KM (แนวปฏิบัติ) วันละคำ : 226. พื้นที่ชายขอบ


         พื้นที่ชายขอบเป็นพื้นที่แห่งการสร้างสรรค์     เพราะมีการควบคุมจากศูนย์กลางน้อย หรือไม่มีเลย     เราคุ้นเคยกับความคิดว่า ชายขอบเป็นพื้นที่ห่างไกลความเจริญ  ซึ่งมองในมุมหนึ่งก็น่าจะถูกต้อง      แต่มองอีกมุมหนึ่ง พื้นที่ที่มีการควบคุมน้อย คือพื้นที่ที่มีโอกาสสร้างสรรค์สูง

         ในภาษาของวิชาการด้านการจัดการ  และวิชาการด้าน creativity    เขาบอกว่าการสร้างสรรค์มีสูง at the edge of chaos     และ at the edge of order     คือที่ศูนย์กลางของความเป็นระเบียบ ก็จะมีการควบคุมมากเกินไป  เกิดการสร้างสรรค์ยาก     ที่ศูนย์กลางของความไร้ระเบียบ ก็ยุ่งเหยิงเกินไป  เอาตัวรอดยาก     ตรงพื้นที่ชายขอบระหว่างความเป็นระเบียบ กับความไร้ระเบียบนั่นแหละเหมาะต่อการทำงานสร้างสรรค์

          ตรงพื้นที่ชายขอบ มองกันว่าเป็นพื้นที่ "แห้งแล้ง" ไร้สิ่งที่มีคุณค่า     ความเชื่อเช่นนี้อาจจะจริงหรือไม่จริงก็ได้     แต่ที่สำคัญคนที่มีความริเริ่มสร้างสรรค์ย่อมมองเห็น หรือเสาะหา สิ่งที่มีคุณค่าพบ ไม่ว่าจะอยู่ตรงพื้นที่ชายขอบหรือพื้นที่ศูนย์กลาง     และที่สำคัญยิ่งกว่านั้น เขาจะสามารถเปลี่ยนสิ่งที่ดูไร้ค่า ให้เกิดคุณค่าขึ้นมาได้

         ตรงพื้นที่ชายขอบ ที่มีอิสระ มีโอกาสเปลี่ยนสิ่งไร้ค่าเป็นมีคุณค่าสูง แล้วนำไปสร้างคุณประโยชน์      แต่ในพื้นที่ที่ไร้อิสระ แม้จะมีสิ่งมีค่า ก็อาจไม่มีอิสระในการเอาไปสร้างคุณประโยชน์     

         สรุปว่า     ทุกพื้นที่มีคุณค่าในตัวของมัน    การจัดการการเปลี่ยนแปลงในลักษณะของ "การจัดการแบบ เคออร์ดิค" หรือ "การจัดการแบบมีชีวิต"    จะสามารถใช้ "พื้นที่อิสระ" นี้ สร้างสรรค์สิ่งที่มีคุณค่า     ในลักษณะของ "การสร้างสรรค์รวมหมู่" (collective creativity) ได้ง่ายกว่าในพื้นที่ที่เป็นศูนย์กลางของความเป็นระเบียบ

วิจารณ์ พานิช
๑๐ ธค. ๔๙

หมายเลขบันทึก: 67107เขียนเมื่อ 14 ธันวาคม 2006 08:59 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 16:43 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท