KM (แนวปฏิบัติ) วันละคำ : 177. เคารพและให้คุณค่าต่อความรู้เชิงบริบท


         เมื่อเช้าวันที่ ๒๑ กย. ๔๙ ผมฟังข่าว วีโอเอ ภาคภาษาไทย ผ่านสถานีวิทยุจุฬา เอฟเอ็ม ๑๐๑.๕     เขาออกข่าวถ้อยคำของผู้มีหน้าที่ให้ข่าวของหลายประเทศ ในลักษณะของมุมมองของต่างประเทศต่อเหตุการณ์บ้านเมืองในประเทศไทย     ที่มีการโค่นรัฐบาลที่แล้วลงไป     ผมติดใจความเห็นจากสหรัฐอเมริกา กับจากประเทศจีน     เพราะมันเป็นความเห็นที่แสดงท่าทีตรงกันข้ามกันโดยสิ้นเชิง     ผู้ให้ความเห็นของสหรัฐอเมริกา เป็นวุฒิสมาชิก     เขาพูดเป็นทำนองว่า สหรัฐอเมริกาต้องการให้ประชาธิปไตยกลับมาโดยเร็ว    ในความรู้สึกของผม ถ้อยคำของเขาเป็นสุ้มเสียงของตำรวจโลก     เขาพูดในฐานะที่จะรักษาผลประโยชน์ของเขา     ไม่ได้มองผลประโยชน์ของสังคมไทย

         แต่จีน บอกว่านี่เป็นเรื่องภายในของประเทศไทย      จีนไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับเรื่องภายในของมิตรประเทศ

        แสดงความเคารพประเทศอื่นต่างกันอย่างฟ้ากับดิน

        ผมยกเรื่องนี้มาแสดงให้เห็นว่า จีนเขาเคารพความรู้เชิงบริบท เชิงสภาพแวดล้อม ของมิตรประเทศ   จีนยอมรับว่าตนไม่มีความรู้เชิงบริบทของประเทศอื่นดีพอที่จะเที่ยววิพากษ์วิจารณ์ หรือข่มขู่     ในขณะที่มหาอำนาจหนึ่งเดียวของโลกไม่สนใจว่าบริบทของประเทศอื่นไม่เหมือนของตน      เที่ยวเอาบริบทของตนไปยัดเยียดให้ประเทศอื่นจนเดือดร้อนกันไปทั่ว

        ถ้าเคารพความรู้เชิงบริบท  เราจะมีปัญญามากขึ้น  ผิดพลาดน้อยลง   และที่สำคัญ เราจะเคารพผู้อื่นมากขึ้น     ยโสโอหังน้อยลง

วิจารณ์ พานิช
๒๓ กย. ๔๙ 

หมายเลขบันทึก: 53867เขียนเมื่อ 9 ตุลาคม 2006 10:27 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 16:04 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
  • ออสเตรเลียกับนิวซีแลนด์ยังเข้มข้นกว่าสหรัฐเยอะเลยครับ
เป็นความรู้สึกที่เกิดขึ้นเหมือนกันเลยค่ะ อาจารย์ตอนที่ได้อ่านครั้งแรกจาก CNN คิดว่าเขาเที่ยวมาตัดสินอะไรแทนคนอื่น โดยที่ฟังแล้วเหมือนคนไม่รู้รายละเอียด ในขณะที่ตอนที่อ่านคำวิจารณ์จากรัฐบาลจีนแล้ว ประทับใจมาก ให้ความเคารพในคนอื่น ไม่มีก้าวก่ายเลย ต่างกันมากจริงๆ เป็นตัวอย่างที่ดีเวลาเราจะต้องวิพากษ์วิจารณ์เรื่องอื่นๆนะคะ 
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท