KM (แนวปฏิบัติ) วันละคำ : (299) สร้าง "ผู้เอาจริง" และ "นักเจ๊าะแจ๊ะ"


         ในช่วงเริ่มต้น  จะมีคนที่ชอบและศรัทธาเห็นคุณค่าของ KM โผล่ตัวออกมา   บางคนจะเป็นคนประเภททุ่มเทสุดฤทธิ์   ฝรั่งเรียกคนเหล่านี้ว่า champion    บางคนมีนิสัยช่างพูดช่างเจรจา    ก็จะประชาสัมพันธ์เรื่องใหม่นี้ที่ฝรั่งเรียกว่า advocate   ผมเรียกว่า "นักเจ๊าะแจ๊ะ"  แต่เน้นความหมายเชิงบวกนะครับ

         "ผู้เอาจริง" จะเป็นผู้ลงมือดำเนินการและฟันฝ่าอุปสรรคในช่วงเริ่มต้นนำไปสู่ผลสำเร็จในเบื้องต้น   ช่วยทำให้คนเห็นแนวทางดำเนินการและผลประโยชน์ที่เกิดขึ้น   ร่วมกันหาทรัพยากรและเครื่องมือหรือตัวช่วยมาเสริมการดำเนินการ

         "นักเจ๊าะแจ๊ะ" ช่วยสร้างความสนใจภายในกลุ่มพนักงาน   ช่วยให้เพื่อนพนักงานได้เห็นว่ามีเครื่องมือช่วยให้ทำงานง่ายขึ้น   บรรลุผลสำเร็จได้ดียิ่งขึ้น

ตัวอย่างจริง
         บริษัทบริการวิชาชีพแห่งหนึ่งได้กำหนดตำแหน่งใหม่ : ผู้จัดการ KM ขึ้นมาเพื่อขับเคลื่อนนวัตกรรม  พัฒนาธุรกิจ  และจัดหาความรู้ในระดับมาตรฐานสูงสุด   ผู้จัดการแผนกนี้จะต้องมีสมรรถนะด้าน การจัดการสารสนเทศ  การสื่อสาร  เข้าใจธุรกิจ และมีความสามารถในการสร้างความสัมพันธ์ไปทั่วทั้งบริษัท   และสร้างความสัมพันธ์กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย   เพื่อเป็นกำลังในการปฏิบัติงานที่ริเริ่มใหม่นี้  มีการคัดเลือกพนักงานจำนวนหนึ่งจากทั่วทั้งองค์กรให้ทำหน้าที่ knowledge champion

Ref. Standards Australia. Knowledge management - a guide. AS 5037 - 2005

วิจารณ์  พานิช
 25 มี.ค.50

หมายเลขบันทึก: 91352เขียนเมื่อ 20 เมษายน 2007 09:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 18:16 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท