KM (แนวปฏิบัติ) วันละคำ : 207. KM ด้านการเรียนการสอน


         บันทึกในบล็อก http://gotoknow.org/blog/nurqakm/58695 ช่วยกระตุ้นให้ผมเขียนบันทึกนี้

         จะทำ KM เรื่องอะไรก็ตาม     เคล็ดลับคือหาทางเรียนลัดจากคนที่ทำได้ดีอยู่แล้ว     ดังนั้น KM ด้านการเรียนการสอนก็ควรจะเริ่มจากการไปเสาะหาอาจารย์ที่สอนดี     ซึ่งหมายความว่า นศ. เขามีมติว่าอาจารย์ท่านนี้สอนเข้าใจง่าย  สอนสนุก ไม่น่าเบื่อ     และอาจารย์เอาใจใส่ช่วยเหลือการเรียนของ นศ.     เชิญให้อาจารย์เหล่านั้นมาเล่า แบบ storytelling ว่าท่านมีหลักคิด และทำอย่างไร ในเรื่อง
            - การเตรียมสอน  
            - การส่งเสริมการเรียนรู้ด้วยตนเองของ นศ.
            - การสอนให้สนุก
            - การช่วยเหลือเด็กเรียนอ่อน
            - การออกข้อสอบ / การสอบ
            - เป็นต้น

         จะให้ดี ขอให้ท่านเล่าโดยยกตัวอย่างนักศึกษาเป็นคนๆ     หรือกรณีตัวอย่างที่ท่านประสบความสำเร็จมาจริงๆ     จะทำให้เรื่องเล่าสนุกและมีชีวิตชีวามาก     ผู้ฟังอย่าลืมซักแบบ Appreciative Inquiry     และต้องจดบันทึกหลายรูปแบบ  เอาไว้เผยแพร่ทั้งเรื่องเล่า  และ "ขุมความรู้"

        เราจะพบว่า ในทุกมหาวิทยาลัย มีอาจารย์ที่มี "ทีเด็ด" ในการจัดการเรียนการสอนมากมาย     และบางวิชาที่สอนยาก หรือสอนให้สนุกยาก ก็จะมีอาจารย์ที่มีเคล็ดลับในการเรียนการสอนอยู่

        ถ้าผู้บริหาร ส่งเสริมการ ลปรร. ดังกล่าว และหาผู้สันทัดการตั้งโจทย์วิจัยที่ไม่ยากไม่ซับซ้อนมากนัก ให้อาจารย์ที่สอนดีเหล่านี้ดำเนินการ     เราจะได้ผลงานวิจัยไว้เผยแพร่ ในลักษณะ R2R ของการเรียนการสอน     อาจารย์ที่สอนเก่งก็จะมีผลงานวิชาการด้านการพัฒนาการเรียนการสอน    ซึ่งเราจะต้องช่วยกันสร้างระบบผลงานวิชาการแนวนี้     ให้อาจารย์สามารถเข้าสู่ตำแหน่งวิชาการผ่านผลงานวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนการสอนได้
 
        เห็นไหมครับ     KM ด้านการเรียนการสอน ถ้ามีการส่งเสริม มีการจัดการนิดหน่อย     ก็จะนำไปสู่การพัฒนาหน่วยงานในหลากหลายด้าน     นี่ยังไม่ได้โยงเอา อาจารย์ที่วิจัยเก่งด้วย สอนเก่งด้วย ให้มาเล่า ว่าท่านโยงงาน ๒ ด้านนี้ให้เสริมซึ่งกันและกันอย่างไร     มหาวิทยาลัยไหนทำเรื่องนี้เป็น ก็จะได้ประโยชน์มหาศาล

        ขอเชิญร่วมกันเล่าเรื่องราวของ อจ. สอนเก่ง ลงใน comment      จะเป็นตัวท่านเอง หรือผู้อื่นก็ได้     เล่าจากหลังไปหน้า  ว่าสอนแล้ว นศ. ชอบอย่างไร     มีวิธีสอนอย่างไร  เตรียมตัวอย่างไร  วัดผลอย่างไร      เกิดผลดีต่อตัว อจ. เองอย่างไร    เป็นต้น

วิจารณ์ พานิช
๑๑ พย. ๔๙

หมายเลขบันทึก: 61141เขียนเมื่อ 20 พฤศจิกายน 2006 08:24 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 16:25 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

แม้ดิฉันไม่ใช่อาจารย์มหาวิทยาลัย  แต่บทความนี้จุดประกายความคิดได้ดีมากค่ะ

ขอบพระคุณค่ะ  ^__* ดังนั้นจากการที่ได้มีโอกาสไปร่วม UKM-8 ที่มน  จึงได้แนวความคิดที่จะนำมาใช้กับการพัฒนาอาสาสมัครเพื่อนช่วยเรียนของนิสิตพิการด้วยค่ะอาจารย์

    ผมเคยเขียนบันทึกเล่าเรื่องการสอน แต่เป็นแค่ส่วนหนึ่งของกระบวนการ ไม่ได้เล่าละเอียดทั้งหมด สนใจลองตามไปดูได้ครับที่ .. http://gotoknow.org/blog/handyman/31476 

เป็นครูสอนภาษาอังกฤษมาหลายปียังไม่เคยทำงานวิจัยเลยสักชิ้นไม่รู้จะเริ่มต้นอย่างไรอยากได้คำแนะนำ ปัจจุบันสอนทางด้านการอ่านแต่นักศึกษากับอ่านภาษาอังกฤษไม่ออก ไม่เข้าใจ อยากทำงานวิจัยทางการพัฒนาการเรียนรู้ของนักศึกษาทำอย่างไรดี
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท