KM (แนวปฏิบัติ) วันละคำ : 153. Creativity - based Society


        ผมได้แนวคิดในการเขียนบันทึกนี้     จากการฟัง ดร. อุทัย ดุลยเกษม ตั้งข้อสังเกต ในการประชุมวิชาการ สกว. เมื่อวันที่ ๒๔ สค. ๔๙     ในห้อง การวิจัยเพื่อพัฒนาท้องถิ่น ... เครือข่ายมหาวิทยาลัยราชภัฏ      ดร. อุทัย บอกว่า ที่เราพูดๆ กันว่าสังคมไทยต้องเป็น Knowledge-based Society นั้น    แท้จริงแล้วควรเป็น Wisdom-based Society  และ Creativity-based Society    ซึ่งผมเห็นด้วยอย่างยิ่ง

       ผมมองว่าเคล็ดของเรื่องนี้มี ๒ ประเด็น     คือ (๑) ความริเริ่มสร้างสรรค์ (creativity) มีอยู่ตามธรรมชาติในมนุษย์ทุกคน    (๒) CBS (Creativity-based Society) หมายถึงสังคมที่มีวิธีการ  มีระบบ เพื่อใช้ความริเริ่มสร้างสรรค์ของคนทุกคนในสังคม

       โปรดสังเกตว่าผมใช้คำว่า "ความริเริ่มสร้างสรรค์"     ไม่ใช้คำว่า "ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์"     คือ creativity ต้องมากกว่า "คิด" ที่สำคัญกว่า "คิด" คือ "ทำ"     creativity ต้องทั้งคิด และทำ     ไม่ใช่คิดเฉยๆ    

        ถ้าเราเชื่อว่าความริเริ่มสร้างสรรค์ เป็นธรรมชาติของความเป็นมนุษย์      การสร้าง CBS ก็ต้องทำโดยหาวิธีการต่างๆ ในสารพัดด้าน     เพื่อส่งเสริมความริเริ่มสร้างสรรค์ในตัวมนุษย์ให้งอกงาม    และโน้มนำไปในทางดีงาม     ไม่ใช่สร้างสรรค์ในทางชั่วร้าย     ที่สำคัญต้องไม่ปิดกั้นความริเริ่มสร้างสรรค์ของมนุษย์     ต้องถามว่ามีอะไรบ้างในสังคมของเราที่ปิดกั้นความริเริ่มสร้างสรรค์ของคนไทย      เริ่มตั้งแต่แรกเกิด     เข้าโรงเรียน    ทำงาน     แต่งงานมีครอบครัว     ไปจนสิ้นชีวิต     เราจะพบสิ่งปิดกั้นมากมาย     

         ดังนั้นถ้าจะสร้าง CBS ก็ต้องวิเคราะห์หาสิ่งปิดกั้น     แล้วแก้ไขเสีย     ใครอยู่ตรงไหนก็แก้ตรงนั้น    อาจารย์มหาวิทยาลัยก็แก้ไขข้อปิดกั้นในมหาวิทยาลัย      คนทำงานโรงงานก็แก้ไขข้อปิดกั้นในโรงงาน      เราจะพบว่าตัวปิดกั้นที่สำคัญคือกฎเกณฑ์กติกาที่ขาดความยืดหยุ่น   และวัฒนธรรมอำนาจ     ที่ทำให้มนุษย์ขาดความเป็นอิสระ   ขาดโอกาสทดลองความคิดสร้างสรรค์ของตน

วิจารณ์ พานิช
๒๔ สค. ๔๙

คำสำคัญ (Tags): #เครื่องมือkm
หมายเลขบันทึก: 48790เขียนเมื่อ 7 กันยายน 2006 09:45 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 21:59 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)
  • มีความคิดเห็นด้วยกับท่านอาจารย์มาก ๆ ค่ะ เพราะจากการทำงานตอนนี้ก็เห็นปัญหาเรื่อง creativity มากค่ะ
  •  เพราะเท่าที่สังเกตุเด็กไทย  ไม่ค่อยกล้าแสดงออกเท่าไหร่นัก  อาจเป็นเพราะวัฒนธรรมของเราที่เหมือนจะมีผลให้เป็นแบบนี้  ดังนั้นการเรียนการสอนยุคใหม่มีผลต่อพฤติกรรมของเด็กเป็นอย่างยิ่ง  ยังไงก็ฝากให้คุณครูช่วยด้วยนะคะ  อนาคตของชาติบางส่วนอยู่ในมือท่านแล้ว   นี่คือคำพูดของเพื่อนข้าพเจ้าที่บอกกับข้าพเจ้ามา จากการอ่านบันทึกของข้าพเจ้า "เรื่องจากทฤษฎี..สู่การปฏิบัติในนิทรรศการสื่อสิ่งพิมพ์" ค่ะ
  • เพราะจากงานนี้ ข้าพเจ้าเห็น Creativity จากนักศึกษาเยอะมากค่ะ

ดิฉันเป็นคนทำงานที่เกี่ยวข้องกับผู้คน (ลูกค้า) ค่อนข้างเยอะ แต่ละคนแตกต่างกัน แต่ละนิสัย แต่ละพื้นฐานที่ได้รับการปลูกฝังมา

ดิฉันจึงต้องหาวิธีการแบบสร้างสรรค์เชิงบวก เพื่อต่อยอดให้งานสำเร็จ  แต่ละคน แต่ละวิธี โดยเริ่มจากการยิ้มให้ก่อนจากใบหน้าและดวงใจ เปิดใจเราให้เป็นบวกก่อน   จากนั้นจะร้ายเพียงใด ก็รับได้ แก้ได้

หากผู้คนส่วนใหญ่ ใช้วิธีคิดและทำอย่างที่อาจารย์เขียน  ความขัดแย้งในสังคมลดลงแน่นอนค่ะ

สิ่งที่ปิดกั้นคือตัวเราเอง เป็นผู้ปิดโอกาส คำว่า โอกาส ก็คือ สิ่งที่เราปรารถนาที่จะทำ แล้วนำสิ่งนั้นมาจัดกระทำ ทุกอาชีพมีความหมาย แต่......เพียงแต่นักวิชาการคิดเช่นไร..... CBS เป็นสิ่งสมมุติขึ้น ทุก ๆ องค์กร ทุก ๆ สถาบันถ้านำคำกล่าวของ ๆ อาจารยไปปฏิบัติกห็น่าจะเกิดผลดีนะครับ  ....การเดินทางของท้องถิ่น...จากการที่ได้สัมผัสพบว่า เป็นไปได้ยาก หากแต่ พวก....นักวิชาการเพียงเพื่อคิดอย่างเดียว..........

ขอบพระคุณคะ...

กะปุ๋ม Think แว๊บ...อีกแล้วคะ...

วันที่ 14 ก.ย. นี้ที่ไปร่วมเป็นวิทยากรเสวนาเรื่อง เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษากับการจัดการฐานความรู้ (ETC กับ KBS) ที่ มมส....ได้ Idea และแนวทางแล้วคะ...

กะปุ๋ม

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท