KM (แนวปฏิบัติ) วันละคำ : 125. อำนาจ


        การทำ KM ทำให้โลกทัศน์เกี่ยวกับอำนาจของเรากว้างขึ้น
          - ความรู้คืออำนาจ
          - การแบ่งปัน การมีจิตใจแบ่งปัน ทำให้มีอำนาจ
          - การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ คืออำนาจ
          - เครือข่ายคืออำนาจ
          - การไม่แสดงอำนาจสั่งการ  แต่แสดงอำนาจเกื้อกูล ส่งเสริม ชื่นชม  สร้างอำนาจที่ถาวรกว่า  ลึกกว่า
          - อำนาจแนวดิ่ง  กับอำนาจแนวราบ
          - อำนาจที่ส่งผลกระทบที่ระนาบเดียว   กับอำนาจที่ส่งผลกระทบหลายระนาบ หลายมิติ มีการส่งผลกระทบต่อเนื่อง
          - อำนาจแข็งกระด้าง  กับ อำนาจอ่อนโยน
          - อำนาจจิต  ของจิตที่มีความเป็นมนุษย์
          - อำนาจของความดี   อำนาจของความเชื่อในสิ่งดีงาม
          - อำนาจของเครือข่ายสังคม (Social Network)
          - อำนาจของการจัดการให้พลังสร้างสรรค์ที่มีอยู่ตามธรรมชาติ มีโอกาสออกมาทำหน้าที่
          - อำนาจของการจัดการให้พลังของขั้วตรงกันข้ามร่วมกันขับเคลื่อนสู่เป้าหมายที่สูงส่ง
          - อำนาจของคนเล็กคนน้อย
          - อำนาจของความรู้ปฏิบัติ
          - โปรดช่วยกันเติมด้วยครับ

วิจารณ์ พานิช
๑ สค. ๔๙

คำสำคัญ (Tags): #เครื่องมือkm
หมายเลขบันทึก: 42326เขียนเมื่อ 3 สิงหาคม 2006 14:50 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 15:31 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

อำนาจคือการแสดงถึงพลังส่งผลต่อพันธกิจร่วมกัน

อำนาจคือ การศึกษาเชิงบูรณาการที่ส่งผลต่อ "การเปลี่ยนแปลงรูปแบบ"พลวัตร"

อำนาจคือ การเอื้อประโยชน์ที่ดีต่อนโยบายสาธารณะ

และอีกมากมายหากแต่เป้าประสงค์ที่สอดคล้องกันและนโยบายที่เด่นชัด ต่อสังคมเดียวกัน นั่นคือ

" การรู้รักสามัคคี"

อำนาจในการสร้างสุขในใจตนเอง

อำนาจในการสร้างสุข ความรักและความปรารถนาดีที่ขยายวงกว้างขึ้นแก่คนที่เราพบและสื่อสารด้วย

อำนาจที่สามารถเชื่อมต่อตนเองเข้ากับกลุ่มคนใหม่ๆ ที่ไม่เคยรู้จัก ด้วยความรู้สึกปรารถนาดีระหว่างกัน

อำนาจในการสร้างวัฒนธรรมแห่งความรักรอบตัวเรา

ความเป็นไปได้ในการสร้างสังคมที่ดีงาม อย่างที่มนุษย์ฝันและคาดหวัง

พญ รวิวรรณ

อำนาจ ในการเหนี่ยวนำ  ทวี  ความดี  คิด พูด ทำดี  กุศลกรรมต่างๆ  ของตน  ของหมู่คณะ

อำนาจ ในการต้าน ในการเหนือ  ไม่ตกใต้อำนาจของ อกุศลกรรม

อำนาจ  ในความไม่หวั่น ไม่เกรงขาม ต่อ  ความเสื่อมไปของ กาย

อำนาจ ของสติ ปัญญา ในการฉลาดพอเพียง กับ รักษา ร่างกาย     ไม่เอาเปรียบ สังคม ส่วนร่วม  เพื่อสนองการหล่อเลี้ยง บำรุงกาย เกินจำเป็น

อำนาจ แห่ง ธรรม

 

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท