KM (แนวปฏิบัติ) วันละคำ : 258. Positive Change


         ที่จริงน่าจะใช้คำว่า Positive Change and Continuity     คือ KM เป็นเครื่องมือสร้างการเปลี่ยนแปลงและความสืบเนื่อง ด้วยมาตรการ หรือวิธีการเชิงบวก    สร้างการเปลี่ยนแปลงโดยขยายจากสิ่งดีๆ ที่มีอยู่แล้ว

         เมื่อวันที่ ๑๕ ม.ค. ๕๐ มีการประชุมคณะที่ปรึกษาอาวุโสของ รมต. ว่าการกระทรวงสาธารณสุข     คณะทำงานคณะที่ ๙ ที่มี นพ. ปัญญา สอนคม เป็นประธาน เสนอเรื่อง "แผนยุทธศาสตร์การสร้างเสริมวัฒนธรรมราชการสาธารณสุข"    โดยมีวัตถุประสงค์ ๕ ข้อ ดังนี้
           ๑. เพื่อปรับเปลี่ยนระบบการบริหารจัดการราชการสาธารณสุข ให้มีธรรมาภิบาลเป็นรากฐาน     เป็นระบบคุณธรรมที่ส่งเสริมคนดี และการทำความดี
           ๒. เพื่อสร้างวัฒนธรรมการให้บริการทางการแพทย์และสาธารณสุข บนพื้นฐานคุณธรรมแห่งวิชาชีพที่เอื้ออาทร อ่อนโยน และใส่ใจต่อความทุกข์ยากของเพื่อนมนุษย์
           ๓. เพื่อให้บุคลากรของกระทรวงสาธารณสุข มีวัฒนธรรมในการตัดสินใจด้วยข้อมูลและความรู้     เป็นบุคลากรมืออาชีพ  ที่มีศักดิ์ศรี มีคุณธรรม และคุณภาพ
           ๔. เพื่อส่งเสริมแบบแผนประเพณีที่ดีงามในสังคมสาธารณสุข    โดยสร้างวินัยและแบบแผนการปฏิบัติที่มีคุณธรรม    มีเหตุผล    และเป็นไปเพื่อประโยชน์ของสังคมส่วนรวม
           ๕. เพื่อสร้างกลไกการทำงานด้านการพัฒนาวัฒนธรรมองค์กรให้เกิดความต่อเนื่องและยั่งยืน

         คณะทำงานคณะที่ ๙ เสนอยุทธศาสตร์การดำเนินการ ๕ ข้อ     ข้อ ๕ คือ ส่งเสริมการวิจัยและจัดการความรู้ เพื่อสร้างเสริมวัฒนธรรมองค์กร       ผมจึงเสนอความเห็นว่า     ควรใช้ยุทธศาสตร์ positive / appreciative change     คือมีแมวมอง เสาะหาตัวอย่างดีๆ (เป็นบุคคล กลุ่มคน หรือหน่วยงาน) มาเล่าและชื่นชมยกย่อง     ให้โอกาสเจ้าตัวได้เล่าว่า คิดอย่างไร ทดลองทำ และฟันฝ่าอย่างไร จึงประสบความสำเร็จในการทำดี จนเป็นที่ยกย่อง      ทีมส่งเสริมควรได้กำหนดรางวัล (เน้นการยกย่อง  ไม่เน้นรางวัลราคาแพง) ของการได้ไอเดียจากเรื่องเล่าของคน/หน่วยงานอื่น     แล้วเอาไปทดลองปฏิบัติจนเกิดผล     กรณีเช่นนี้ ควรให้รางวัลทั้งคู่      คือทั้งผู้ share ความรู้/เรื่องราวความสำเร็จ    และผู้เอาความรู้ไปประยุกต์ในต่างบริบทหรือสภาพแวดล้อม โดยปรับใช้จนได้ผลดี     ในการให้รางวัล ต้องไม่ลืมที่จะให้โอกาสผู้ทำดีได้เล่าความในใจ หรือแบ่งปันความรู้ที่นำไปสู่ความสำเร็จที่ได้รับการยกย่อง     การให้โอกาสเล่าเรื่องราวความสำเร็จของตน ถือเป็นการยกย่องสูงสุด

       กระบวนการยกย่อง ชื่นชมความสำเร็จเล็กๆ ในการสร้างการเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางของวิสัยทัศน์ร่วม (shared vision) อย่างต่อเนื่อง     และมีวิธีการที่สร้างความตื่นเต้นคึกคักอยู่ตลอดเวลา      จะนำไปสู่การสร้าง positive / appreciative change & continuity โดยไม่รู้ตัว

วิจารณ์ พานิช
๑๕ ม.ค. ๕๐

หมายเลขบันทึก: 77065เขียนเมื่อ 8 กุมภาพันธ์ 2007 08:42 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 17:19 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)
วิไลพรรณ ลีลามานิตย์

เรียน อาจารย์วิจารณ์ ที่เคารพ

เมื่อวันที่ 6 ก.พ. สำนักประกันคุณภาพ มอ.จัดประชุมพัฒนาเจ้าหน้าที่ QA ของคณะต่าง ๆ มีการแลกเปลี่ยนวิธีการทำงานในการรวบรวมข้อมูล การจัดทำรายงานประเมินคุณภาพของแต่ละคณะ 

นาได้พูดถึง "วัฒนธรรมคุณภาพ ของคณะแพทย์" ว่า หัวหน้างานแต่ละงาน ตามมาตรฐาน/ตัวบ่งชี้ ตระหนักว่า เป็นความรับผิดชอบของตนที่จะต้องจัดเก็บข้อมูล และรายงานผลงาน   หน่วย QA เป็นเพียงผู้ประสานงานในการรวบรวมข้อมูล เพื่อจัดทำ SAR 

กลไก วิธีการ "พัฒนาวัฒนธรรมองค์กร" เป็นเรื่องที่นาเกิดคำถามว่าในใจจากการประชุมแลกเปลี่ยนวันนั้น  ว่า ทำไมแต่ละคณะจึงมีวัฒนธรรมต่างกัน   บทบาทของผู้บริหารในการสร้าง/ชี้นำวัฒนธรรม สำคัญเพียงไร  ต้องใช้เวลายาวนานเพียงไรในการปลูกฝังวัฒนธรรมที่ต้องการ

เรื่องเล่าข้างต้นเป็นคำตอบหนึ่งค่ะ

ขอบพระคุณ

 

 

ÂÔ¹´Õ¤ÃѺ àÃ×èͧ·Ó¹Í§¹ÕéàÃÒàÃÕ¹ä´éäÁèÃÙ騺¹Ð¤ÃѺ ÇÔ¨Òóì
วิไลพรรณ ลีลามานิตย์
ปริศนาตัวอักษร? อยากทราบว่าอาจารย์ตอบอย่างไร รบกวนอาจารย์เขียนใหม่ อีกครั้งค่ะ ขอบพระคุณ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท