ” ได้ หากมีความสามารถหรือคุณสมบัติดังกล่าว

 

วิจารณ์ พานิช
๒๒ พ.ย. ๕๓

 

 
ศ. อิคูจิโร โนนากะ

 

หมายเลขบันทึก: 418775เขียนเมื่อ 7 มกราคม 2011 12:03 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 23:39 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท