KM (แนวปฏิบัติ) วันละคำ : 272. การตรวจสอบความเข้มแข็งของ KM ในองค์กร มิติด้านคน


         คุณ Anna Flavia Fonseca บอกว่า ให้พิจารณา ๕ ด้านของมิติด้านคน    ได้แก่ ด้านวัฒนธรรมและแรงจูงใจ,  ด้านการระบุ (identify) และการสร้างความรู้,  ด้านการแลกเปลี่ยนความรู้,  ด้านชุมชนนักปฏิบัติและทีมความรู้, และด้านความรู้และการเรียนรู้

         ด้านวัฒนธรรมและแรงจูงใจ
            ตรวจสอบปัจจัยเชิงวัฒนธรรมที่ส่งเสริมการใช้ "ทุนปัญญา" (รวมทั้งความรู้) ขององค์กร เพื่อบรรลุเป้าหมายขององค์กร     ตัวอย่างของปัจจัยดังกล่าวได้แก่ ความเชื่อ ทัศนคติ แรงจูงใจ เป็นต้น    
          แต่จริงๆ แล้วเรื่องวัฒนธรรมเป็นเรื่องกว้างมาก     ที่สำคัญที่สุดคือบรรยากาศที่เปิดกว้างให้คนได้แสดงภาวะผู้นำ ในการทดลองทำสิ่งใหม่ๆ หรือวิธีการใหม่ๆ เพื่อบรรลุเป้าหมายขององค์กร      เปิดให้คน "ทำผิดได้" หากเป็นการดำเนินการอย่างรอบคอบ และด้วยเจตนาเพื่อบรรลุเป้าหมายขององค์กร     ท่าทีที่เปิดกว้างขององค์กรในการเปิดรับแนวความคิดใหม่ๆ วิธีการใหม่ๆ จากภายนอก

        ด้านการระบุ และการสร้างความรู้
             ตรวจสอบขีดความสามารถขององค์กร และภาคี ในการระบุและการสร้างความรู้ (และสินทรัพย์ทางปัญญาอื่นๆ) โดยเฉพาะอย่างยิ่งความรู้เพื่อการบรรลุเป้าหมายขององค์กร
             มีการทำรายการความรู้ที่สำคัญต่อการบรรลุเป้าหมายขององค์กร      มีการทำ people mapping หาคนในองค์กรที่มีความรู้ดีเด่นเป็นพิเศษในด้านเหล่านั้น และหาทางใช้ประโยชน์จากผู้มีความรู้เหล่านั้น     การส่งเสริมและเปิดโอกาสให้สมาชิกขององค์กรได้ทำงาน "ข้ามแดน" หน่วยงาน  และ/หรือ แลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน     การส่งเสริมให้พนักงานนำเอาความรู้จากภายนอกมาปรับใช้ และยกระดับความรู้   
 
       ด้านการแลกเปลี่ยนความรู้
              ตรวจสอบขีดความสามารถขององค์กร และภาคี ในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ "สินทรัพย์ทางปัญญา" เพื่อการบรรลุเป้าหมายขององค์กร
              ตรวจสอบว่ามีการแลกเปลี่ยนความรู้กันมากน้อยเพียงใดในองค์กร     ทั้งที่เป็นการแลกเปลี่ยนความรู้ฝังลึก  และการแลกเปลี่ยนความรู้แจ้งชัด     มีการแปรความรู้ฝังลึกเป็นความรู้แจ้งชัดเพียงใด    มีการแปรความรู้แจ้งชัดเป็นความรู้ฝังลึกเพียงใด     มีการแลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างองค์กร กับลูกค้า  เอเย่นต์  และบริษัทส่งวัตถุดิบ มากน้อยเพียงใด
             มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่าง เจ้าหน้าที่ระดับปฏิบัติ  -  ผู้บริหารระดับกลาง - ผู้บริหารระดับสูง ในลักษณะที่เป็นอิสระ     ไม่ใช่การรายงานตามสายงาน  มากน้อยเพียงใด       

       ด้านชุมชนนักปฏิบัติและทีมความรู้
             ตรวจสอบธรรมชาติของการรวมตัวกันของพนักงาน และการใช้การรวมตัวกันนี้เพื่อยกระดับการแก้ปัญหา เพื่อการบรรลุเป้าหมายขององค์กร
            

       ด้านความรู้และการเรียนรู้
             ตรวจสอบว่าองค์กรมีกลไกในการพัฒนาคนผ่านการฝึกอบรม หรือการเรียนรู้ผ่านการสร้างความรู้ หรือไม่

วิจารณ์ พานิช
๑๓ ก.พ. ๕๐

หมายเลขบันทึก: 82777เขียนเมื่อ 9 มีนาคม 2007 09:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 26 พฤษภาคม 2012 09:09 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท