KM (แนวปฏิบัติ) วันละคำ : 171. ความไว้เนื้อเชื่อใจซึ่งกันและกัน


         ความไว้เนื้อเชื่อใจซึ่งกันและกัน (trust) เป็นทั้งปัจจัยเกื้อกูล (means) และผล (end) ของการทำ KM      คือถ้าคนไว้เนื้อเชื่อใจกัน ก็ทำ KM ได้ง่ายขึ้น หรือประสบผลสำเร็จได้ดีขึ้น     เพราะผู้คนจะแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันได้อย่างสนิทใจ     พูดออกมาจากใจได้ง่าย     และในขณะเดียวกัน เมื่อทำ KM ไปเรื่อยๆ     ผลอย่างหนึ่งที่จะเกิดขึ้นคือ   ผู้คนมีความไว้เนื้อเชื่อใจกันมากขึ้น    มีความเคารพเห็นคุณค่าต่อกันและกันมากขึ้น

        เทคนิคหรือเคล็ดลับในการสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจกันมีมากมาย     เรียนรู้จากการปฏิบัติได้เรื่อยไปไม่รู้จบ    ขอยกมา ลปรร.  ดังต่อไปนี้

        ความไว้เนื้อเชื่อใจซึ่งกันและกันเป็นสิ่งที่ต้องหมั่นสะสม  และค่อยๆ สะสม     ไม่สามารถสร้างขึ้นได้แบบรวบรัด

       การจัดเวทีเล่าเรื่องราวของความสำเร็จเล็กๆ    โดยเทคนิคการเล่าเรื่อง (storytelling)    ผลัดกันเล่า ผลัดกันฟัง  โดยฟังอย่างตั้งใจ (deep listening)    และมีการจดบันทึก "ขุมความรู้" (knowledge assets)     ในบรรยากาศเชิงบวก  เชิงชื่นชมยินดี    เป็นกระบวนการสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจซึ่งกันและกันอย่างวิเศษยิ่ง

        การใช้สุนทรียสนทนา (dialogue) ในชีวิตการทำงานประจำวัน    และในการประชุมต่างๆ  เป็นกระบวนการสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจซึ่งกันและกัน

        การทำ AAR เป็นกระบวนการสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจซึ่งกันและกัน

         กระบวนการข้างต้น จะสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจซึ่งกันและกันได้ดี ต่อเมื่อมีการดำเนินการอย่างมีคุณภาพ  มีความลุ่มลึกเข้าไปในระดับจิตใจ    ถ้าเป็นการทำแบบสักแต่ว่าทำ     จะไม่เกิดความไว้เนื้อเชื่อใจซึ่งกันและกัน     หรืออาจเกิดผลตรงกันข้าม

        ความเข้าใจเรื่อง mental models และเคารพ mental models ซึ่งกันและกัน  ช่วยให้เกิดความไว้เนื้อเชื่อใจซึ่งกันและกัน

         การยึดถือแนวทาง ลปรร.  ทุกคนต่างก็เป็นทั้งผู้รับและผู้ให้     ภายใต้ความเชื่อว่าทุกคนมีความรู้จากการปฏิบัติ    ทำให้ความไว้เนื้อเชื่อใจซึ่งกันและกัน เกิดได้ง่ายขึ้น

วิจารณ์ พานิช
๑๑ กย. ๔๙

คำสำคัญ (Tags): #เครื่องมือkm
หมายเลขบันทึก: 52507เขียนเมื่อ 29 กันยายน 2006 10:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 10:44 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
หากนำ KM ไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนน่าจะทำให้เด็กๆ เรียนเก่ง เป็นคนดี และมีความสุขในการเรียนตลอดจนการใช้ชีวิต  แต่ก็อดคิดไม่ได้ว่า KM อาจจะเหมาะกับ ของเด็กบางกลุ่มเท่านั้น เพราะ learning stye ของเด็กแต่ละคนไม่เหมือนกัน บางคนชอบเขียนมากกว่าพูด  ชอบฟังมากกว่าอ่าน ฯลฯ ดังนั้นการทำ storyline อาจทำให้เด็กบางกลุ่มไม่มีความสุขก็อาจเป็นได้...
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท