KM (แนวปฏิบัติ) วันละคำ : (289) 4 สถานะที่เชื่อมต่อกันของระบบนิเวศความรู้


         ระบบนิเวศความรู้มี 4 สถานะที่เชื่อมต่อ (continuum) กัน   ได้แก่


สถานภาพดำรงเดี่ยว (standalone)
         แต่ละคนทำงานภายในองค์กรอย่างอิสระและแทบไม่มีปฏิสัมพันธ์กัน   อาจมีการทำงานเป็นกลุ่มแต่ก็ไม่ทั่งถึงทั้งองค์กร   ความรู้การไหลเวียนภายในองค์กรน้อยมาก


สถานภาพเชื่อมต่อ (connected)
         มีการเชื่อมต่อระหว่างบุคคล  ทีม  กลุ่ม  และหน่วยงานย่อย   โดยที่การเชื่อมต่อนี้ช่วยให้เกิดการแลกเปลี่ยนความรู้   มี project team เกิดขึ้นบ้าง   แต่การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ยังขึ้นอยู่กับการสื่อสารแนวดิ่งเป็นส่วนใหญ่   ไม่ค่อยมีกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ข้ามพรมแดนของหน่วยงานย่อย   และไม่ค่อยแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับภายนอกองค์กร


สถานภาพเครือข่าย (Networked)
         เกิดเครือข่ายทางสังคมอย่างกว้างขวางตามประเด็นความรู้ (knowledge domain) และตามความสนใจของวิชาชีพ   เครือข่ายเหล่านี้ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนประสบการณ์  ทักษะ  แนวคิดใหม่ ๆ อันนำไปสู่การสร้างความรู้ใหม่   เครือข่ายเชื่อมออกไปนอกองค์กร  เช่น เชื่อมกับ suppliers,  customers และองค์กรลูก


สถานภาพปรับเปลี่ยนอาจิณ (adaptive)
         องค์กรอยู่ในสภาพตื่นรู้ความรู้   มีโครงสร้างที่อ่อนตัวและปรับตัวอยู่เสมอตามสภาพแวดล้อม   มีขีดความสามารถภายในองค์กรสูงและหนุนโดยผู้ทรงคุณวุฒิภายนอก   เครือข่ายเกิดขึ้น  เปลี่ยนรูป  และปรับรูปใหม่ตามวงจรชีวิตของเครือข่าย   ตัวบุคคลรับผิดชอบงานเต็มที่และเสาะแสวงหาความรู้มาสร้างผลสัมฤทธิ์ของงาน   ทั้งงานและความรู้อยู่ในสภาพ "เข้าขา" กัน   และสอดคล้องกับเป้าหมายเชิงยุทธศาสตร์

         การจัดการความรู้เป็นกระบวนการวิวัฒนาการสถานภาพจากดำรงเดี่ยวไปเป็นปรับเปลี่ยนอาจิณโดยไม่ข้ามขั้นตอน   ความพยายามกระโดดข้ามขั้นตอนจะทำให้สถานภาพของการพัฒนาอยู่ในสภาพ "ไม่แน่น" หรือ "กลวง"

         การเชื่อมต่อจะต้องอยู่ในสภาพที่เชื่อมต่อองค์ประกอบหลัก (element) ทั้ง 4 ไปพร้อม ๆ กันอย่างสมดุลและเสริมพลัง (synergy) กัน   องค์ประกอบหลักทั้ง 4 ได้แก่ people, process, technology และ content

Ref. Standards Australia. Knowledge management - a guide. AS 5037 - 2005

วิจารณ์  พานิช
 19 มี.ค.50

หมายเลขบันทึก: 88241เขียนเมื่อ 3 เมษายน 2007 10:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 มิถุนายน 2012 20:50 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท