KM (แนวปฏิบัติ) วันละคำ : 250. แค่นี้ก็ดีแล้ว


        ผู้บริหารสูงสุด ที่พอใจอยู่กับผลงานที่เป็นอยู่ จะไม่เห็นความจำเป็นต้องสร้างการเปลี่ยนแปลงภายในองค์กร     มองว่าผลงานที่เป็นอยู่ "แค่นี้ก็ดีแล้ว"     ย่อมไม่สนใจ KM     ไม่สนใจเครื่องมือใดๆ เพื่อการพัฒนาคน พัฒนาองค์กร

        ผู้บริหารเช่นนี้   เป็นผู้บริหารที่พอใจอยู่กับการรักษาสภาพเดิม (status quo)    ถ้าแสดงท่าทีสนับสนุนการทำ KM ก็เพียงเพื่อให้ได้ชื่อว่ามีการทำ KM     เพียงเพื่อให้ได้ผ่านการประเมินของ กพร.    

วิจารณ์ พานิช
๔ มค. ๕๐  

หมายเลขบันทึก: 72065เขียนเมื่อ 11 มกราคม 2007 12:34 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 17:00 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ผมเป็นนักศึกษาปริญญาเอกกาญจนาภิเษกทำงานวิจัยเกี่ยวน้ำหมักชีวภาพคาดว่าจะจบในเทอมนี้ เป็นทั้งนักศึกษาทุนและเกษตรกรอย่างเต็มตัว, มีประสบการณ์ในพื้นที่ระดับหนึ่งที่ได้สัมผัสเกษตรกรและการเรียนรู้ที่จะปัญหาความยากจนด้วยตัวเอง มีอาจารย์ที่ปรึกษาคือท่านอาจารย์วิริยะ และท่านอาจารย์แสวง กระผมโชคดีมากที่ได้พบท่านอาจารย์ทั้ง 2 ท่านโดยเฉพาะอย่างยิ่งท่านอาจารย์แสวง ซึ่งการได้พบท่านอาจารย์ทำให้กระบวนการคิดพัฒนาอย่างเป็นระบบมีความชัดเจน มีจุดยืนอย่างมีเหตุผล ผมอยากจะยกตัวอย่างเรื่องการเกษตรคร่าวๆ จากประสบการณ์ที่ผ่านมาผมพอสรุปได้ว่า การที่เราขาดองค์ความรู้เชิงระบบเพื่อที่แก้ปัญหานั้นทำให้เรามีแต่ร่างกายแต่ขาดระบบประสาท(ดังที่ท่านคุณหมอประเวศ เคยกล่าว) ศึกษาแต่ในตำรา กระบวนคิดเชื่อมโยงกับภาพจริงเรามองไม่ออก เราตีโจทย์ไม่แตกและเกาไม่ถูกที่คัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระบบผลิตของเกษตรกรรายย่อย ผมจะแบ่ง 2 ภาคกว้างๆสั้น

1. ตัวเรากับระบบการผลิต เกษตรกรก็ต้อง ดูตัวเองให้ออก บอกตัวเองให้ได้ ใช้ตัวเองให้เป็น(ผมจำมาท่านปราชญ์พ่อ ผาย) เราต้องประเมินศักยภาพตัวเองทั้งในด้านทุน ทางความรู้ความสามารถ และทุนที่เป็นเงินและไม่เป็นตัวเงิน และมองไปถึงตลาดด้วย เพื่อที่จะออกแบบการเกษตรตัวเองซึ่งแต่ละคนไม่เหมือนกัน ท้ายที่สุดแล้ว การเกษตรพอเพียง แกนปรัญชาของมันคือตัวเดียวกัน 3 ตัวหลักคือ 1. self reliance 2. self satified 3. middle -path (ทางสายกลาง) แล้วท่านจะเกิดปัญญาด้วยตัวเองเพราะท่านทำได้ยืนบนขาตัวเองได้

2. ภาครัฐ ในด้านการเกษตรโดยส่วนใหญ่ขาดองค์ความรู้ที่จะนำไปใช้ได้จริงๆ เพราะเพียงทำหน้าที่ส่งเสริมแพร่ข่าวสาร ขาดองค์ความรู้ตรงนี้นำไปสู่การปฏิบัติ ภาครัฐสัมผัสหรือเข้าใจชาวบ้านไม่เพียงพอ และนอกจากนี้เรายังขาดองค์ความรู้ในภาพจริงอีกมาก ผมมองในฐานะเกษตรกรคนหนึ่งที่ผ่าความยากลำบากจากหนี้หลักหมื่นต้นๆและความแห้งแล้ง ด้วยตัวเองต้องขาที่นา วัวควายจนหมด และระบบศึกษาวิจัยไม่สะท้อนหรือแก้ปัญหาเพื่อตอบโจทย์สังคมระบบการเกษตร ผมคิดว่าหาก ผมไม่ช่วยตัวเองเพื่อหลุดสิ่งเหล่านี้คงคงต้องหมดตัวแน่ๆ ผมเคยคุยกับพ่อผมว่า..อย่าให้รัฐช่วยเลย เพราะเขาเองยังไม่มีองค์ความรู้พอ เราต้องช่วยตัวเอง...

ท้ายที่สุดกระผมก็โชคดีที่ได้พบท่านอาจารย์แสวง และปราชญ์ชาวอย่าง ครูบาสุทธินันทน์ พ่อผายและท่านอื่นๆ จากภาพจริงตรงนั้นทำให้ผมคิดเชื่อมต่อเพื่อที่จะแก้ปัญหาด้วยตัวเอง ผมอยากให้สังคมการเกษตรเปิดพื้นที่ทางปัญญาในชาวบ้าน เข้าใจและจริงใจกับชาวบ้านมากกว่านี้ ผมเชื่อว่านี่คือหนึ่งในยุทธศาสตร์แก้ไขปัญหาความยากจน อย่างน้อยที่สุดสังคมเกษตรกรรายย่อยจะไม่ทุกข์ไปกว่านี้ ถ้าเราเปิดพื้นที่ทางปัญญาได้มากพอเพื่อให้เกษตรกรเลือกตัดสินใจด้วยตัวเอง การเกษตรอยู่คุณที่ออกแบบในเทคนิครายละเอียด แต่แกนปรัญชาของเกษตรพอเพียงคืออันเดียวกัน ขึ้นอยู่ที่คุณเลือกเดินครับผม

นิสิต คำหล้า


เว็บไซต์ iKnow ไอโนว์ => คลังข้อมูลข่าวสารแห่งแรกของไทย ข้อมูลอัพเดทข่าวล่าสุดด้วยเทคโนโลยี RSS (Really Simple Syndicate) สามารถค้นหาข่าวสารจากหนังสือพิมพ์ทุกฉบับครบถ้วนอย่างสมบูรณ์แบบที่สุด อ่านข่าวล่าสุดจากกว่า 30 สำนักข่าวชั้นนำ ทั่วไทย ไม่ต้องเปิดหลายเว็บ เปิดเว็บไอโนว์เพียงเว็บเดียวเท่านั้น สมกับสโลแกนที่ว่า News is useless without iKnow !!  เพียงแค่คลิ๊กที่นี่ www.tarad.com/iknow


ไอโนว์ => คลังข้อมูลข่าวสารแห่งแรกของไทย
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท