KM (แนวปฏิบัติ) วันละคำ : 227. Trust


         Trust หรือความไว้เนื้อเชื่อใจกัน บางทีเรียกว่า mutual trust  เป็นทั้งเหตุ (means) และผล (end) ของการทำ KM     โดยที่ตอนเริ่มทำ KM ระดับของ mutual trust ของคนในองค์กรมักจะต่ำ      และมีคนจำนวนหนึ่งไม่มีทักษะ และจิตใจในการไว้เนื้อเชื่อใจผู้อื่น

        ขั้นตอนแรกๆ ของการทำ KM จึงต้องทำให้สมาชิกเห็นคุณค่าของ mutual trust โดยการสัมผัส  mutual trust โดยตรงด้วยตนเอง      และต้องสร้างทักษะในการไว้เนื้อเชื่อใจผู้อื่นโดยการลองปฏิบัติเอง

        ในประสบการณ์ตรงของผม  mutual trust จะเกิดขึ้น ต้องการหลายปัจจัยประกอบกัน     เท่าที่ผมนึกออกได้แก่
           (๑) ความคุ้นเคย และมีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน     เช่น เคยช่วยเหลือกัน  เคยร่วมงานกัน  เคยฟันฝ่าอุปสรรคมาด้วยกัน     ดังนั้น การทำงานแบบ task force จึงช่วยสร้าง mutual trust
           (๒) บรรยากาศ "ไม่มีถูก ไม่มีผิด"     การเปิดใจต่อกัน
           (๓) สมาชิกเห็นด้วยตนเอง ว่าความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิก มีลักษณะเป็น positive sum game คือยิ่งเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อกัน ทุกคนยิ่งได้     ไม่ใช่ zero sum game ซึ่งเป็นสภาพที่ถ้ามีคนได้ ก็ต้องมีคนเสีย
           (๔) การทำ AAR ที่ถูกต้อง เป็นการฝึกทักษะ mutual trust     ดังนั้น การใช้ AAR ในชีวิตการทำงานประจำวัน จึงเป็นการฝึกทักษะ mutual trust ที่ดีที่สุด  
           (๕) คนที่มั่นใจตนเอง และเคารพ เห็นคุณค่าของคนอื่น     จะสร้างความสัมพันธ์แบบ mutual trust ได้ดี
           (๖) คนที่ยอมรับความแตกต่างหลากหลาย    จะสร้าง mutual trust ได้ดี
           (๗) คนที่ยอมรับว่า ในการปฏิบัติงานแบบมีการริเริ่มสร้างสรรค์สูง ย่อมมีผิดพลาด หรือไม่ประสบความสำเร็จบ้าง เป็นธรรมดา จะสร้าง mutual trust ได้ดี

วิจารณ์ พานิช
๑๐ ธค. ๔๙

หมายเลขบันทึก: 67392เขียนเมื่อ 15 ธันวาคม 2006 09:27 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 16:44 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท