KM (แนวปฏิบัติ) วันละคำ : (294) เปิดช่องให้ KM มีวิวัฒนาการ


         ช่วงแปลแนวความคิดไปสู่การปฏิบัติเป็นช่วงวิกฤต   KM จำนวนมากหมดแรงตรงรอยต่อนี้

สาเหตุที่ทำให้หมดแรงที่พบบ่อย  ได้แก่
- เลือกดำเนินการที่องค์ประกอบหลัก (element),  และตัวช่วย (enabler) ที่ไม่เหมาะต่อบริบทและวัฒนธรรมขององค์กร
- ใช้ตัวช่วยโดยไม่ปูพื้นฐานภายในองค์กรเสียก่อน
- ไม่ดำเนินการร่วมกับกิจกรรมหรือเครื่องมือเพื่อการพัฒนาอื่น ๆ
- ลืมคำนึงถึงปัจจัยด้านวัฒนธรรมในแผนปฏิบัติ

         ถ้าการประยุกต์ใช้ KM เกิดช็อคขึ้นภายในองค์กร   โครงการ KM มักล้มเหลว   ต้องรู้จักใช้ช่วงเริ่มโครงการเป็นการหยั่งเชิง   สร้างโอกาสและปรับแนวทางดำเนินการ   ก่อนจะดำเนินการ KM เต็มรูปโดยการใช้ตัวช่วยที่หลากหลาย

ประเด็นที่จะต้องตรวจสอบและปรับแก้  ได้แก่
- ตรวจสอบว่าสมมติฐานของแผน KM ถูกต้องหรือไม่
- ปรับสมดุลขององค์ประกอบหลักทั้ง 4 องค์ประกอบ
- ทดลองตัวช่วย  ว่าจะใช้ในส่วนผสมของตัวช่วยที่หลากหลายอย่างไร
- ปรับวิธิการประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมต่อตัวช่วยแต่ละตัว

Ref. Standards Australia. Knowledge management - a guide. AS 5037 - 2005

วิจารณ์  พานิช
 22 มี.ค.50

หมายเลขบันทึก: 89725เขียนเมื่อ 11 เมษายน 2007 13:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 18:09 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
     ขอบพระคุณมากครับ  เป็นสาระที่มีประโยชน์มากต่อสิ่งที่กำลังคิดจะทำ
      กำลังรับงานใหม่ในระดับบริหารของคณะ  ด้วยความเกรงใจ   ตัดสินใจช่วยแล้วก็ชวนเขาคุยเรื่องการลองจัดการกับการทำงาน แก้ปัญหาด้วยวิชา KM แต่มองดูปัจจัยแวดล้อม วัฒนธรรมองค์กรที่ฝังรากลึก และ บริบทโดยรวมแล้ว  มึนงงพอประมาณครับ ..  
    บันทึกนี้ช่วยให้ตาสว่าง  และทำท่าจะหายมึน และรู้สึกเหมือนตรัสรู้เล็กๆแล้วครับแล้ว  จากข้อความนี้
  ... ต้องรู้จักใช้ช่วงเริ่มโครงการเป็นการหยั่งเชิง   สร้างโอกาสและปรับแนวทางดำเนินการ   ก่อนจะดำเนินการ KM เต็มรูปโดยการใช้ตัวช่วยที่หลากหลาย ...

การวิจัย เรื่อง  การพัฒนารูปแบบการจัดการความรู้ขององค์กรชุมชน ในพื้นที่ 2 หมู่บ้านในจังหวัดมหาสารคาม ซึ่งท่านให้ความอนุเคราะห์เป็นกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ ปัจจัยที่ส่งผลให้การจัดการความรู้ขององค์กรชุมชนเคลื่อนตัวไป ประการหนึ่งคือ ทีมผู้ร่วมวิจัยได้เลือก ประเด็นหลักในการทดลองปฏิบัติจริง มีการเรียนรู้ร่วมกันของกลุ่มคนที่หลากหลาย และเครื่องมือที่สำคัญได้แก่  การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ข้ามกลุ่ม  ข้ามหมู่บ้าน ทั้งเวทีประชุมประจำเดือน การเล่าเรื่อง  การบันทึกหลังการปฏิบัติ  และการสรุปบทเรียนออกมาเป็นเอกสารทั่วไปและเอกสารอีเลกทรอนิกส์ เชื่อมโยงความรู้ทั้งภายนอกและภายใน  สอดคล้องกับท่านอาจารย์ที่ได้เสนอแนะในบทความ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท